รู้จักอาเซียน : “เวียดนาม” กับหนทางสู่การเป็นผู้นำด้าน ”พลังงานนิวเคลียร์”
เวียดนาม กับหนทางสู่การเป็นผู้นำด้าน พลังงานนิวเคลียร์ในอาเซียน
- ไม่ว่าเราจะชอบใจหรือไม่ เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า พลังงาน เป็นปัจจัยสำคัญของการดำเนินกิจกรรมทางการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น + จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น + สภาพอากาศที่แปรปรวนขึ้น = = > ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้นทุกปี
- เวียดนามได้ริเริ่มพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ มาตั้งแต่ปี 2537 โดยได้กำหนดแผนแม่บทการพัฒนาพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ 10 ปี (2543 – 2553) และจัดตั้งคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูแห่งเวียดนาม (Vietnam Atomic Energy Commission หรือ VAEC) เพื่อให้เป็นองค์กรหลักที่ดูแลในด้านการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์และการประยุกต์ใช้พลังงานนิวเคลียร์
- ปี 2550 นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เห็นชอบแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในระยะแรก จำนวน 4 โรง ซึ่งแต่ละแห่งจะมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 8,000 เมกะวัตต์ สถานที่ตั้งนั้น เวียดนามเลือกสร้างขึ้นในจังหวัดนิงทวน (Ninh Thuan) ทางตอนใต้ของประเทศ (ห่างจากชายแดนไทยประมาณ 900 กิโลเมตร) โดยคาดว่าเปิดเดินเครื่องใช้งานจริงในปี 2563
- เวียดนามได้รับความช่วยเหลือในเรื่องนี้จากสองประเทศ คือ รัสเซีย และญี่ปุ่น โดยในเบื้องต้นจะแบ่งกันช่วยก่อสร้างคนละสองโรง (แม้ญี่ปุ่นจะสะดุดไปบ้างภายหลังเกิดเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา แต่เวียดนามก็ออกมาประกาศว่า ยังคงเชื่อมั่นเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น)
- ข้อมูลจากแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาพลังงานของเวียดนาม ระบุว่า นับไปอีก 10 ปี ที่เวียดนามเริ่มดำเนินการเดินเครื่องในปี 2563 จะทำให้สัดส่วนของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงขึ้นถึง 8 เปอร์เซ็นต์ และจะมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลให้เวียดนามมีความมั่นคงทางพลังงานมากกว่าประเทศในอาเซียนอื่นๆ ที่ยังคิดหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานของตนไม่ได้
(ที่มา : ข้อมูลส่วนใหญ่จากกรุงเทพธุรกิจ / ภาพจากผู้จัดการออนไลน์)
ขอบคุณข้อมูล : Thailand AEC
About Auther : ต้นซุง Eduzones (609 Posts)International Education Columnist, Webmaster, Correspondent