เดนมาร์กส่งนักเรียนโกอินเตอร์หมด
เมื่อการศึกษาไร้พรมแดน การทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับนานาชาติจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดวิสัยทัศน์ และความสำเร็จขึ้นได้ คงไม่ง่ายที่จะ Succeed ด้วยการนั่งเรียนอยู่กับบ้าน หรือสถาบันในประเทศเพียงเท่านั้น ด้วยเหตุนี้การไปเรียนต่อต่างประเทศ จึงเป็นช่องทางสู่การพัฒนาความก้าวหน้าในการทำงานในอนาคต รวมไปถึงภาพรวมการพัฒนาประเทศ
ปัจจุบันจึงมีหลายชาติส่งนักเรียนไปแลกเปลี่ยนยังประเทศต่าง ๆ เพื่อหวังผลด้านนี้ เกิดโครงการแลกเปลี่ยนที่เป็นความร่วมมือต่าง ๆ ขึ้นทั่วโลก หรือแม้แต่ตั้งโครงการเพื่อสนับสนุนให้นักเรียนของตนเรียนยังประเทศอื่น ๆ รวมทั้งชาติในเอเชียบางชาติ ที่กำลังมีเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดอย่างร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย เป็นต้น
วันนี้ผู้เขียนขอนำชาติยุโรปชาติหนึ่ง ที่รัฐมนตรีศึกษาเดินเครื่องเต็มสูบในการดำเนินนโยบายส่งนักเรียนไปเรียนต่างประเทศ ถึงกับกล่าวว่า ต้องการให้นักศึกษาชาวเดนนิชทุกคนได้มีช่วงเวลาของการศึกษาภาคหนึ่ง ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
Morten Østergaard, Denmark’s minister for higher education กล่าวว่า ผลดีของนโยบายสนับสนุนให้นักศึกษาเดนมาร์กโกอินเตอร์นั้น เพื่อให้นักศึกษาได้ขยายมิติในการเรียนที่กว้างไกล และสะสมประสบการณ์นอกประเทศ อันจะยังผลให้ประเทศเดนมาร์กประสบความสำเร็จในการแข่งขันในเวทีระดับโลก
ท่านรมต.ศึกษาธิการดินแดนโคนม นายออสเตอร์การ์ด ยังให้สัมภาษณ์ กับ University World News ว่าตอนนี้มี List ของนักศึกษาที่รอโอกาสในการเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างแดนยาวมาก เราอยากจะทำให้กระบวนการอนุมติที่เกี่ยวกับการสนับเรื่องค่าเรียนต่างประเทศและการยอมรับวิทยฐานะ กระชับและคล่องตัวกว่านี้ คือผู้ไปเรียนต่างแดนที่กลับมาแล้ว ต้องได้รับการรับรองในเรื่องเครดิตอย่างเต็มที่ ซึ่งเรื่องนี้อีกไม่นาน ทางการจะออกกฎระเบียบ หรือข้อบังคับให้กระชับยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังจะมีการขอความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศเพื่อให้อำนวยความสะดวกให้โครงการนี้มีผลในทางปฎิบัติที่ง่ายขึ้น โดยมีการบรรจุการเรียนเมืองนอกเป็นส่วนประกอบในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
จากข้อมูลที่ผ่านมา นักศึกษาเดนมาร์กส่วนใหญ่เลือกโกอินเตอร์ ยังประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ โดยรับการสนับสนุนทุนจากโครงการของรัฐบาล หรือ The government’s Study Abroad Grant scheme โดยสถิติเผยว่า 28% selected institutions in the United States, 27% went to Australia and 15% to Britain ขณะที่ Argentina มาเป็นอันดับ 4 ของท็อปไฟฟ์ 5% และถือเป็นชาติเดียวในกลุ่มที่เป็น Non-English-speaking country อันดับสุดท้ายคือ New Zealand 4%
หากเป็นทุนแบบ Full-degree students ของโครงการนี้ ปรากฎว่านักศึกษาเดนมาร์ก 56% went to the UK, 13% to Australia, 12% to the US and 4% to The Netherlands อย่างไรก็ตามนโยบายใหม่ของรัฐบาลต้องการให้นักศึกษาให้ความสนใจกับการไปเรียนยังประเทศที่มีเศรษฐกิจกำลังขยายตัวอย่างร้อนแรง เช่น Brazil, Russia, India and China เป็นต้น
เสียงหนึ่ง ที่สนับสนุนโครงการส่งนักศึกษาไปต่อนอกนี้ คือ Jens Oddershede, chair of Danish Universities (the Danish rectors’ conference) ซึ่งเห็นว่าจะเป็นผลดีทั้งกับตัวนักศึกษาเองและต่อประเทศ และก็น่าสนับสนุนเช่นกันกับการไปเรียต่อยังประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก เพราะก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตั้ง Sino-Danish Centre ที่กรุงปักกิ่งของจีน ที่จะเริ่มเปิดรับนักศึกษา Danish and Chinese students ในเดือนกันยายนปีนี้
ความท้าทายอีกอย่างก็คือการไปเรียนที่ประเหล่านี้ จะมีคอร์สไม่มากที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้นักศึกษาต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยตนเองเพิ่มขึ้น อันน่าจะเป็นการพัฒนาผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยของเรา ที่ปกติแล้วจะมีบุคคลิกที่ล้าสมัยกว่าชาติอื่น ๆ เพราะประเทศนี้ได้ชื่อว่าใช้โทรศัพท์มือถือน้อย.
อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ลิงก์ต่อไปนี้..,
http://www.universityworldnews.com/article.php?story=20120127100608776
Inter Fair-2012 รวบรวมข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ เรียนอินเตอร์ในไทยหรือจะไปต่อนอก รายละเอียดคลิกที่
http://uinter.eduzones.com/2012/register