ให้ฟรี 200ทุนสกอ.เรียนe-learning

มกราคม 19, 2010 by: ไม่ให้ใส่ความเห็น
Visit 1,751 views

2โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย มอบทุนเรียนออนไลน์ 200 ทุนฟรีสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 พฤษภาคมนี้

รูปแบบการเรียนการสอน

สอนโดยอีเลิร์นนิง คือผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นหลัก

ทุกวิชาจะกำหนดระยะเวลา และภาระงานในการเรียนในรูปแบบของหน่วยการเรียน โดยทุกวิชาคิดเป็น
3 หน่วยการเรียน ผู้เรียนจะต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 6-8 ชั่วโมง เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

1.               เรียนจากบทเรียนมัลติมีเดียผ่านเว็บด้วยตนเอง (Interactive Multimedia) 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

2.               อ่านเอกสารที่ผู้สอนกำหนด (จากสื่อสิ่งพิมพ์หรือเว็บไซต์) 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3.               ทำกิจกรรมการเรียน (Learning Activities) สอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์
(Tutor session) เพื่อนร่วมชั้นเรียน (Collaborative Activities) 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

4.               ค้นคว้า / ทำรายงาน (Research Assignment/Report) ตามกำหนด 2-4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

วิธีการเรียนและเกณฑ์ในการผ่านหลักสูตร
1. เรียนออนไลน์ผ่านระบบ TCU-LMS หรือ เว็บไซต์ www.ThaiCyberU.go.th
2. การมีส่วนร่วมในกิจกรรม Webboard และ Chatroom
3. ส่งชิ้นงานตามที่ได้รับมอบหมายครบ  และตามระยะเวลาที่กำหนด
4. มีเอกสารและคู่มือประกอบการเรียนออนไลน์

คุณสมบัติของผู้เรียน

1.               จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่ง

2.               สามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างไม่มีปัญหา

3.               มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้งานได้สะดวก (ความเร็วไม่น้อยกว่า 256 Kbps)

4.               ผู้เรียนจะต้องมีเวลาไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 6 ชม. ในการเรียนและทำกิจกรรมการเรียน

โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วย 12 รายวิชา จัดกลุ่มเป็น 3 หลักสูตรประกาศนียบัตรย่อย ดังนี้

1.หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้สอนอีเลิร์นนิง (e-learning Teacher)
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับครู อาจารย์ที่ต้องการพัฒนาทักษะในการสอนในอีเลิร์นนิง รายวิชาในหลักสูตร
จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับวิธีการสอนในระบบอีเลิร์นนิง

2. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ออกแบบคอร์สแวร์อีเลิร์นนิง (e-learning Courseware Designer)
หลักสูตรนี้ เหมาะสำหรับครู อาจารย์ นักเทคโนโลยีการศึกษา และนักวิชาการที่สนใจในออกแบบคอร์สแวร์อีเลิร์นนิง ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional Design) จนถึงการ
ออกแบบกิจกรรมการเรียน บทเรียน การประเมินผลและสื่อการเรียน

3. หลักสูตรสำหรับผู้บริหารโครงการอีเลิร์นนิง (e-learning Project manager)
หลักสูตรนี้มีจุดมุ่งหมายสำหรับผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักวิชาการ ที่ต้องรับผิดชอบบริหารโครงการอีเลิร์นนิง รายวิชาในหลักสูตรจะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และทักษะ ในการบริหารโครงการอีเลิร์นนิง

ตารางแสดงรายวิชาและสถานะรายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรแต่ละด้าน

รายวิชา

e-learning Teacher

e-learning Courseware
Designer

e-learning
Project
Manager

1.  ความรู้พื้นฐานอีเลิร์นนิง
(Principle of e-learning)

วิชาแกน

วิชาแกน

วิชาแกน

2.  ทักษะและวิธีจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง
(e-learning Methods and Skills)

วิชาแกน

วิชาแกน

วิชาเลือก

3.  การจัดการห้องเรียนอีเลิร์นนิง
(Monitoring e-Classroom)

วิชาแกน

<

/td>

วิชาเลือก

วิชาเลือก

4.  การออกแบบบทเรียนอีเลิร์นนิง
(Design e-learning Courseware)

วิชาเลือก

วิชาแกน

วิชาเลือก

5.  การออกแบบเว็บไซต์สำหรับอีเลิร์นนิง
(Designing Effective Website for e-learning)

วิชาเลือก

วิชาแกน

วิชาเลือก

6.  การวัดและประเมินสัมฤทธิผลผู้เรียนในอีเลิร์นนิง
(Assessing and Evaluating Students'
Performance in e-Learning)

วิชาแกน

วิชาเลือก

วิชาเลือก

7.  เทคนิคและวิธีการประเมินในอีเลิร์นนิง
(Evaluation Methods and Techniques in e-Learning)

วิชาเลือก

วิชาแกน

วิชาเลือก

8.  เทคโนโลยีเพื่อการนำส่งเนื้อหาในอีเลิร์นนิง
(e-Learning Delivery System)

วิชาเลือก

วิชาเลือก

วิชาแกน

9.  หลักการและทฤษฎีการบริหารโครงการ
(e-Learning Project Management)

วิชาเลือก

วิชาเลือก

วิชาแกน

10.  นโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการอีเลิร์นนิงในองค์กร
(Organizational e-Learning policy and strategy)

วิชาเลือก

วิชาเลือก

วิชาแกน

11.  นวัตกรรมเทคโนโลยีในอีเลิร์นนิง
(Innovative Technology in e-Learning)

วิชาแกน

วิชาแกน

วิชาแกน

12. การประกันคุณภาพอีเลิร์นนิง
(Quality Assurance in e-Learning)

วิชาเลือก

วิชาเลือก

วิชาแกน

วิธีการสมัครขอรับทุน

Download ใบสมัครขอรับทุน โปรดระบุชื่อหลักสูตรที่ขอรับทุนมาด้วย (1 ท่าน / 1 หลักสูตรเท่านั้น)

หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญมี 3 หลักสูตร ดังนี้

หลักสูตร e-Learning Teacher (จำนวน 6 รายวิชา)          จำนวน   40  ทุน (เปิด 2 รุ่น*40 คน)
หลักสูตร e-Learning Design (จำนวน 7 วิชา)                 จำนวน   40  ทุน (เปิด 2 รุ่น*40 คน)
หลักสูตร e-Learning Project manager (จำนวน 6 วิชา)  จำนวน   40  ทุน (เปิด 1 รุ่น*40 คน)

1. คุณสมบัติของผู้ขอรับทุน
1.1 ครู-อาจารย์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันศึกษา
1.2 นิสิตบัณฑิตศึกษา ของคณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

2. กระบวนการพิจารณา
2.1 เอกสารครบตามคุณสมบัติผู้สมัคร
2.2 พิจารณาจากบทความที่เขียนเสนอขอทุน

3. วิธีการสมัครขอรับทุน
3.1 แนบประวัติการศึกษา , ประวัติการทำงาน , ผลงานด้าน e-Learning (ถ้ามี)
3.2 รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
3.3 สำเนาบัตรประชาชน/ข้าราชการ จำนวน 1 ชุด
3.4 เขียนบทความ เหตุผลในการเข้าร่วมโครงการเพื่อขอรับทุน ความคาดหวังและ
การนำไปใช้ประโยชน์ ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4
(ส่งเอกสารมาที่ คุณมณีรัตน์ มั่นยืน ที่อยู่ 328 โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ชั้น 7
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400)
e-Mail : maneerat@thaicyberu.go.th , m2n_88@hotmail.com

4. เงื่อนไขการรับทุน
4.1 ผู้ที่รับทุนต้องสอบผ่านเกณฑ์ในการเรียนออนไลน์ตามที่ โครงการมหาวิทยาลัยกำหนด
4.2 โครงการฯ สงวนสิทธิ์ที่จะคิดค่าลงทะเบียนในกรณีที่ผู้ได้รับทุนไม่สามารถเรียนจบหลักสูตรได้

หมายเหตุ : เงื่อนไขการสมัครขอรับทุนอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความหมาะสม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
328 ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

โทร. 02-6105233-9

Fax.02-3545476

zp8497586rq

About Auther : bowing  (420 Posts)


Share this Story

Comments are closed.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น