รู้จัก “เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน” (ASEAN University Network)

พฤศจิกายน 15, 2012 by: 0
Visit 3,040 views

บทความโดย : ต้นซุง Eduzones

สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ มองการศึกษาโลก วันนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักมหาวิทยาลัยในภูมิภาคของเราให้มากขึ้นกันครับ ตามกระแสการเปิด ประชาคมอาเซียน (Asean Economic Community) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ที่จะถึงนี้ครับ

เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN UNIVERSITY NETWORK) คืออะไร ?

เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network; AUN) เป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1995 (พ.ศ.2538) รวม 13 สถาบัน ต่อมาได้ขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนเพิ่มมากขึ้นทำให้สมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเพิ่มจำนวนเป็น 27  สถาบัน โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภูมิภาคและสร้างความสํานึกในความเป็นอาเซียนขึ้นโดยฝ่ายกลไกความร่วมมือทางด้านอุดมศึกษา  โดยมีการลงนามความตกลงเพื่อการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนขึ้น 2 ฉบับครับ ได้แก่

1. กฎบัตรเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Charter of The ASEAN University  Network)
2. ข้อตกลงร่วมในการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Agreement on the Establishment of the ASEAN University Network)
โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเป็นหนึ่งในองค์ประกอบขององค์กรรัฐมนตรีรายสาขา (ASEAN SECTORAL MINISTERS BODIES) ในเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรมในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นมาครับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนมีวัตุประสงค์และให้ความสำคัญในการดำเนินการด้วยกัน 5 เรื่อง ดังนี้

1. การส่งเสริมการสร้างความตระหนักในความเป็นอาเซียน
2. การเพิ่มการเข้าถึงคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับประถม มัธยม
3. การเพิ่มคุณภาพการศึกษา มาตรฐานการปฏิบัติงาน การเรียนร้ตลอดชีวิต  และการพัฒนาวิชาชีพชั้นสูง
4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับการเคลื่อนย้ายพรมแดน และความเป็นสากลของการศึกษา
5. การให้การสนับสนุน ส่งเสริมแก่ภาคส่วนงานอื่น ๆ

YouTube Preview Image
                      การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียนยังดำเนินกิจการอีกหลายด้าน ดังนี้ครับ

1. การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ (Academic Exchange)

2. การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนที่ไม่ใช่วิชาการ (Cultural and Non-Academic Exchange)
3. การอบรมและการพัฒนาขีดความสามารถ (Training Capacity building)
4. ความร่วมมือด้านงานวิจัย  (Collaborative Research)
5. ระบบกลไกอุดมศึกษา (Systems and Mechanism of Higher Education)

6. การพัฒนาหลักสูตรและโครงการ (Course and Programme development)
7. การประชุมเสวนาด้านนโยบาย (Policy Dialogue)
8. ศูนย์กลางข้อมูลและความรู้ (Database and Knowledge Center)
9. เครือข่ายเฉพาะทางของมหาวิทยาลัยอาเซียน (Thematic Network)โดยเครือข่ายเฉพาะทางของมหาวิทยาลัยอาเซียนนี้ยังดำเนินการภายใต้ เครือข่าย 7 เครือข่าย ได้แก่

1. AUN Southeast Asia Engineering Education Development Network สํานักงานเลขานุการดําเนินการโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ASEAN  Graduate Business and Economics Programme Network  ดําเนินการโดย DE La Salle University, Phillipines
3. AUN Human Rights Education network สํานักงานเลขานุการดําเนินการโดย มหาวิทยาลัยมหิดล
4. AUN Inter-Library online สํานักงานเลขานุการ Universiti Sains Malaysia
5. ASEAN Credit Transfer System สํานักงานเลขานุการคณะดําเนินการโดย  Universitas Indonesia
6. AUN  Intellectual Property สํานักงานเลขานุการดําเนินการโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. AUN University Social Responsibility& Sustainability  สํานักงานเลขานุการ ดําเนินการโดย Universiti  Kabangsaan Malaysia

สำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียนซึ่งประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกได้แก่ พระราชอาณาจักรกัมพูชา เนการาบรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 27 มหาวิทยาลัย จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน (ณ ปีพ.ศ. 2555) ซึ่งมีมหาวิทยาลัยดังต่อไปนี้

พระราชอาณาจักรกัมพูชา
              
1. มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ (Royal University of Phnom Penh)
2. มหาวิทยาลัยนิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ (Royal University of Law and Economics)
เนการาบรูไนดารุสซาลา
              

3. มหาวิทยาลัยแห่งบรูไนดารุสซาลาม (Universiti Brunei Darussalam)

ราชอาณาจักรไทย
               ที่ตั้งของประเทศไทย (เขียว) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เทาเข้ม)
4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University)
5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  (Chiang Mai University)
6. มหาวิทยาลัยบูรพา (Burapha University)
7. มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University)
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
              ที่ตั้งของประเทศพม่า (สีเขียว) ในอาเซียน (สีเทา)
8. มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (University of Yangon)
9. สถาบันเศรษฐศาสตร์ย่างกุ้ง (Yangon Institute of Economics)
10. สถาบันเทคโนโลยีย่างกุ้ง (Yangon Technological University)

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

            

11. มหาวิทยาลัยอเทนีโอเดอมะนิลา (Ateneo de Manila University)
12. มหาวิทยาลัยเดอลาซาลเล (De La Salle University)
13. มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ (University of the Philippines)
มาเลเซีย
             
14. มหาวิทยาลัยปุตรา มาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia)
15. มหาวิทยาลัยมาลายา (Universiti Malaya)
16. มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (Universiti Sains Malaysia)
17. มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia)
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
         

18. มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Laos)

 

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
         
19. มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม นครโฮจิมินห์ (Vietnam National University, Ho Chi Minh City)
20. มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม ฮานอย (Vietnam National University, Hanoi)

สาธารณรัฐสิงคโปร์

 

       

21. มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management University)
22. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University)
23. มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore)
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
         
24. มหาวิทยาลัยแห่งอินโดนีเซีย (Universitas Indonesia)
25. มหาวิทยาลัยกัดจาห์ มาดา (Universitas Gadjah Mada)
26. สถาบันเทคโนโลยีบันดุง (Institut Teknologi Bandung)
27. มหาวิทยาลัยแอร์ลังกา (Universitas Airlangga)

ความสัมพันธ์ระหว่างอุดมศึกษาไทยกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนและอาเซียน

สำหรับอุดมศึกษาไทยมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนในหลายด้านครับ ได้แก่ การดําเนินการในการเข้าถึงข้อมูลด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาในอาเซียน การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนให้ถึงแก่นต่อคณาจารย์ ผู้ปฏิบัติงานและนักศึกษา การสร้างความตระหนักในบทบาทหน้าที่และความร่วมมือในความเป็นอาเซียน การเตรียมการกําหนดบทบาทหน้าที่และกิจกรรมในด้านการศึกษา วิจัย บริหาร วิชาการและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการดําเนินการตามแผนและกิจกรรมความร่วมมือของสมาชิกและสมาชิกเครือข่ายสมทบครับ นอกจากนี้เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนยังร่วมมือกับประเทศจีนและประเทศอื่นๆในเอเชียเพื่อมอบทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกแก่นักศึกษาในประเทศอาเซียนเพื่อไปเรียนในประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลี ในชื่อทุน “AUN Scholarship” อีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ “เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน” (ASEAN University Network) ที่พี่ต้นซุงพามารู้จักในวันนี้ หวังว่าชาว Interscholarship คงจะได้รับประโยชน์ไปไม่มากก็น้อยนะครับ ก็ถือว่าเป็นประตูด่านแรกๆที่จะทำให้นักเรียน นักศึกษาไทยหลายคนที่สนใจการศึกษาในประเทศเพื่อนบ้านเราได้รู้จักกันมากขึ้นในโอกาสนี้ครับ คราวหน้าเราจะมาทำความรู้จักกันให้มากขึ้นโดยเจาะลึกมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งกันให้ชาว Interscholarship  รู้กันไปเลยว่า มหาวิทยาลัยทั้ง 27 แห่งของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนมีคณะสาขาวิชาอะไรน่าสนใจบ้าง อย่าลืมติดตามกันนะครับ ^ ^

About Auther : ต้นซุง Eduzones  (609 Posts)

International Education Columnist, Webmaster, Correspondent


Share this Story

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น