ถึงจุดจบของจักรวรรดิ “มหาวิทยาลัยตะวันตก” แล้วหรือ ?

กรกฎาคม 17, 2012 by: 0
Visit 1,822 views

องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) ได้กล่าวไว้ว่า ในช่วงสุดท้ายของศตวรรษนี้ อัตราส่วนของบัณฑิตหนุ่มสาวทุกๆ 4 คนจาก 10 คนของบัณฑิตในโลกนี้จะมาจากประเทศแค่ 2 ประเทศ คือ ประเทศจีนและประเทศอินเดีย

เขียนบทความ/แปล/เรียบเรียงโดย : ต้นซุง Eduzones

สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ ถ้าจะกล่าวถึงมหาวิทยาลัยในต่างประเทศยอดนิยม นักเรียนไทยและนักเรียนต่างชาติหลายคนคงนึกถึงมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร หรือมหาวิทยาลัยในยุโรป ซึ่งมีความเก่าแก่และมีระบบการศึกษาที่ดีมานานหลายยุคหลายสมัยแล้ว เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดซึ่งอยู่ในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ซึ่งอยู่ในสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยแห่งมิวนิคและมหาวิทยาลัยไฮเดลแบกซึ่งอยู่ในประเทศเยอรมัน และอีกหลายมหาวิทยาลัยซึ่งเรียกได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยในโลกตะวันตกครับ แต่ถ้าเราพูดถึงมหาวิทยาลัยในยุโรปแล้วหละก็ มีมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมากที่ยังคงได้รับความสนใจจากนักเรียนต่างชาติและนักเรียนในประเทศกันน้อย เหตุผลหนึ่งได้แก่ ทักษะในเรื่องของการสื่อสารที่มีภาษาราชการไม่ใช่ภาษาสากลนั่นเอง จึงทำให้เกิดอุปสรรคและปัญหาด้านการดึงดูดนักเรียนในการเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ เพื่อที่จะสามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ครับ และเหตุผลอีกประการของนักเรียนในประเทศแถบยุโรปที่เลือกเรียนต่อในต่างประเทศ ได้แก่ การเพิ่มทักษะทางภาษา ประสบการณ์และการศึกษาวัฒนธรรมจากต่างชาติ รวมถึงความเป็นสากลของมหาวิทยาลัยระดับโลก เป็นต้น


จากการประมาณการขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) ได้กล่าวไว้ว่า ในช่วงสุดท้ายของศตวรรษนี้ อัตราส่วนของบัณฑิตหนุ่มสาวทุกๆ 4 คนจาก 10 คนของบัณฑิตในโลกนี้จะมาจากประเทศแค่ 2 ประเทศ คือ ประเทศจีนและประเทศอินเดีย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของความสมดุลของจำนวนบัณฑิตที่เพิ่มขึ้นในทวีปเอเชีย ซึ่งเพิ่มขึ้นแซงหน้าประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตกไปแล้ว

ซึ่งการคาดการณ์ในปีค.ศ. 2020 จะแสดงให้เห็นว่าประเทศจีนจะมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วของจำนวนบัณฑิตอายุ 25-34 ปี เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 29 % ซึ่งในทางกลับกันจำนวนบัณฑิตจบใหม่ในสหรัฐอเมริกามีจำนวนลดลงอยู่ที่ 14 % โดยมีประเทศอินเดียตามหลังอยู่ในลำดับที่ 3 คือ 11 %

มีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่าจำนวนบัณฑิตหนุ่มสาวจากสหรัฐอเมริกาและประเทศในสหภาพยุโรปเมื่อนำจำนวนมารวมกันยังมีค่าเฉลี่ยที่น้อยอย่างน่าตกใจ เช่นเดียวกับบัณฑิตจากประเทศรัสเซียที่มีผู้สำเร็จการศึกษาลดลงอย่างน่าใจหายตั้งแต่จุดเริ่มต้นของศตวรรษใหม่นี้ และมีการประมาณการจาก OECD ไว้ว่าบัณฑิตจากประเทศอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นจนแซงประเทศญี่ปุ่นมาอยู่ในลำดับที่ 5 ในอนาคตอันใกล้นี้

จากเหตุการณ์ดังกล่าวของการศึกษาระดับสูงนี้ เป็นเหมือนกระจกและแว่นขยายส่องประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่ได้ครอบงำหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่นและรัสเซีย ซึ่งส่งผลกระทบโดยเฉพาะกับมหาวิทยาลัยทรงอำนาจในสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งในปีค.ศ. 2000 ที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนบัณฑิตหนุ่มสาวสำเร็จการศึกษาใกล้เคียงกับประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่นมีสัดส่วนบัณฑิตใกล้เคียงกับประเทศอินเดีย แต่วันนี้นั้นประเทศจีนและประเทศอินเดียกำลังจะเป็นประเทศที่ขึ้นเป็นผู้นำในเวทีผู้จบการศึกษาที่ใหญ่ที่สุด

การเพิ่มขึ้นของผู้สำเร็จการศึกษาสะท้อนให้เห็นถึงความทะเยอทะยานในการเปลี่ยนแปลงที่ต้องแข่งขันกับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นประเทศที่มีแรงงานมีความสามารถและรายได้การจ้างงานสูง แทนที่การเสนอผลิตภัณฑ์ต้นทุนต่ำเพื่อเป้าหมายในการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีแก่เหล่าชนชั้นกลางของยุโรปตะวันตก

Parents in China rent apartments near schools as university exams approach
ครอบครัวชาวจีนเช่าอพาร์ทเม้นท์ไว้ใกล้โรงเรียนลูกเพื่อตัดปัญหาในการเดินทางเวลามีการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย

OECD ไม่ได้เพียงแค่แสดงการขยายตัวของจำนวนบัณฑิตในประเทศจีนเท่านั้น แต่ในประเทศโลกอุตสาหกรรมอื่นๆก็มีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น เพียงแค่ไม่มีกำลังเท่ากับประเทศจีนที่มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนบัณฑิตถึง 5 เท่าในศตวรรษที่ผ่านมา

จากการรายงานของ OECD ได้รายงานว่า ประชากรของประเทศจีนที่จบการศึกษาอายุระหว่าง 25 ถึง 64 ปี จะใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกาอย่างรวดเร็วในปีค.ศ. 2020 อีกทั้งแผนที่โลกเกี่ยวกับจำนวนประชากรจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยประเทศบราซิลจะมีผู้สำเร็จการศึกษามากกว่าประเทศเยอรมัน ประเทศตุรกีมากกว่าประเทศสเปน และประเทศอินโดนีเซียจะมากกว่าประเทศฝรั่งเศสถึง 3 เท่า ส่วนสหราชอาณาจักรจะมีตัวเลขบัณฑิตเพิ่มขึ้นจาก 3 % ในปีค.ศ. 2012 เป็น 4 % ในปีค.ศ. 2020 ซึ่งจากการวิเคราะห์ของ OECD ได้รายงานว่า ผู้สำเร็จการศึกษาที่มากขึ้นนี้จะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดยจะเปลี่ยนแปลงจากทฤษฎี “การผลิตเพื่อมวลชนในทางเศรษฐกิจเป็นการประกอบอาชีพบนฐานของความรู้” 


ประเทศอินเดียจะมีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 จากการคาดการของ OECD ในปี 2020

OECD ได้พยายามวิเคราะห์ถึงเรื่องตลาดแรงงาน ซึ่งปัจจัยส่วนใหญ่ยังเทไปให้สาขาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสาขาที่เกี่ยวข้องต่างๆอยู่พอสมควร งานเหล่านี้ได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมีการจ้างงานที่สูงโดยเฉพาะประเทศในแถบสแกนดิเนเวียและยุโรปตอนเหนือ โดยในทางตรงกันข้ามนั้น พนักงานในงานด้านเทคโนโลยีจะเป็นเพียงแค่งานในบริษัทเล็กๆในประเทศจีนและอินเดียเท่านั้น

OECD สรุปให้เห็นถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมากที่เกิดขึ้นในวงการอุดมศึกษา จะมีแรงงานฝีมือเพิ่มมากขึ้นแทนที่แรงงานไร้ฝีมือที่กำลังเลือนหายไป

ทีมงานของสถาบันวิจัยอินเทอร์เน็ตแห่ง University of Oxford ได้ผลิตชุดแผนที่ ซึ่งเรียกว่า “ภูมิศาสตร์ความรู้ของโลก” (geography of the world’s knowledge) ซึ่งใช้วัดประชากรที่บริโภคข้อมูลข่าวสารออนไลน์ซึ่งสำรวจผ่านทาง Google โดยเน้นตัวเลขสถิติในเรื่อง ความเข้มข้นของกิจกรรมทางวิชาการ (academic activity) และการมุ่งค้นคว้าข้อมูลในวิกิพีเดียในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก (the geographical focus of Wikipedia articles) และในทางตรงกันข้าม เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียจะถูกครอบงำทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องจากวัฒนธรรมประเทศตะวันตก

Internet user map of the world

Prof Viktor Mayer-Schonberger จากสถาบันวิจัยอินเทอร์เน็ต ได้บอกว่า “ในตัวเลขดิบนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาเอกในเอเชียจะมีอัตราการแข่งขันสูงมาก แต่วิธีการของประเทศตะวันตกจะมีความแข็งแรงมากกว่าเพราะการควบคุมสถาบัน โดยที่นักเรียนในประเทศจีนจะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น แต่พวกเขายังคงใช้ประโยชน์จากวิธีการแบบตะวันตกในการเผยแพร่ผลงานของเขา”

Baseball from a Harvard Yale game in 1959
สหรัฐอเมริกาได้รับฉายาว่าเป็นมหาอำนาจในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

แผนที่ยังชี้ให้เห็นว่าแอฟริกาและอเมริกาใต้ยังคงมีการสูญเสียจากการแย่งชิงพื้นที่ด้านการศึกษาอยู่มาก ซึ่ง Prof Mayer-Schonberger กล่าวด้วยคำพูดที่ตะลึงว่า “completely shocked” มันเป็นเรื่องน่าตกใจอย่างไม่มีคำอธิบายในขอบเขตของความไม่สมดุลนี้ นอกจากนี้เขายังอธิบายถึงเรื่องการศึกษาเช่นที่ออกซฟอร์ด จะแสดงฐานการวิจัยที่เข้มแข็งแต่มันยังมีวงจำกัดของพื้นที่และกิจกรรมทางเศษณฐกิจ ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกา เช่นที่ Silicon Valley และ Boston ยังคงมีผืนแผ่นดินขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนอย่างมหาศาลนั่นเอง

“นี่คือรูปแบบใหม่ของแผนที่อุตสาหกรรม มันไม่ใช่การใช้ถ่านหินหรือแร่เหล็กเข้ามาช่วย แต่มันจะเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยและนวัตกรรม”

เขียนบทความ/แปล/เรียบเรียงโดย : ต้นซุง Eduzones

ขอบคุณข้อมูล :Sean Coughlan  BBC [1]


About Auther : ต้นซุง Eduzones  (609 Posts)

International Education Columnist, Webmaster, Correspondent


Share this Story

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น