จีน“สุดเจ๋ง”พัฒนาการศึกษาทิ้งอินเดียขาด

กุมภาพันธ์ 10, 2012 by: 0
Visit 1,489 views

หากเทียบศักยภาพทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจกันแล้ว จีนและอินเดีย ถือเป็น 2 ชาติดาวรุ่งเอเชียที่มีตัวเลขการเติมโตของจีดีพี ที่ก้าวกระโดดและน่าจับตามองพอ ๆ กัน แต่หากเปรียบมวยกันทางระบบการศึกษากลับปรากฎว่า นักศึกษาแดนมังกรเบียดนักศึกษาแดนภารตะตกขอบไปเลย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาเรื่องการศึกษาที่จีนทำอย่างจริงจังและเป็นระบบกว่าในห้วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

         The Organization for Economic Cooperation and Development(OECD) หรือองค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ได้มีการจัดประเมินผลประจำปี หรือ ACER PISA test ที่ทำการวัดทักษะของนักศึกษาในภูมิภาค South and South East Asia ปรากฎว่า อินเดียเกือบกินบ๊วย เพราะอยู่ก่อนแค่ Kyrgyzstan ซึ่งเป็นชาติที่ติดอันดับสุดท้าย ขณะที่ความสามารถของนักศึกษาจีนติดท็อป ทั้งที่อินเดียมีโปรแกรมพัฒนาการศึกษาที่มากมายมายาวนาน แต่กลับไม่สามารถกระจายระบบการศึกษาที่เข้าถึงประชาชนส่วนใหญ่ของตนได้ ขณะที่จีนกลับสร้างความต่อเนื่องในการอัปเกรดระบบของตนเองอย่างจริงจัง จนเกิดผลที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาอย่างชัดเจน

การจริงจังเรื่องการพัฒนาการศึกษาของจีน เริ่มปี 1974 ยุคของ โจว เอ็นไล ที่ได้ชื่อว่าเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเด็นสำคัญคือการขับเคลื่อนระบบการศึกษาไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาทางด้าน Agriculture, Industry, Technology and Defense ซึ่งก็มองเห็นกันชัดเจนว่า จีนเดี๋ยวนี้รุดหน้าไปไกลทุกด้านจนกลายเป็นมหาอำนาจไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม เทคโนโลยี เกษตรกรรม รวมทั้ง ศักยภาพด้านการทหาร

จีนมีระบบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี แก่ประชาชนทุกคน และจะเน้นเป็นพิเศษทางด้านสายอาชีพ และระดับอุดมศึกษา โดยปัจจุบันจีนมีโรงเรียนพิเศษ ที่เรียกว่า Elite schools หรือ key schools ขึ้นจำนวนมากที่เน้นสร้างผู้เรียน(หรือพวกหัวกะทิ)ที่มีความรู้ทางวิชาการระดับสูง และเมื่อมองอินเดีย นักเรียนระดับไฮสคูลของอินเดียยังไม่สามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นทางคณิตศาสตร์ หรือ กรอบประโยคของตนเองได้ สะท้อนปัญหาระบบของอินเดียที่ยังจมอยู่กับปัญหาโครงสร้างปัจจัยพื้นฐาน โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนครู ยิ่งเมื่อดูในชนบทอินเดียมีเปอร์เซ็นแม่พิมพ์พ่อพิมพ์ไม่เพียงพอต่อนักเรียนมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์

ยังมีข้อเปรียบเทียบอีกหลายอย่าง ที่แสดงให้เห็นว่า จีนก้าวไกลกว่าอินเดียแบบทิ้งห่าง เช่น ภาครัฐของจีนมีการให้งบประมาณในโครงการสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษา 100 อันดับแรกนับพันโครงการเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

เกือบ 10 ปีแล้ว ที่จีนเปิดกว้าง เชิญมหาวิทยาลัยต่างประเทศเข้ามาตั้งแคมปัสในประเทศตน ขณะที่อินเดียเพิ่งเปิดรับตามมาทีหลังถึง 7 ปี นั่นทำให้ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในยุคหลัง ๆ  ทำไม Ranking ของม.ในจีนถึงพุ่งขึ้นมากเหลือเกิน

ในปี 2003 ที่มีการจัดดับมหาวิทยาลัยโลกของ The Academic Ranking of World Universities (ARWU)  มี 23 Chinese universities ที่ติดอยู่ใน 35 มหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีความโดดเด่นทางวิชาการ และมี Top three Chinese universities ที่ติด 200 อันดับแรกของโลก คือ National Taiwan University, Chinese University of Hong Kong and Tsinghua University และหากดูใน 500 อันดับแรก ก็จะมี Beihang University (formerly known as Beijing University of Aeronautics & Astronautics) and Beijing Normal University ซึ่งในปีดังกล่าวติดอันดับเป็นครั้งแรก

หากดูที่จำนวนมหาวิทยาลัย จีนมี 2,236 แห่ง ขณะที่อินเดียมี 545 โดยที่วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ จีนมีอัตราส่วนที่มากกว่าที่ 630 ต่อ 251

ติดตามข้อมูลทั้งหมดได้ที่..,

http://www.deccanchronicle.com/tabloid/education/why-do-chinese-students-outperform-indians-416

 

Inter Fair-2012 รวบรวมข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ เรียนอินเตอร์ในไทยหรือจะไปต่อนอก รายละเอียดคลิกที่ http://uinter.eduzones.com/2012/register

 


About Auther : กูรู สมเกียรติ เทียนทอง  (855 Posts)


Share this Story
Categories
ไม่มีหมวดหมู่  
Tags

Comments are closed.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น