35 คนดังระดับโลกกับการเป็นศิษย์เก่าสุดยอดมหาวิทยาลัย

มกราคม 7, 2013 by: 0
Visit 20,164 views

สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ มองการศึกษาโลก อีกครั้งหนึ่งในวันนี้ เรามาตามเกาะติดคนดังในหลากหลายวงการระดับโลกกันครับไม่ว่าจะเป็นระดับประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่ประธานบริษัทที่เป็นผู้ทรงอิทธิพลในระดับโลก ซึ่งแต่ละท่านนั้นเป็นศิษย์เก่าจากสถาบันเดียวกัน ซึ่งน่าสนใจมากว่าสถาบันการศึกษาเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของบัณฑิตคนดังเหล่านี้ที่จบการศึกษาออกมาและสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองและสถาบันอันเป็นที่รักของพวกเขาครับ

Forbes สำนักข่าวชื่อดังของสหรัฐอเมริกาได้ทำการรวบรวมบุคคลแห่งปี “World’s Most Powerful People” ที่จบการศึกษาหรือเคยศึกษาเล่าเรียนแต่อาจจะยังไม่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาชื่อดังระดับโลกไว้ 11 แห่งทั่วโลกในบทความ “Power Factories”  หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “โรงงานแห่งขุมพลัง” ที่เปรียบเสมือนแหล่งบ่มเพาะบัณฑิตคุณภาพออกมาทำประโยชน์ให้กับสังคมและวงการธุรกิจที่หลากหลายครับ เรามาดูกันดีกว่าครับกับ  35 คนดังระดับโลกกับการเป็นศิษย์เก่าสุดยอดมหาวิทยาลัย !

11. มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) 

11 Yale University

มหาวิทยาลัยเยลได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับที่สามของสหรัฐอเมริกาและอยู่ในกลุ่มไอวีลีก มีศิษย์ร่วมสำนักคนสำคัญระดับโลกอย่างอดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน (Bill Clinton) และ มาริโอ มอนตี (Mario Monti)

บิล คลินตันจบการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ จากนั้นได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดทางด้านการเมืองการปกครอง หลังกลับมาจากอ็อกซฟอ์ด เขาได้เข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนกฎหมาย มหาวิทยาลัยเยล และจบการศึกษาในปีค.ศ. 1973 ครับ ที่เยลเขาได้พบกับเพื่อนร่วมชั้นที่กลายมาเป็นภรรยาในอนาคต ได้แก่ นางฮิลลารี ร็อดแฮม (Hillary Rodham Clinton) หรือฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯคนปัจจุบันนั่นเองครับ

ส่วนมารีโอ มอนตี นายกรัฐมนตรีอิตาลีคนปัจจุบัน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังคนนี้นั้น เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์และวุฒิสมาชิกมาตลอดทั้งชีวิตครับ มารีโอเรียนปริญญาใบแรกของเขาด้านเศรษฐศาสตร์ที่ Bocconi University of Milan ในมิลาโนและหลังจากนั้นเขาก็ได้ทุนไปเรียนต่อที่เยลภายใต้การดูแลของนักวิชาการรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์อย่าง เจมส์ ทอบิน (James Tobin) ครับ

10. มหาวิทยาลัยแห่งเพนซิลวาเนีย (University of Pennsylvania)

10 University of Pennsylvania

วอร์เร็น เอ็ดเวิร์ด บัฟเฟตต์ (Warren Edward Buffett) นักธุรกิจและผู้ใจบุญชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงระดับโลก และหนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และซีอีโอของบริษัทเบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ครับ วอร์เร็น เข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่วอร์ตัน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และได้ย้ายไปเรียนและจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเนแบรสกา หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในปีค.ศ. 1951 ครับ

ส่วนคนดังจากเพนอีกคนได้แก่ อีลอน มัสก์ (Elon Musk)  นักธุรกิจวัย 41 ปี ผู้ร่วมก่อตั้ง Paypal ระบบชำระเงินออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ CEO ของบริษัท Tesla Motors และ SpaceX จากอัปเดตล่าสุด อีลอน มัสก์ มีทรัพย์สินจำนวน 2.4 พันล้านเหรียญแล้วครับ จากความเป็นหัวกะทิ ปริญญาตรีสองใบด้านการเงินและฟิสิกส์ที่วอร์ตัน มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย

9. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (University of California Los Angeles)
9 University of California Los Angeles

วิลเลี่ยม กรอส หรือ บิล กรอส (William H. Gross) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุนของบริษัทนิวพอร์ท บีช และผู้บริหารการลงทุนของบริษัทแปซิฟิก อินเวสท์เมนท์ เมเนจเมนท์ (PIMCO) ซึ่งเป็นกองทุนลงทุนในตราสารหนี้รายใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ผ่านรายการและสถานีโทรทัศน์ทางด้านการเงินยักษ์ใหญ่ อาทิ บลูมเบิร์ก หรือซีเอ็นบีซี มากที่สุดอีกด้วย เขาจบการศึกษาปริญญาตรีด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University) และเรียนต่อด้านบริหารธุรกิจกับโรงเรียนชื่อดังอย่าง UCLA Anderson School of Management ครับ

ส่วน ลอเรนซ์ ดี. ฟิ้งก์ (Laurence D. Fink) ผู้บริหารสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง BlackRock จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์จาก ยูซีแอลเอ และปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากโรงเรียนแอนเดอสันเหมือนกับกรอสครับ

 

8. มหาวิทยาลัยรัฐเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg State University)

8 Saint Petersburg State University

วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน (Vladimir Vladimirovich Putin) ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียคนที่สี่และคนปัจจุบัน มีประวัติกับมหาวิทยาลัยของเขาที่น่าสนใจที่ว่า ในวัยเด็ก เป็นช่วงที่หนังสายลับได้รับความนิยมจึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับปูติน ในสมัยนั้นซึ่งมีอาชีพอยู่เพียงสองประเภทที่สามารถเป็นสายลับได้คือต้องเป็นทหารหรือจบนิติศาสตร์

ปูตินได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สาขานิติศาสตร์และได้กลับมาทำงานกับหน่วยสายลับ หน่วยข่าวกรองสายลับและได้ถูกส่งไปประจำที่เยอรมนีตะวันออกในสมัยที่ยังไม่รวมประเทศ แต่ต่อมาสหภาพโซเวียตล่มสลาย เขาจึงลาออกจากเคจีบี แล้วกลับไปอยู่กับอาจารย์ ดร. อนาโตลี ซับซัค และช่วยหาเสียงจน ดร. อนาโตลี ซับซัคได้เป็นผู้ว่าการกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อ ดร.อนาโตลี ซับซัค ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดนข้อหาข้อทุจริต ปูตินก็เป็นลูกศิษย์ที่ไม่ยอมทิ้งอาจารย์ไปครับ เขาได้หาข้อมูลมาช่วยอาจารย์จนพ้นความผิด นับว่าเป็นผู้ที่มีคุณธรรมระดับหนึ่งทีเดียว

ส่วน ดมีตรี เมดเวเดฟ (Dmitry Medvedev) ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหพันธรัฐรัสเซีย และปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศ ก็สำเร็จการศึกษากฎหมายจากมหาวิทยาลัยรัฐเลนินการ์ด (Leningrad State University) ซึ่งเป็นชื่อเก่าของ มหาวิทยาลัยรัฐเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ที่นี่เองครับ ว่าแล้วก็น่าไปเรียนต่อที่มหานครแห่งสายน้ำที่นี่นะครับ เพราะนอกจากจะมีคนดังจำนวนมากเรียนจบจากที่นี่แล้ว ยังเป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่สองรองจากมหาวิทยาลัยรัฐมอสโก จากการจัดอันดับของกระทรวงศึกษาธิการรัสเซียอีกด้วยครับ

7. มหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University)

7. Duke University

ทิม คุก (Timothy Cook) ประธานกรรมการบริหาร CEO ของบริษัทแอปเปิล สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยออเบิร์น  และ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตจากโรงเรียนธุรกิจฟูควา (Fuqua) ของมหาวิทยาลัยดุ๊กครับ

วิลเลี่ยม กรอส หรือ บิล กรอส (William H. Gross) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุนของบริษัทนิวพอร์ท บีช และผู้บริหารการลงทุนของบริษัทแปซิฟิก อินเวสท์เมนท์ เมเนจเมนท์ (PIMCO) ซึ่งเป็นกองทุนลงทุนในตราสารหนี้รายใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ผ่านรายการและสถานีโทรทัศน์ทางด้านการเงินยักษ์ใหญ่ อาทิ บลูมเบิร์ก หรือซีเอ็นบีซี มากที่สุดอีกด้วย เขาจบการศึกษาปริญญาตรีด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University) และเรียนต่อด้านบริหารธุรกิจกับโรงเรียนชื่อดังอย่าง UCLA Anderson School of Management ครับ
6. มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University)

6. Columbia University

บารัก โอบามา (Barack Obama) ประธานาธิบดีคนที่ 44 และคนปัจจุบันของสหรัฐอเมริกา หลังจากจบไฮสกูล โอบามาก็ได้ย้ายไปเรียนต่อที่ลอสแอนเจลิสที่วิทยาลัยออกซิเดนทอล (Occidental College) เป็นเวลา 2 ปี จากนั้นจึงได้ย้ายไปเรียนที่ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในมหานครนิวยอร์ก สาขารัฐศาสตร์ เน้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครับ โอบามาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปีค.ศ. 1983 และได้เข้าทำงานในบริษัทธุรกิจระหว่างประเทศและกลุ่มวิจัยสาธารณประโยชน์แห่งนิวยอร์ก หลังจาก 4 ปีที่อยู่ในนิวยอร์ก โอบามาย้ายไปอยู่ที่ชิคาโก และได้เรียนต่อด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดในปี ค.ศ. 1988 ครับ

วอร์เร็น เอ็ดเวิร์ด บัฟเฟตต์ (Warren Edward Buffett) นักธุรกิจและผู้ใจบุญชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงระดับโลก และหนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และซีอีโอของบริษัทเบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ครับ วอร์เร็น เข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่วอร์ตัน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และได้ย้ายไปเรียนและจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเนแบรสกา หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในปีค.ศ. 1951 ครับ

5. มหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University)

5. Tsinghua University

หลู่จี้เว่ย (Lou Jiwei) รองนายกรัฐมนตรีการเงินของจีนสำเร็จการศึกษาด้าน วิทยาการคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยชิงหัว มหาวิทยาลัยสายวิทย์อันดับหนึ่งของจีน และจำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐมิติ จาก Chinese Academy of Social Sciences ครับ

สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนคนปัจจุบัน ผู้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีจีน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานคณะกรรมาธิการกลางการทหาร อธิการบดีโรงเรียนพรรคกลาง และตำแหน่งอื่นๆอีกมากมายคนนี้ สำเร็จการศึกษา วิศวกรรมเคมีจากชิงหัว และยังกลับไปศึกษาต่อด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเดียวกันเมื่อทำงานแล้วอีกด้วย
โจวเซียวฉวน (Zhou Xiaochuan) ผู้ว่าการธนาคารกลางสาธารณรัฐประชาชนจีนคนนี้ สำเร็จการศึกษาด้านเคมีจาก Beijing Institute of Chemical Technology และมาต่อ ปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยชิงหัว ด้าน วิศวกรรมระบบเศรษฐกิจ (economic systems engineering) ในปีค.ศ. 1985 ครับ
4. สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology)

4. Massachusetts Institute of Technology

เบน เบอร์นันเก (Ben Bernanke) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้บริหารธนาคารกลางสหรัฐฯ คนนี้ เคยสอนที่คณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยพริ๊นซตัน (Princeton University) โดยจบปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก MIT นี่นี่ครับ

เดวิด คอช (David Koch) นักธุรกิจและวิศวกรเคมีผู้มีชื่อเสียงจบวิศกรรมเคมีทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทจาก MIT  ส่วน ชาร์ส คอช (Charles Koch) คนน้อง ผู้ร่วมก่อนตั้ง Koch Industries จบปริญญาตรี วิศวกรรมทั้วไป ปริญญาโท วิศวกรรมเครื่องกล และปริญญาโท วิศวกรรมเคมี จาก MIT และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรด้านการศึกษาอีกหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาครับ

เบนจามิน เนทันยาฮู (Benjamin Netanyahu) นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของอิสราเอลคนนี้ ใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่วัยเด็ก หลังจากที่เสร็จสิ้นภารกิจการรับราชการเป็นทหารที่อิสราเอลหลังจบไฮสกูลแล้ว เขาก็ได้เดินทางกลับมายังสหรัฐอเมริกาและได้ศึกษาต่อด้าน สถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ MIT ครับ หลังจากเรียนจบเขายังเรียนต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจที่สโลน MIT Sloan School of Management และศึกษาด้านรัฐศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) อีกด้วย

มาริโอ ดรักฮิ (Mario Draghi) ประธานธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) และอดีตผู้บริหารธนาคารอิตาลีคนนี้ สำเร็จปริญญาตรีจากโรม ที่  Massimiliano Massimo Institute และ La Sapienza University และยังสำเร็จการศึกษา ปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ จาก Massachusetts Institute of Technology อีกด้วย ก่อนที่เขาจะทำงานในมหาวิทยาลัยฟลอเรนส์ (University of Florence) และได้ทุนมาเรียนต่อที่ Institute of Politics ณ สถาบันรัฐศาสตร์ the John F. Kennedy School of Government มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University)
3. มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford)

3. University of Oxford

เดวิด วิลเลียม โดนัลด์ แคเมอรอน (David William Donald Cameron) นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรคนปัจจุบัน จบการศึกษาจากวิทยาลัยอีตัน และได้ศึกษาต่อด้านปรัชญาทางการเมืองและเศรษฐกิจจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

บิล คลินตัน (Bill Clinton) จบการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ จากนั้นได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดทางด้านการเมืองการปกครอง หลังกลับมาจากอ็อกซฟอ์ด เขาได้เข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนกฎหมาย มหาวิทยาลัยเยล และจบการศึกษาในปีค.ศ. 1973 ครับ ที่เยลเขาได้พบกับเพื่อนร่วมชั้นที่กลายมาเป็นภรรยาในอนาคต ได้แก่ นางฮิลลารี ร็อดแฮม (Hillary Rodham Clinton) หรือฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯคนปัจจุบันนั่นเองครับ

นายกรัฐมนตรีอินเดีย นายมานโมฮัน ซิงห์ (Manmohan Singh) สำเร็จการศึกษาจาก Nuffield College วิทยาลัยด้านสายสังคมศาสตร์ของอ๊อกซฟอร์ด

รูเพิร์ต เมอร์ดอช (Rupert Murdoch) ราชาสื่อโลก ก็สำเร็จการศึกษาที่นี่และเป็นผลผลิตออกมาจาก Worcester College ครับ

ส่วน รีด ฮอฟฟ์แมน (Reid Hoffman) ผู้ก่อตั้ง LinkedIn สื่อสังคมออนไลน์ชื่อดัง และผู้บริหาร PayPal คนนี้ ได้รับทุน Marshall Scholarship และ Dinkelspiel Award เรียนปริญญาตรีในสาขา ระบบสัญลักษณ์และการรับรู้ (Symbolic Systems and Cognitive Science) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ก่อนที่เขาจะเรียนต่อด้านปรัชญาในระดับปริญญาโทและจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดครับ

2. มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University)

2. Stanford University

เซอร์เกย์ บริน (Sergey Brin) ผู้ก่อตั้ง Google ข้ามน้ำข้ามทะเลจากโซเวียตมาอเมริกาตั้งแต่อายุ 6 ขวบ เขาได้เข้าเรียนต่อปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ (University of Maryland) ตามพ่อและปู่ของเขาซึ่งเรียนในสาขาด้าน คณิตศาสตร์ และเขาเรียนต่อปริญญาเอกด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดจนหลักสูตรด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ของที่นี่เป็นที่นิยม และเขาได้ตัดสินใจหยุดเรียนเพื่อสานฟันในการทำ Google ระหว่างอยู่ที่สแตนฟอร์ด

อาลี อัล-ไนมี (Ali Al-Naimi) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงปิโตรเลียมและทรัพยากรธรรมชาติ ของซาอุดิอาระเบียคนนี้ ศึกษาปริญญาตรีที่ American University of Beirut และ Lehigh University  และศึกษาต่อปริญญาโทด้าน ธรณีวิทยาอุทกวิทยาและเศรษฐกิจ (hydrology and economic geology) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ลอว์เรนซ์ แลร์รี เพจ (Lawrence “Larry” Page) นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิลคู่กับ เซอร์เกย์ บริน  เขาจบการศึกษาชั้นมัธยมจากมัธยมศึกษาอีสต์แลนซิง จากเมืองอีสต์แลนซิง ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน-แอนอาเบอร์ หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

มูเกช อัมบานี (Mukesh Ambani) เศรษฐีชาวอินเดียคนนี้ สำเร็จการศึกษาจากมุมไบที่ Institute of Chemical Technology, และได้สอบเข้าเรียนต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจาหมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

รีด ฮอฟฟ์แมน (Reid Hoffman) ผู้ก่อตั้ง LinkedIn สื่อสังคมออนไลน์ชื่อดัง และผู้บริหาร PayPal คนนี้ ได้รับทุน Marshall Scholarship และ Dinkelspiel Award เรียนปริญญาตรีในสาขา ระบบสัญลักษณ์และการรับรู้ (Symbolic Systems and Cognitive Science) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ก่อนที่เขาจะเรียนต่อด้านปรัชญาในระดับปริญญาโทและจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดครับ

1. มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University)

1. Harvard University

ไมเคิล บลูมเบิร์ก (Michael Bloomberg) เศรษฐีมาเป็นนักการเมืองอีกคนหนึ่ง นายกเทศมนตรีนคร นิวยอร์กคนนี้ คนอเมริกันโดยทั่วไปนิยมเรียกชื่อแรกของเขาสั้นๆ ว่า “ไมก์” ครับ ความจริงควรจะเรียกเขาว่า “อภิมหาเศรษฐี” เนื่องจากเพราะเขามีทรัพย์สินเงินทองมูลค่าไม่ต่ำกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 แสน 7 หมื่นล้านบาทครับ เขาจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Johns Hopkins University และปริญญาโทบิรหารธุรกิจจาก Harvard Business School

จอห์น โรเบิร์ต (John Roberts) หัวหน้าผู้พิพากษาสหรัฐอเมริกาคนที่ 17 คนนี้ จบปริญญาตรีเกียรตินิยมด้านประวัติศาสตร์ ปริญญาเอกด้านกฎหมาย เกียรตินิยม จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อีกทั้งยังเคยเป็นบรรณาธิการบริหารของ Harvard Law Review อีกด้วย

ลอยด์ ซี แบลงค์ไฟน์ (Lloyd C. Blankfein) ประธานและซีอีโอของโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป (Goldman Sachs.) จบปริญญาตรีวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และปริญญาเอกด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มาร์ก เอลเลียต ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Elliot Zuckerberg) นักธุรกิจชาวอเมริกันเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก (Facebook) เขาร่วมก่อตั้งเฟสบุ๊กร่วมกับเพื่อนอีก 3 คน ขณะกำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นิตยสารไทม์ ได้จัดให้เขาเป็นบุคคลแห่งปี ค.ศ. 2010

และคนสุดท้าย บิล เกตส์ (Bill Gates) นักธุรกิจชาวอเมริกัน และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ มีประวัติด้านการศึกษาที่ไม่ธรรมดาครับ เกตส์เข้าศึกษาที่โรงเรียนเลคไซด์ อันเป็นโรงเรียนมัธยมที่ดีที่สุดในเมืองซีแอทเทิล ที่ที่เขาได้พัฒนาทักษะในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน เพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม บิล เกตส์ กับ พอล อัลเลน เพื่อนสนิท ได้แอบย่องเข้าไปในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington)ทั้งคู่ถูกจับได้แต่ก็ได้เจรจาตกลงกับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับนักเรียนได้ใช้ฟรี ต่อมา บิล เกตส์ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ต้องพักการเรียนไปโดยไม่จบการศึกษา เพื่อที่จะได้เริ่มประกอบอาชีพทางด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์

ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ที่ฮาร์วาร์ด เขามีโอกาสได้ทำความรู้จักกับสตีฟ บาลเมอร์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ ทั้งคู่เป็นเพื่อนร่วมห้องในหอพักระหว่างที่เป็นนักศึกษาปีหนึ่ง และยังร่วมกับ พอล อัลเลน เขียนต้นแบบ ภาษาอัลแตร์เบสิก ซึ่งเป็นโปรแกรมอินเตอร์เพรเตอร์สำหรับเครื่องอัลแตร์ 8800 (เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกที่ประสบความสำเร็จทางการค้าในกลางคริสต์ทศวรรษที่ 70) โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาเบสิก ซึ่งภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้ได้ง่าย ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยวิทยาลัยดาร์ตมัธ (Dartmouth College) เพื่อใช้ในการเรียนการสอนครับ
บทความโดย : ต้นซุง eduzones
ขอบคุณข้อมูล : Forbes

About Auther : ต้นซุง Eduzones  (609 Posts)

International Education Columnist, Webmaster, Correspondent


Share this Story

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น