Learning without frontiers

พฤศจิกายน 10, 2010 by: 0
Visit 3,319 views

inter student

มหาวิทยาลัยอังกฤษกับการแผ่ขยายปีกออกไปในรูปแบบมหาวิยาลัยสาขาในต่างประเทศ ตอบสนองกระแสความนิยมที่กำลังมาแรง โดยเฉพาะนักศึกษาชาติที่ยังติดกับแนวคิดการไขว่คว้าหาความก้าวหน้าในอนาคตจากการเรียนกับสถาบันของประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือมีเศรษฐกิจดี จึงเป็นเหตุให้มีการเปิด British universities ในต่างแดนในฐานะมหาวิทยาลัยสาขา หรือ Foreign campuses เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

          ประเทศอังกฤษถือเป็นผู้นำด้านการศึกษาระดับสูงของโลก จะเป็นรองก็เพียงอเมริกา ในแง่ของการเป็นชาติแม่เหล็กในการดึงดูดนักเรียนต่างชาติ แต่หากจะดูในรูปแบบของการขยายสาขาออกไปนอกประเทศ อเมริกาดูจะเปิดแนวรุกมานานกว่า เพราะมีมหาวิทยาลัยอเมริกันไปเปิดสาขายังชาติอื่น ๆ มานานแล้ว เช่น Johns Hopkins University เปิดตัวสาขาแรกในอิตาลีเมื่อปี 1955 อีกแห่งในจีน ปี 1986 ซึ่งส่วนใหญ่สอนในรูปแบบภาษาอังกฤษและรับนักเรียนท้องถิ่นและนานาชาติ โดยตัวเลขทั้งหมด มี 78 American universities campuses overseas ในจำนวนนี้รวมถึงที่ตั้งอยู่ในอังกฤษ 4 แห่งด้วย

hopkins

          นอกจากอังกฤษ และอเมริกา มหาวิทยาลัยของออสเตรเลียก็กำลังมาแรงในด้านส่งออกแคมปัสเช่นกัน โดยมีเปิดในชาติต่าง ๆ เช่น Malaysia, Singapore และ United Arab Emirates.

          อังกฤษนั้นเริ่มเปิดมหาวิทยาลัยสาขาขนาดใหญ่ในต่างแดนอย่างจริงจังครั้งแรก ปี 2000 คือ University of Nottingham in Malaysia จากนั้นในปี 2004 จึงบุกตลาดเข้าสู่ประเทศจีน และ 6 ปีเรื่อยมาจากนั้น อังกฤษก็ทำยอดการมีมหาวิทยาลัยสาขาในต่างประเทศเพิ่มเป็น 13 แห่ง โดยแห่งล่าสุดคือ University College London (UCL) ที่ขยายฐานเข้าสู่ประเทศการ์ต้า ในตะวันออกกลาง

Notting malay

         หากมองภาพรวม ตลาดใหม่ที่ใหญ่ที่สุดของบรรดามหาวิทยาลัยจากชาติตะวันตก มีแนวโน้มว่าจะโฟกัสไปที่ประเทศอินเดีย ชาติที่กำลังขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกอยู่ขณะนี้ เรื่องนี้เป็นไปตามบทวิเคราะห์ของBritish Council หน่วยงานศึกษาของสหราชอาณาจักร และ The Economist Intelligence Unit ที่เป็นหน่วยงานสนับสนุน อย่างไรก็ตามการดำเนินการเพื่อเข้าปักฐานในแดนภารตะยังมีข้อติดขัดเรื่องกฎหมายอยู่ ทำให้หลายมหาวิทยาลัยคงต้องใช้ความพยายามกันต่อ รวมทั้ง Middlesex ที่ตอนนี้มีสาขาต่างแดนแล้ว 2 แห่ง กำลังอยู่ระหว่างเข้าไปทำข้อตกลงกับบริษัทสิ่งทอของอินเดียในการเสนอหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

       โดยสรุปแล้ว การเปิดมหาวิทยาลัยสาขายังต่างแดนก็ไม่พ้นเหตุผลด้านผลประโยชน์ เรื่องกระแสรายได้จำนวนมหาศาลในธุรกิจการศึกษา แต่สำหรับอังกฤษแล้วแนวโน้มคงจะได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการชาร์จค่าเรียนที่สูงลิบจากนักเรียนต่างชาติที่เดินทางไปเรียนที่สหราชอาณาจักร แต่มันเป็นความจำเป็นเพราะนี่เป็นการแข่งขันระดับโลก มหาวิทยาลัยของอังกฤษคงไม่สามารถเชื่องช้าใจเย็นกับคำเยินยอในเรื่องชื่อเสียงและการเป็นชาติแม่บทของภาษาอังกฤษอยู่ได้

             เพราะการขยายเครือข่ายในลักษณะนี้ อาจเป็นหนทางแห่งความอยู่รอดในวงการธุรกิจการศึกษาในอนาคตก็ได้

             บทความจาก The Economist(Oct. 28th 2010) แปลโดย Somkiat Tiantong


About Auther : กูรู สมเกียรติ เทียนทอง  (855 Posts)


Share this Story
Categories
ไม่มีหมวดหมู่  
Tags

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น