“มาเลเซีย”หวังสูงเป็นEducation Hubในภูมิภาค

กุมภาพันธ์ 14, 2012 by: 0
Visit 1,714 views

“เสือเหลือง”มาเลเซียคุยโต มีความพร้อมที่จะก้าวขึ้นสู่การเป็นฮับด้านการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมีปัจจัยสนับสนุนเพียบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเป็นชาติที่มีอาชญากรรมน้อย มีมาตรฐานด้านปัจจัยพื้นฐานและสุขภาพระดับโลก อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมอาเซียน

มาเลเซียยังอ้างว่า ตนเองได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้านที่ติดกันอย่าง ไทยแลนด์ และสิงคโปร์ ในฐานะชาติอิสลามที่โดดเด่นเรื่องการศึกษา  ทำให้สามารถสร้างความสนใจให้กับชาติในภูมิภาคตะวันออกกลางได้อย่างมากล้น

อย่างไรก็ตามขณะที่มีการอ้างสรรพคุณของตนเองอย่างเลิศหรู กลับปรากฎว่าในความเป็นจริงการเดินไปสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติของเสือเหลืองกลับเป็นไปอย่างอ้อยอิง หรือไม่ได้เร็วอย่างที่คาดหวังไว้ เพราะก่อนหน้านี้ Ministry of Higher Education(MOHE) ได้วางแผนไว้ว่า ภายในปีค.ศ. 2015 จะมีนักศึกษาอินเตอร์ในประเทศ 150,000 คน แต่เอาเข้าจริงจากการประเมิน ดูท่าตัวเลขที่เป็นไปได้ น่าจะทำได้ไม่เกิน 100,000 คนเท่านั้น

นักวิเคราะห์ชี้ว่า สาเหตุมาจากหลายปัจจัย อย่างแรกคือ มาเลเซียต้องเผชิญกับการแข่งขันกับชาติคู่แข่งบ้านติดกันอย่าง สิงคโปร์ ที่แม้จะเป็นชาติเล็ก ๆ แต่รวยกว่า และมีมหาวิทยาลัยระดับคุณภาพมากกว่า นอกจากนี้ จีน ก็เป็นมหาอำนาจที่กำลังบูมเรื่องการศึกษาอินเตอร์ขึ้นมาอย่างน่าเกรงขาม นี่ยังไม่นับ ออสเตรเลียที่เป็นที่ทราบกันดีว่า มีตลาดการศึกษาเป้าหมายอยู่ที่เอเชียมายาวนาน

จะแก้ปัญหาเหล่านี้ มาเลเซียจำเป็นต้องสร้างชื่อเสียงในเรื่องคุณภาพการศึกษาของตนเองขึ้นมา ซึ่งทาง Mira Aisa, special officer to the director general at MOHE ยอมรับว่า“หากเราปรารถนาจะเป็น Education Hub ในภูมิภาค เราต้องพัฒนาในสิ่งที่จะทำให้ชาติอื่น ๆ ยอมรับในภาพลักษณ์ต่าง ๆ ดังเช่น UK และ US ที่เป็นชาติที่มีความน่าเชื่อถือในเรื่องการศึกษานานาชาติ  และเป็นแหล่งที่คนส่วนใหญ่เลือกไปเรียน ก็มาจากเหตุผลของการที่มหาวิทยาลัยต่าง  ๆ ของพวกเขา สร้างชื่อเสียง และผลงานการวิจัยมาหลายปี ด้วยเหตุนี้เราก็ต้องไล่ล่าความสำเร็จเช่นนั้นให้ได้”

แม้จะมีความมุ่งมั่น แต่เมื่อมองไปที่อันดับมหาวิทยาลัยในการจัดอันดับของ The Time Higher Education’s top 200 list ปรากฎว่า มหาวิทยาลัยในมาเลเซีย ยังไม่มีแม้แต่แห่งเดียวที่ได้เชิดหน้าชูตาอยู่ใน 200 อันดับนี้ มีเพียงของสาธารณรัฐประชาชนจีน และเกาหลีใต้ ชาติละ 3 แห่ง สิงคโปร์ 2 และ ไต้หวัน 1

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอุปสรรคอยู่หลายอย่าง แต่มาเลเซียก็ยังมุ่งหวังสานฝันสู่ความสำเร็จในอนาคต โดย MOHE กำลังทำงานอย่างจริงจังที่จะยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยในประเทศด้วยการทำการตลาดเชิงรุก โดยใช้แนวคิด New cultural embassy หรือเพิ่มบทบาททางด้านวัฒนธรรมเข้าไปในหน่วยงานสถานทูตของตนที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ คล้ายคลึงกับแนวทางของ British Council  ของอังกฤษ ที่โปรโมตการศึกษา UK อย่างได้ผลในหลายประเทศ

ปัจจุบันมีสัญญานที่ดี เพราะมาเลเซียกำลังเป็นที่สนใจของต่างประเทศ โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา Newcastle University เพิ่งเดินทางเข้ามาเปิด Medical campus ที่นี่ ขณะที่ Herriott Watt ก็เป็นมหาวิทยาลัยดังอีกแห่งที่มีโครงการมาขยายสาขาการศึกษาเพิ่มขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า…

แปลจากข้อเขียนของ Dan Thomas ใน THE PIE NEWS(News and business analysis for Professionals in International Education)


About Auther : กูรู สมเกียรติ เทียนทอง  (855 Posts)


Share this Story
Categories
ไม่มีหมวดหมู่  
Tags

Comments are closed.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น