เรียนต่อประเทศอินเดีย (ตอนที่ 1)

สิงหาคม 20, 2012 by: 0
Visit 2,452 views
ระบบการศึกษาและการสอนในอินเดียนั้น มีรูปแบบการจัดการและการบริหารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว..
สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ มองการศึกษาโลกโดยพี่ต้นซุง Eduzones วันนี้ จะพาชาว Interscholarship มาทำความรู้จักกับการศึกษาในประเทศอินเดีย ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ในทวีปเอเชียครับ นอกจากความขึ้นชื่อในเรื่องจำนวนประชากรของประเทศแล้วนั้น อินเดียยังได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการศึกษาที่น่าสนใจมาก เพราะค่าครองชีพที่ต่ำแต่คุณภาพทางการศึกษาสูง ทำให้มหาวิทยาลัยในประเทศเป็นที่สนใจของนักเรียนต่างชาติมากขึ้นทุกปีทีเดียวครับ

ระบบการศึกษาและการสอนในอินเดียนั้น มีรูปแบบการจัดการและการบริหารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอย่างมากครับ เรามาทำความรู้จักกับระบบการศึกษาของประเทศอินเดียกันก่อนดีกว่าครับ

การศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียน
แบ่งออกเป็น 2 ช่วงตามระบบ 10+2 โดยในช่วง 10 ปีแรกเน้นความรู้ทั่วไป ส่วนในช่วง 2 ปีหลังเน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาขั้นสูง
การศึกษาในระดับประถมศึกษา ใช้เวลา 8 ปี โดยแบ่งออกเป็นระดับประถมศึกษาตอนต้น 3 ปี (Standards I-III) ตอนกลาง 2 ปี (Standards IV-V) และตอนปลาย 3 ปี (Standards VI-VIII)
การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ใช้เวลา 2-4 ปี ผู้ที่ศึกษาจนจบปีที่ 10 (Standard X) จะได้รับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษา แต่หากต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ต้องศึกษาต่อในโรงเรียนอีก 2 ปี (Standards XI-XII) ตามหลักสูตรและระบบการวัดผลของคณะกรรมการกลางมัธยมศึกษา (Central Board of Secondary Education – CBSE) หรือสภาวัดผลการศึกษาในโรงเรียนอินเดีย (Council for the Indian School Certificate Examinations – CISCE) เพื่อนำผลการศึกษาไปยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาขั้นสูง
การศึกษาขั้นสูง
สถาบันการศึกษาขั้นสูงที่จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ได้แก่
1. มหาวิทยาลัย รวมถึงมหาวิทยาลัยเฉพาะทางด้านเกษตรกรรมและแพทยศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น มหาวิทยาลัยส่วนกลาง (central universities) ซึ่งได้รับการอุดหนุนด้านงบประมาณจากกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และมหาวิทยาลัยของรัฐ (state universities) ซึ่งจัดตั้งโดยรัฐและได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ
2. สถาบันที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่ามหาวิทยาลัย (deemed universities) ซึ่งมักมีขนาดเล็กและเปิดสอนวิชาเฉพาะทาง
3. สถาบันที่มีความสำคัญระดับชาติหรือสถาบันที่เทียบเท่ามหาวิทยาลัยซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลหรือก่อตั้งโดยรัฐบาล รวมถึงสถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดีย (Indian Institute of Technology – IIT) ซึ่งปัจจุบันมี 15 แห่งทั่วประเทศ และสถาบันการจัดการแห่งอินเดีย (Indian Institute of Management) ซึ่งปัจจุบันมี 6 แห่งทั่วประเทศ
4. วิทยาลัยเทคโนโลยีและมหาวิทยาลัยเปิด
5. สถาบันวิจัยภายใต้การกำกับดูแลของสภาวิจัยด้านสังคมศาสตร์อินเดีย (Indian Council of Social Science Research) ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และวิทยาลัยกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของมหาวิทยาลัย
6. สถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งรวมถึงสถาบันสอนภาษา สถาบันกวดวิชา สถาบันสอนวิชาคอมพิวเตอร์
หน่วยงานด้านการศึกษาของอินเดีย
คณะกรรมาธิการเงินทุนมหาวิทยาลัย (University Grants Commission – UGC) 
ทำหน้าที่กำกับดูแลและจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาขั้นสูง
สมาคมมหาวิทยาลัยอินเดีย (Association of Indian Universities – AIU) 
ทำหน้าที่เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยในอินเดีย และดูแลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นสูง ยกเว้นเรื่องงบประมาณ
สภาการศึกษาด้านเทคนิคอินเดีย (All India Council for Technical Education – AICTE)
ทำหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีและการจัดการ
ปีการศึกษา ส่วนใหญ่เริ่มในเดือนกรกฎาคมและสิ้นสุดในเดือนเมษายนของปีถัดไป โดยมีช่วง ปิดภาคการศึกษาระหว่าง 15 พฤษภาคม ถึง 15 กรกฎาคม ในแต่ละปี
ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน โดยมากใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฮินดี สถานศึกษาบางแห่งใช้ภาษาท้องถิ่น เช่น เบงกาลี คุชราติ ปัญจาบี ทมิฬ และ อูรดู
ขั้นตอนการศึกษาหลังจากสำเร็จระดับมัธยมศึกษา
สายวิชาชีพ
หลังจากที่นักเรียนสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนในชั้นปีที่ 10 (Standard X) ก็สามารถเลือกที่จะเข้าฝึกอบรมเพื่อรับประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมหรือพาณิชย์ ในสถาบันของรัฐและเอกชน หรือเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยโปลีเทคนิค ซึ่งมีกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ
สายวิชาการ
ระดับปริญญาตรี ใช้เวลาศึกษา 3 ปี สำหรับสาขาศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพาณิชยศาสตร์ สำหรับผู้ที่สนใจด้านกฎหมายสามารถเลือกศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ 5 ปี หรือศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์หลังจากสำเร็จหลักสูตรปริญญาตรีในสาขาอื่นแล้วต่ออีก 2-3 ปี
ระดับอนุปริญญาเอกและปริญญาเอก ใช้เวลาศึกษาในระดับอนุปริญญาเอก 1 – 1.5 ปี และในระดับปริญญาเอกอีก 2 ปี โดยต้องเขียนวิทยานิพนธ์และสอบสัมภาษณ์เพื่อจบหลักสูตร
ทุนการศึกษา
รัฐบาลอินเดียให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนและนักศึกษาไทยที่ประสงค์จะเดินทางมาศึกษาต่อในอินเดียเป็นประจำทุกปี โดยส่วนใหญ่เป็นทุนของสภาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอินเดีย (Indian Council for Cultural Relations – ICCR) ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสมัครขอรับทุนได้ที่สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย
การสมัครเข้าศึกษาต่อในอินเดีย
ผู้ที่สนใจควรติดต่อสถานศึกษาโดยตรงเพื่อขอรับรายละเอียดและใบสมัครเข้าศึกษาต่อ เนื่องจาก สถาบันการศึกษาในอินเดียเปิดรับสมัครนักศึกษาไม่พร้อมกันและกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครแตกต่างกัน สถานศึกษาส่วนใหญ่ไม่บังคับให้ผู้สมัครต้องสอบวัดผลภาษาอังกฤษ (TOEFL หรือ IELTS) แต่อาจกำหนดผู้สมัครสอบวัดความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ต้องการศึกษาต่อ
             การศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
             ผู้ที่สนใจจะศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ที่สถาบันแพทย์ศาสตร์แห่งอินเดีย (All India Institute of Medical Sciences – AIIMS) จะต้องแจ้งความจำนงผ่านสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ทั้งนี้ สถาบันฯ จะรับนักศึกษาจากต่างชาติไม่เกิน 5 คนในแต่ละปี และนักศึกษาเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากประเทศที่มีการเรียนการสอนวิชาแพทยศาสตร์ไม่ได้มาตรฐานสากล
              อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.aiims.edu
             ผู้ที่สนใจจะศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดีย (Indian Institute of Technology – IIT) จะต้องสอบแข่งขัน Joint Entrance Examination (JEE) ร่วมกับนักเรียนชาวอินเดียและชาวต่างชาติอื่นๆ โดยการสอบจะมีในช่วงกลางเดือนเมษายนทุกปี
              อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.iitg.ernet.in/jee
ส่วนผู้ที่สนใจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก ควรติดต่อสถาบันฯ โดยตรงครับ
                        
การรับรองสถาบันการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จะรับรองสถาบันการศึกษาในอินเดียที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลอินเดีย โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพและรับรองการจัดการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาของอินเดีย คือ สภาวัดผลและรับรองแห่งชาติ (National Assessment and Accreditation Council – NACC) ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมาธิการเงินทุนมหาวิทยาลัย (University Grants Commission – UGC)
ชาว Eduzones สามารถตรวจสอบรายชื่อสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลอินเดียได้ที่ http://naacindia.org
การเทียบวุฒิการศึกษา การเทียบโอนผลการเรียน และการออกหนังสือรับรองการศึกษาการเทียบวุฒิการศึกษา การเทียบโอนผลการเรียน และการออกหนังสือรับรองการศึกษา
วุฒิระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา
ติดต่อกลุ่มทะเบียนและสารสนเทศทางการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยสามารถศึกษารายละเอียดและดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ ได้ที่ http://bet.obec.go.th/it/index.php?option=com_content&task=blogcategory&id=26&Itemid=59
วุฒิระดับปริญญาตรี-โท-เอก
ติดต่อ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

น้องๆสามารถสอบถามเพิ่มเติมยังหน่วยงานการศึกษาของอินเดียเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ :

Central Board of Secondary Education (CBSE)
PS-1-2 Institutional Area
I.P. Extension Patparganj
Delhi 110 092
Tel: (91-11) 2223-9177-80
Fax: (91-11) 2224-8990
Email: rodelhi.cbse@nic.in
Website: cbse.nic.in
Council for Indian School Certificate Examinations (CISCE) 
3rd Floor, Pragati House
47-48, Nehru Place,
New Delhi 110 019
Tel: (91-11) 2628-5170 2641-3820 2641-1706 2647-6547
Fax: (91-11) 2623-4575 2621-2051
Email: cisce@nda.vsnl.net.in
Website: www.cisce.org
University Grant Commission (UGC)
Bahadur Shah Zafar Marg
New Delhi 110 002
Tel: (91-11) 2323-2701 2323-6735 2323-9437 2323-5733 2323-7721 2323-2317
Fax: (91-11) 2323-1797 2323-2783 2323-9659 2323-1814
E-mail: webmaster@ugc.ac.in
Website: http://www.ugc.ac.in
Association of Indian Universities (AIU)
16 Kotla Marg
New Delhi 110 002
Tel: (91-11) 2323-0059 2323-2305 2323-2429 2323-2435 2323-3390
Fax: (91-11) 2323-2131
Email: aiu@bol.net.ininfo@aiuweb.org,aiu@del2.vsnl.net.in
Website: www.aiuweb.org
All India Council for Technical Education (AICTE)
7th Floor, Chanderlok Building,
Janpath
New Delhi 110 001
Tel: (91-11) 2372-4151-57
Fax: (91-11) 2372-4183
Email: chairman@aicte.ernet.in
Website: www.aicte.ernet.in
Indian Council for Cultural Relations (ICCR)
Azad Bhavan, Indraprastha Estate
New Delhi 110 002
Tel: (91-11) 2337-9309 2337-9310 2337-9314
Fax: (91-11) 2337-8639 23378830
Email: dgiccr@iccrindia.org
Website: www.iccrindia.org
สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย 
46 ซ. ประสานมิตร ถ. สุขุมวิท กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: (66-2) 258-300-5
โทรสาร: (66-2) 258-4627 262-1740
อีเมล์: indiaemb@mozart.inet.co.th

*ติดตาม การศึกษาอินเดียต่อใน “เรียนต่อประเทศอินเดีย (ตอนที่ 2)” นะครับ

ขอบคุณข้อมูล : สถานทูตอินเดีย
ขอบคุณภาพประกอบ : www.ayushveda.comwithfriendship.comwww.macremi.com


About Auther : ต้นซุง Eduzones  (609 Posts)

International Education Columnist, Webmaster, Correspondent


Share this Story

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น