“เรียนแคนาดา”มาตรฐาน-ปลอดภัยสูง
มกราคม 14, 2010
by: bowing
Visit 1,658 views
แคนาดาเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา มีมหาสมุทรล้อมรอบ 3 ด้านมีเนื้อที่กว้างใหญ่ถึง 9,970,610 ตารางกิโลเมตร ส่วนกว้างมีความยาวกว่า 8,000 กิโลเมตรหากเดินทางโดยทางรถยนต์จากฝั่งตะวันตกไปฝั่งตะวันออก โดยเริ่มจากเมืองแวนคูเวอร์ ไปจนถึงเมืองโตรอนโต ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 3 วัน ปัจจุบันแคนาดาประกอบด้วย 11 มณฑลและเขตปกครอง 2 เขต ( Territories ) อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางเมืองหลวงชื่อ “ออตตาวา” มณฑล “ ออนตาริโอ “
เครื่องหมายประจำชาติของประเทศเป็นรูปใบเมเปิลเป็นใบใม้ที่มีสีสันสวย งามและมีรอยหยักเป็น 5 แฉก สีของใบเมเปิลในฤดูใบใม้ร่วงจะมีสีเหลืองปนแดง
ประชากร
แคนาดามีประชากรน้อยมากเมื่อเทียบกับความกว้างใหญ่ไพศาลของประเทศ ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 30 ล้านคน อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ ชาวแคนาดาส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพมาจากที่ต่างๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี โปรแลนด์ ยูเครน อิตาลี แอฟริกา ตะวันออกกลางอเมริกาใต้และ อินเดีย แต่กลุ่มอพยพล่าสุดมาจากเอเชีย สังคมของชาวแคนาดาเป็นสังคมของวัฒนธรรมผสมผสาน ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ แต่มีมณฑลควิเบคประชากรจะพูดภาษาฝรั่งเศษ แคนาดาเป็นประเทศที่มีภาษาราชการ 2 ภาษา คือภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศษ
การปกครอง
แคนาดาเป็นสหพันธรัฐ ปกครองระบบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขสูงสุดทางด้านบริหาร ประชาชนเป็นผู้เลือกผู้แทนของตนเองและพรรคที่มีเสียงส่วนใหญ่จะมีหน้าที่ใน การจัดตั้งรัฐบาลระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยของแคนาดามั่นคงมากจะไม่ค่อยมี การเดินขบวน หรือการใช้ความรุนแรงทางการเมือง
สภาพภูมิอากาศและฤดูกาล
โดยทั่วไปแล้วแคนาดามี 4 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ในช่วงระหว่างฤดูหนาว บางพื้นที่ของประเทศอุณหภูมิบางครั้งอาจติดลบถึง 25 องศาเซลเซียส จนน้ำแข็งจับตัวเป็นน้ำแข็งถาวรแต่ความหนาวในลักษณะนี้จะเกิดในช่วงระยะ สั้นๆ ในช่วงกลางวันของฤดูร้อนอุณหภูมิประมาณ 35 องศาเซลเซียส หรือร้อนกว่านั้น สำหรับอุณหภูมิในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และใบไม้ร่วงจะอยู่ในระดับปานกลาง แต่ละฤดูในแคนาดาจะมีความสวยงามของธรรมชาติแตกต่างกันไป
มณฑลและเมืองที่น่ารู้จัก
ภาคตะวันตก ประกอบด้วย 4 มณฑล
บริติชโคลัมเบีย (British Columbia) ได้ ชื่อว่าเป็นประตูสู่แปซิฟิก เป็นมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกสูงของแคนาดา มีชายฝั่งทะเลที่งดงามคล้ายฟยอร์ด พื้นที่เป็นภูเขาใหญ่น้อย เมืองหลวงคือวิคตอเรีย (Victoria) แต่เมืองที่เป็นที่รู้จักกันดีคือเมืองแวนคูเวอร์ (Vancouver) อากาศจะอบอุ่นที่สุด
อัลเบอร์ตา (Alberta) เป็น ถิ่นกำเนิดของเทือกเขา Rocky เมืองหลวงคือ เอดมันตัน (Edmonton) มีดอกกุหลาบป่า (Wild Rose) เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ทางการของมณฑล มณฑลนี้มีทรัพยากรธรรมชาติคือ น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ มีป่าไม้ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และที่ราบเพาะปลูกข้าวสาลี
ซัสคาเซวาน (Saskatchewan) เมือง หลวงชื่อรีไจนา (Regina) พื้นที่ครึ่งหนึ่งของมณฑลเต็มไปด้วยป่าไม้ที่เหลือเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งราบ แพรรี่ (Prarie) บางส่วนเป็นทะเลสาบน้ำใสสะอาด ซัสคาเซวานได้ชื่อว่าเป็น “ตะกร้าขนมปัง” ของแคนาดา เพราะเป็นแหล่งเพาะปลูก ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ข้าวไรย์ และลูกเดือย
มานิโตบา (Manitoba) ตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศแคนาดา พื้นที่ส่วนใหญ่ของมณฑลเต็มไปด้วยทะเลสาบจนได้ชื่อว่า “Land of 100,000 lakes” มณฑลนี้เป็นแหล่งที่ผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ทางตอนเหนือพื้นที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งและป่าไม้ ที่นี่มีการทำเหมืองแร่ที่สำคัญคือ ทองแดง สังกะสี และนิเกิล เมืองหลวงชื่อ วินนิเพก (Winnipeg)
ภาคกลาง ประกอบ ด้วย 2 มณฑล คือ
ออนตาลิโอ (Ontario ) เป็นมณฑลที่เป็นศูนย์กลางทางการเงิน และการอุตสาหกรรม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร มีเหมืองแร่ทองคำ นิเกิล ทองแดง ยูเรเนียม และสังกะสี เมืองหลวงของมณฑลชื่อ โตรอนโต (Toronto) ทางตอนใต้ของออนตาริโอ มีน้ำตกที่สวยงามและมีชื่อเสียงชื่อ น้ำตกไนแองการ่า นอกจากนี้ออนตาริโอยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของประเทศคือ เมืองออตตาวา และเป็นที่ตั้งขององค์กรสำคัญ ๆ และบริษัทใหญ่ ๆ ของแคนาดา
ควิเบค (Quebec) มีขนาดพื้นที่ใหญ่ทีสุดในบรรดามณฑลทั้งหมดของประเทศแคนาดา มณฑลนี้ล้อมรอบด้วยน้ำเกือบทั้งหมด ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายฝรั่งเศส
ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 มณฑล คือ
นิวฟาวแลนด์ (Newfoundland) เมืองหลวงชื่อเซ็นต์จอห์น (St.John) มณฑลนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของแคนาดา
พรินซ์ เอ็ดเวิร์ด ไอร์แลนด์ (Prince Edwaed lsland) เมืองหลวงชื่อ ชาร์ล็อตต์ทาวน์ ( Charlottetown) เป็น มณฑลที่เล็กที่สุดของแคนาดา
โนวา สโกเทีย (Nova Scotia) เมืองหลวงชื่อ ฮาลิแฟ็กซ์ (Halifax)
นิว บรันสวิก (New Brunswick) เมือง หลวงของ เฟรเดริคตัน (Fredericton ) มณฑลนี้มีน้ำล้อมรอบทั้งสามด้านเป็นที่ตั้งของอ่าวฟันดี (Bay of Fundy) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอ่าวที่มีคลื่นสูงที่สุดในโลก
เขตปกครองพิเศษ 2 เขต และ 1 มณฑล คือ
นอร์ธเวสต์ (Northwest Territories) เมือง หลวงชื่อ เยลโลไนฟ์ (Yellow Knife) ที่นี่ในช่วงฤดูร้อนกลางวันจะยาวกว่ากลางคืนมาก จนพระอาทิตย์จะไม่เคยลับขอบฟ้า ส่วนใหญ่ฤดูหนาวจะตรงกันข้ามคือมืดมิดจนไม่มีกลางวัน
ยูคอน (Yukon Territory) เมือง หลวงชื่อไวท์ฮอร์ส (Whitehorse) ในช่วงฤดูร้อนพระอาทิตย์ไม่เคยลับ จนได้ชื่อว่า Midnight Sun หรือดินแดนแห่งพระอาทิตย์เที่ยงคืน
มณฑลนูนาวูท (Nunavut Porvince) เป็นมณฑลใหม่แยกมาจากนอร์ธเวสต์ มีเมืองหลวงชื่อ อิคคาลูอิท ( lgaluit ) มีภูมิอากาศคล้ายนอร์ธเวสต์ เทอริทอรี่
เศรษฐกิจ
ประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ประเทศหนึ่ง ภาคตะวันตกของประเทศจะเป็นพื้นที่เพาะปลูกมีอุตสาหกรรมทางเกษตรที่สมบูรณ์ มณฑลบริติชโคลัมเบียมีชื่อเสียงด้านเหมืองแร่ การประมง การทำฟาร์ม และกิจการโรงเลื่อย ภาคกลางเป็นศูนย์กลางด้านการเมือง และอุตสาหกรรม สถาบันการเงิน และการบริการ มณฑลทางมหาสมุทรแอตแลนติค มีชื่อเสียงทางด้านการผลิตอาหาร
ระบบการศึกษาของแคนาดา
เนื่องจากประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์มีประชากรน้อย รัฐบาลจึงมีเงินสนับสนุนทางด้านการศึกษาค่อนข้างมาก รัฐบาลแคนาดาให้เงินอุดหนุนการศึกษาต่อประชากรสูงที่สุดในกลุ่มประเทศ อุตสาหกรรมตะวันตกมาตรฐานการศึกษาของแคนาดาเป็นที่ยอมรับทั่วโลกทุกระดับ ตั้งแต่ประถมศึกษาไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย
ระบบการศึกษาของแคนาดาประกอบด้วยสถาบันการศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับก่อนเข้าวิทยาลัย แต่ระดับมหาวิทยาลัยของแคนาดาเป็นของภาครัฐทั้งหมด และทุกมหาวิทยาลัยได้รับการรองรับโดย ก. พ. การศึกษาในแคนาดาอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการของแต่ละมณฑลและ เขตปกครอง ดังนั้นระบบการศึกษาจึงมีความแตกต่างกันแต่ด้วยการประสานความร่วมมือทางด้าน วิชาการของคณาจารย์ และสถาบันต่างๆ รวมทั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา ทำให้การศึกษาทั่วทั้งแคนาดามีมาตรฐานสูงระดับเดียวกัน
ระดับประถมศึกษา
ระบบการศึกษาเริ่มจากชั้นอนุบาลเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ แต่ชั้นประถมศึกษาในแต่ละมณฑลจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้คือ
1. กลุ่มที่มีชั้นประถม 1 – 8 คือ มณฑลออนตาริโอ และมณฑลมานิโตบา
2. กลุ่มที่มีชั้นประถม 1 – 7 คือ มณฑลบริติชโคลัมเบีย และเขตยูคอน
3.กลุ่มที่มีชั้นประถม 1 – 6 คือ ทุกมณฑลนอกจากที่กล่าวมาแล้ว
ในเรื่องจำนวนปีการศึกษาระดับมัธยมจะแตกต่างกันไปในแต่ละมณฑล แต่เมื่อรวมการเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาแล้วจะรวมใช้เวลาเรียน 12 ปี ข้อยกเว้นคือมณฑลควิเบคและมณฑลออนตาริโอ จะจัดระบบชั้นมัธยมเลยไปอีก 1 ปี รวมเวลา เรียน 13 ปี คล้ายๆกับว่ามีมัธยม 7 แต่นักเรียนที่เรียนจบชั้น มัธยม 7 จะเรียนอีก 3 ปี ก็ได้รับปริญญาตรี ในขณะที่มณฑลและเขตการปกครองอื่นๆ หลักสูตรปริญญาตรีจะใช้เวลาเรียน 4 ปี
ในมณฑลควิเบค ยังมีระบบการศึกษาซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างมัธยมและมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นระบบคล้ายของฝรั่งเศส ที่เรียกว่า ซีเจ็ฟ ( Cegep ) การศึกษาในระดับนี้จะรับผู้จบมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าเรียนวิชาชีพเป็นเวลา 2 ปี โรงเรียนมัธยมของแคนาดามีทั้งของรัฐบาล และของเอกชนถ้าเป็นของเอกชน ต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการของแต่ละมณฑล
โรงเรียนรัฐส่วนใหญ่เป็นแบบสหศึกษา ส่วนของเอกชนนั้นมีทั้งแบบ หญิงล้วน ชายล้วน หรือ สหศึกษาบางโรงเรียนเป็นโรงเรียนประจำ
ระดับมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยในแคนาดามีทั้งขนาดเล็กมีนักศึกษาไม่ถึง 1,000 คน ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีนักศึกษากว่า 35,000 คน การเข้าศึกษาถูกกำหนดโดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง โดยทั่วไปจะไม่มีการสอบเข้า แต่ละมหาวิทยาลัยมีมาตรฐานของตนเอง เนื่องจากแคนาดามีภาษาราชการ 2 ภาษาคือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ผู้สอบเข้ามหาวิทยาลัยจะเลือกสอบได้ทั้งที่ใช้ ภาษอังกฤษและสถาบันที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส บางมหาวิทยาลัย สอนทั้ง 2 ภาษา แต่นักศึกษาใช้ภาษาเดียวก็เพียงพอ
สำหรับความสามารถในการใช้ภาษาของนักศึกษาต่างชาตินั้น มหาวิทยาลัยทั่วไป ( ยกเว้นที่สอนเป็นฝรั่งเศส ) ใช้คะแนน TOEFL หรือ IELTS โดยต้องได้คะแนน TOEFLอย่างต่ำ 550 มีมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่กำหนดคะแนนไว้ที่ 600 ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เรียน ระยะเวลาการศึกษาในมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรีของแต่ละมณฑลนั้นแตกต่างกัน ไปจาก 3-5 ปี ซึ่งนักศึกษาควรจะต้องตรวจสอบกับมหาวิทยาลัยที่กำหนด บางมหาวิทยาลัยจะมีปริญญาตรี 2 แบบ คือ แบบทั่วไป(Ordinary Degree) ซึ่งอาจเรียนจบภายใน 3 ปี และแบบเกียตินิยม(Honours Degree) ซึ่งมีวิชาให้เรียนเพิ่มอีก 1 ปี เหมาะสำหรับผู้จะเรียนต่อปริญญาโท ในบางแขนงวิชามีการฝึกงานด้วย หลักสูตรจะเป็น 5 ปีซึ่งรวมระยะเวลาเรียนและฝึกงาน หลักสูตรฝึกงานได้แก่ หลักสูตรบัญชี สถาปัตยกรรม และคณะวิศวกรรม และวิศวกรรมศาสตร์
สำหรับปริญญาโทใช้เวลาเรียน 1-2 ปี นักศึกษาสามารถเลือกเรียนแบบ Course Work ฟังการบรรยายและเขียนรายงานหรือเลือกทำ Project หรือเลือกเขียนวิทยานิพนธ์ และสอบประมวลความรู้ ( Comprehensive Examination )
สำหรับปริญญาเอกใช้เวลาเรียน 3-5 ปี โดยเป็น Course Work ประมาณ 2 ปี ที่เหลือเป็นการค้นคว้างานวิจัยการเสนอรายงานเชิงวิชาการ และการเขียนวิทยานิพนธ์
การศึกษากึ่งวิชาการ
( Community College หรือ Career College )
เป็นการศึกษาที่ใช้เวลาเรียน 1-3 ปี มุ่งเน้นผลิตนักศึกษาเพื่อออกสู่ตลาดแรงงานให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ วิชาที่เปิดสอนจึงการปรับหลักสูตรตลอดเวลา ให้สอดคล้องตามนโยบายเศรษฐกิจของชาติและกระแสตลาดแรงงาน
การศึกษาภาคปฏิบัติ ( CO-op Education )
คือการศึกษาที่สถาบันการศึกษาร่วมมือกับภาคธุรกิจ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริง โดยจะได้รับค่าจ้าง โดยทั่วไปนักศึกษาจะฝึกงานประมาณ 2 ภาคเรียนก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา
การโอนหน่วยกิจ
แต่ละมหาวิทยาลัยมีระเบียบการเทียบโอนหน่วยกิจแตกต่างกันไป นักศึกษาต้องตรวจสอบไปยังมหาวิทยาลัยที่ต้องการเทียบโอนหน่วยกิจ ก่อนตัดสินใจย้ายสถานศึกษา
โรงเรียนสอนภาษา
มีโรงเรียนสอนภาษาสำหรับต่างชาติที่เรียกว่า English as Second Language( ESL) และสอนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สอง French as a Second Language ( FSL) หลายแห่ง กระจายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วแคนาดา ทั้งนี้เพราะผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแคนาดาจำเป็นต้องปรับระดับทักษะภาษา อังกฤษ มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ชุมชนเกือบทุกแห่งมีแผนภาษาอังกฤษเปิดสอนหลักสูตร ESLสำหรับนักศึกษาต่างชาติ แต่จะมีข้อกำหนดวันเริ่มเรียนเป็นข้อ๐และคุณสมบัติของผู้เรียนระบุไว้ ส่วนโรงเรียนสอนภาษาเอกชนนั้นนักศึกษาสามารถเข้าเรียนได้ตลอดปีและมีหลัก สูตรให้เลือกมากกว่า
การสมัครเข้าศึกษา
การเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของแคนาดานักศึกษาควรศึกษารายละเอียดของแต่ละ สถาบัน และต้องเตรียมเอกสารที่ทางสถาบันกำหนดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ก่อน นำส่งสำนักงานนายทะเบียนที่จะศึกษา หากเอกสารไม่ครบถ้วนทางเจ้าหน้าที่อาจส่งเอกสารคืน ทำให้สมัครล่าช้าสถานศึกษาในประเทศแคนาดาค่อนข้างเข้มงวดและจะไม่พิจารณาใบ สมัครของนักศึกษา จนกว่าจะได้เอกสารทุกอย่างครบ ถ้าไม่สามารถนำเอกสารได้ครบถ้วนนักศึกษาควรแนบจดหมายแจ้งเหตุผลให้ทางสถาบัน ทราบและกำหนดวันที่จะยื่นเอกสารที่ยังขาด
โดยทั่วไปแคนาดายินดีต้อนรับนักศึกษาต่างชาติ แต่เนื่องด้วยสถาบันแต่ละแห่งไดรับเงินสนับสนุนค่อนข้างมากจากรัฐบาล จึงมีการจำกัดจำนวนนักเรียนต่างชาติไว้ที่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นนักศึกษาควรสมัครเรียนมากกว่าหนึ่งแห่งเพื่อเพิ่มโอกาศในการได้รับ การตอบรับ
การเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
นักศึกษาควรสมัครเข้าเรียนหลักสูตร University Transfer Program ในวิทยาลัยก่อน ใช้เวลาเรียน 2 ปี ทำคะแนนให้ดีแล้วโอนหน่วยกิจเข้ามหาวิทยาลัย หลังเรียนต่ออีก 2 ปีจะได้รับปริญญาซึ่งง่ายกว่าการสมัครตรงเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการสมัครยากกว่าสำหรับปริญญาโทนักศึกษาที่มีคะแนนภาษา อังกฤษและผลการเรียนดีสามารถสมัครเรียนโดยตรง ในกรณีที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ นักศึกษาสามารถเข้าเรียนภาษาในมหาวิทยาลัยที่ต้องการเรียนก่อน ทำคะแนน TOEFLให้ได้ 550 ถึง 600 และพยายามหาโอกาสทำความรู้จักกับอาจารย์ อาจจะช่วยในการสมัครเข้าศึกษาง่ายขึ้น
ปีการศึกษา
ปีการศึกษาในแคนาดาส่วนใหญ่ แบ่งเป็น 2 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 1 ( Fall Semester ) เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม ภาคเรียนที่ 2 ( Winter Semester )เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ช่วงหยุดภาคฤดูร้อน(Spring และ Summer )เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม สถาบันบางแห่งเปิดสอนหลักสูตรภาคฤดูร้อนด้วย
ทุนการศึกษา
ในระบบการศึกษาของแคนาดา จำนวนกองทุนสำหรับช่วยเหลือนักศึกษาต่างในระดับปริญญตรีมีอยู่น้อยมาก แต่สถาบันบางแห่งมีการให้ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีผลการศึกษาดีในตอน ปลายปีการศึกษาาทุกๆปี โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นนักศึกษาต่างชาติ หรือนักศึกษาชาวแคนาดา ส่วนทุนการศึกษาประเภทเงินทุนกู้ยืม และเงินทุนให้เปล่า ( Loan และ Grant ) ของรัฐบาลมณฑล นักศึกษาต่างชาติไม่สามารถขอรับทุนประเภทนี้ สำหรับนักศึกษาที่สมัครเรียนในระดับปริญญาโทหรือเอก ทางมหาวิทยาลัยอาจมีเงินทุนช่วยเหลือในรูปแบบของ Graduate Research Assistantships และ Graduate Teacher Assistantships
การประกันสุขภาพ
แผนประกันสุขภาพของรัฐบาลจะสะดวกกว่าของเอกชนและเป็นที่ยอมรับมากกว่า กฎระเบียบข้อบังคับค่าเบี้ยประกันสุขภาพของแต่ละมณฑลจะแตกต่างกันออกไปบ้าง ราคาเบี้ยประกันจะแตกต่างกันเล็กน้อย ความคุ้มครองทางการแพทย์จะเริ่มเมื่อนักศึกษาเดินทางถึงประเทศแคนาดาแล้ว เท่านั้น สถาบันการศึกษาบางแห่งจะไม่อนุญาติให้นักศึกษาลงทะเบียน จนกว่าจะมีประกันใบสุขภาพมาแสดง ยกเว้นในมณฑลซัสคาเซวานนักเรียนจะได้รับความคุ้มครองทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ซัสคาเซวานทันทีที่ลงทะเบียนเป็นนักศึกษา
การทำงานระหว่างเรียน
ในขณะศึกษานักศึกษาสามารถที่จะทำงานได้ในมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ เช่นในห้องสมุด ห้องอาหาร สโมสรของมหาวิทยาลัย สำหรับนักศึกษาปริญญาโทหรือเอก สมารถทำงานเป็นครูผู้ช่วยครูผู้สอน ส่วนนักศึกษาที่เลือกเรียนหลักสูตรที่มีการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับ สถานประกอบกิจการ ที่เรียกว่า Co-op Education สามารถฝึกงานได้โดยได้รับค่าจ้าง หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ในสาขาที่สำเร็จการศึกษา แต่ต้องภายใน 60 วันหลังจากวันที่สำเร็จการศึกษา โดยขอวีซ่าทำงาน ( Employment Authorization )ได้จากกองตรวจคนเข้าเมืองประเทศแคนาดา( The Local Canadian lmmigration Center ) และต้องขอหมายเลขประกันสังคมเพื่อใช้เสียภาษีเงินได้ คู่สมรสของนักศึกษาในฐานะผู้ติดตามสามารถสมัครของวีซ่าทำงานได้
ที่พักอาศัย
การพักอาศัยอาจจะเป็นลักษณะพักอยู่กับครอบครัวชาวแคนาดา เช่าบ้านหรืออพาร์ตเมนต์ ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปตามระดับราคาที่พัก
การพักกับครอบครัว
ครอบครัวชาวแคนาดายินดีต้อนรับนักศึกษาต่างชาติ การพักแบบนี้สะดวกและปลอดภัยที่สุด เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการพัฒนาภาษาอังกฤษ หรือฝรั่งเศส พร้อมกับได้เรียนรู้ชีวิตประจำวันของชาวแคนาดา นักเรียนจะรับประทานอาหารพร้อมกับเจ้าของบ้าน และมีห้องพักส่วนตัว ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยประมาณ 500 ถึง 800 เหรียญแคนาดาต่อเดือน
หอพัก
หอพักในสถานศึกษาส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใกล้กับสถานศึกษา และมักจะใช้ห้องครัว ห้องซักรีด ห้องสุขาร่วมกัน หอพักในสถานศึกษาจะแบ่งเป็นหอพักชายและหอพักหญิงบางที่มีห้องอาหารบริการ ด้วย ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยโดยประมาณ 450 ถึง 850 เหรียญแคนาดาต่อเดือน
บ้านเช่าหรืออพาร์ตเมนต์
บ้านเช่าส่วนใหญ่จะมีราคาสูงและมักจะไม่รวมเฟอร์นิเจอร์ แต่จะมีห้องครัว ห้องน้ำ ห้องนอนที่เป็นส่วนตัวบางแห่งจะรวมค่าใช้จ่ายของเครื่องทำความร้อนหรือค่า ไฟฟ้าไว้ในค่าเช่า โดยปกติแล้วทางสถานศึกษาจะมีรายชื่อของบ้านเช่าที่อยู่ใกล้สถานศึกษาให้นัก ศึกษาเลือก หรือนตักศึกษาอาจหาเช่าอพาร์ตเมนต์ได้จากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก่อนเซ็นสัญญา เช่า นักศึกษาต้องตรวจสอบเงื่อนไขการเช่าอย่างละเอียด และก่อนย้ายเข้าต้องตรวจสภาพของบ้านเช่าว่ามีสิ่งใดชำรุดเสียหายหรือไม่ มิฉะนั้นเวลานักศึกษาย้ายออกเจ้าของจะคิดค่าซ่อมแซม โดยหักจากเงินมัดจำค่าอพาร์ตเมนต์ประมาณ 500-1,500 เหรียญแคนาดาต่อเดือน แต่นักศึกษาสามารถพักรวมกันและเฉลี่ยค่าใช้จ่ายร่วมกัน
ค่าครองชีพ
ต่อไปนี้เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่ควรทราบ
- รถเมล์เที่ยวเดียว ( ภายในมณฑล )
2.00 เหรียญแคนาดา
- โทรศัพท์ภายในมณฑล
0.25 เหรียญแคนาดา/ครั้ง
- เฉลี่ยอาหาร 1 มื้อในร้านอาหาร
10.00-25.00 เหรียญแคนาดา/คน
- บัตรชมภาพยนตร์ 1 ใบ
8.50 เหรียญแคนาดา
- จดหมายภายในประเท
0.46 เหรียญแคนาดา
หมายเหตุ: 1 เหรียญแคนาดา=30 บาท โดยประมาณ
การขอวีซ่า ประเทศแคนาดา(วีซ่านักเรียน๗
ข้อควรทราบเกี่ยวกับวีซ่านักเรียน เมื่อได้รับวีซ่าแล้ว นักศึกษาควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารที่ได้รับเพื่อจะได้ปฏิบัติตนให้ถูก ต้อง เอกสารที่กล่าว คือ สติกเกอร์ที่ติดในหนังสือเดินทาง หมายถึงใบอนุญาติเข้าเมือง จะระบุว่านักศึกษาจะเดินทางเข้าประเทศแคนาดาได้กี่ครั้ง และวันที่ Expiry Date หมายถึงวันสุดท้ายที่นักศึกษาจะสามารถเข้าประเทศแคนาดาได้ เอกสารแผ่นใหญ่ (Student Authorization) เป็นเอกสารแสดงว่านักศึกษาได้รับอนุญาติให้อาศัยและศึกษาในประเทศแคนาดา โดยปกติจะมีอายุเพียงหนึ่งปี ถ้าประสงค์จะศึกษาจำเป็นต้องต่ออายุนักเรียนจะไม่ได้รับการอนุญาติให้เดิน ทางเข้าประเทศแคนาดาถ้าไม่มีเอกสารสองแผ่นนี้แนบในหนังสือเดินทาง
สถานฑูตไทย และสถานกงสุลไทยในประเทศแคนาดา
มีสำนักงานสาขาของสถานฑูตไทย และสถานกงสุลไทย 3 แห่ง ตั้งอยู่ที่ แวนคูเวอร์ ออตตาวา และโตลอนโต
สถานที่และเวลาทำการของแผนกทำวีซ่า
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 – 10.00 น.
สถานฑูตแคนาดา
ชั้น 15 อาคารอับดุลราฮิม
990 ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ 10500
โทร 0-2636-0540
โทรสาร 0-2636-0561