มจพ.จัดประชุมวิชาการการศึกษาและวิชาชีพ ฉลองความสัมพันธ์ไทย-เยอรมัน 150 ปี
ผลงานวิจัยในปี พ.ศ. 2553 เรื่องหนึ่งขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) พบว่าการผสมผสานระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติเป็นพื้นฐานที่ได้ผลดีที่สุดในการส่งผ่าน การถ่ายโยงระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ และการปรับเปลี่ยนสถานภาพจากการเป็นักศึกษาไปเป็นคนทำงานในสถานประกอบการ ด้วยระบบการศึกษาแบบ Dual Education & Dual Studies ทำให้ประเทศเยอรมันมีอัตราการว่างงานน้อยที่สุดประเทศหนึ่งและมีอำนาจทางการผลิตมากที่สุดด้วย การจัดการศึกษาวิชาชีพแบบ Dual-Skilled ทำให้ประเทศเยอรมันมีศีกยภาพทางวิชาชีพที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่การส่งออกสินค้าทางเทคโนโลยีและการบินสูงมาก ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมของเยอรมันใช้จ่ายงบประมาณ 55 พันล้านยูโรต่อปี ในการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดผลที่น่าพึงพอใจจากผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)
ศาสตราจารย์ ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวเสริมว่า ระบบการศึกษาแบบ Dual Education & Dual Studies นี้จะนำมาใช้โดยลำพังเลยไม่ได้ ต้องได้รับความช่วยเหลือ ความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งรวมถึงสหพันธ์คุณสมบัติทางวิชาชีพประเทศเยอรมัน (German Professional Qualification Federation, Q-Fedreration), หอการค้าไทย-เยอรมัน (Thai-German Chamber of Commerce, TGCC) และสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เยอรมัน (German Electric and Electronics’ Manufacturer Association, ZVEI) ทั้งนี้เนื่องจากทั้งสองประเทศ ไทย-เยอรมัน มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านวัฒนธรรมและการศึกษา
ศาสตราจารณ์ ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ กล่าวเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า เราต้องเรียนรู้วิธี กลไกในการทำงานกระบวนการที่สำคัญ บทบาทของผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อปรับให้นำระบบการศึกษาแบบ Dual Education & Dual Studies มาปรับใช้กับประเทศไทยให้มีประสิทธิผลตามต้นแบบประเทศเยอรมัน ภายใต้สถานการณ์และบริบทของประเทศไทย
จากกำหนดประชุมวิชาการเรื่อง “Thai-German Conference on Dual Education & Dual Studies” จะมีบุคคลสำคัญทั้งของประเทศไทยและประเทศเยอรมันมาร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด และกล่าวสุนทรพจน์หลายท่าน อาทิพลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิ์ดิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม Prof. Dr. h.c. Cornelia Pieper รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมัน นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศาสตราจารย์ ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานหอการค้าไทย และยังมีผู้เข้าร่วมของเยอรมัน หอการค้าไทย-เยอรมัน และอุตสาหกรรม ผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ภายในงานยังมีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศไทยและประเทศเยอรมันอีกด้วย
ข่าว : ต้นซุง Eduzones
ถ่ายภาพ : รอน Eduzones