เรียนต่อเยอรมัน
มกราคม 14, 2010
by: bowing
Visit 4,784 views
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เยอรมัน หรือเยอรมนี ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรปล้อมรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้านถึง 9 ประเทศ คือ เดนมาร์กอยู่ทางเหนือ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักแซมเบิร์ก และฝรั่งเศสอยู่ทางตะวันตก สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรียอยู่ทางใต้ สาธารณรัฐเชค และโปแลนด์อยู่ทางตะวันออก นับเป็นประเทศยุโรปที่มีจำนวนเพื่อนบ้านมากที่สุด
นับตั้งแต่มีการรวมประเทศในปี ค.ศ.1990 เยอรมันกลายเป็นประเทศสำคัญที่ไม่เพียงแต่เป็นตัวเชื่อมยุโรปตะวันตกและ ตะวันออกเข้าด้วยกัน แต่ยังเชื่อมประเทศทางตอนเหนือคือกลุ่มสแกนดิเนเวีย กับกลุ่มประเทศทางตอนใต้ซึ่งอยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอีกด้วย เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป เยอรมันจึงเป็นเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างประเทศในยุโรปตอนกลางและยุโรปตะวัน ออก ยิ่งกว่านั้นการมีที่ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป ยังทำให้เยอรมันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการท่องเที่ยวแถบนี้
เยอรมัน มีพื้นที่ประมาณ 357,000 ตารางกิโลเมตร พรมแดนทางตอนเหนือของประเทศติดกับฝั่งทะเลเหนือ(North Sea) และทะเลบัลติค ทางตอนใต้จรดเทือกเขาแอลป์ในรัฐบาวาเรียน ระยะทางส่วนที่ยาวที่สุด จากเหนือจรดใต้ ประมาณ 876 กิโลเมตร จากตะวันตกไปตะวันออก ประมาณ 640 กิโลเมตร ภูมิประเทศของเยอรมันมีทิวทัศน์งดงามแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ ทั้งเทือกเขาสูงต่ำสลับกับที่ราบสูงและพื้นที่ลดหลั่นเป็นขั้นเนินเขา ทะเลสาบ ตลอดจนที่ราบโล่งกว้างใหญ่ ทางตอนเหนือเป็นแนวชายฝั่งทะเลเต็มไปด้วยเกาะแก่ง ทะเลสาบ ท้องทุ่งที่มีพุ่มไม้ปกคลุม เนินทราย และบริเวณปากแม่น้ำที่สวยงาม ส่วนทางตอนใต้แถบที่ราบสูงชวาเบียน บาวาเรียนเต็มไปด้วยเนินเขา และทะเลสาบขนาดใหญ่ มีบริเวณครอบคลุมถึงเทือกเขาแอลป์ในส่วนของเยอรมัน
ลักษณะอากาศของเยอรมันค่อนข้างหนาวเย็น มี 4 ฤดูกาล คือ
ฤดูร้อน(มิถุนายน-สิงหาคม) อุณหภูมิเฉลี่ย 18-20 องศาเซลเซียส แต่อาจจะสูงขึ้นถึง 30 องศาหรือสูงกว่า
ฤดูใบไม้ร่วง(กันยายน-พฤศจิกายน) อากาศจะเย็นลงและมีฝน ใบไม้จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง
ฤดูหนาว(ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อุณหภูมิ จะอยู่ระหว่าง 5 ถึง ลบ 5 องศาเซลเซียส โดยจะมีหิมะตกบ้าง
ฤดูใบไม้ผลิ(มีนาคม-พฤษภาคม) อากาศจะอุ่นขึ้น ดอกไม้เริ่มบานและต้นไม้จะแตกใบอ่อน
การแบ่งเวลาของเยอรมันเป็นแบบยุโรปตอนกลาง ซึ่งเวลาจะช้ากว่าประเทศไทย 6 ชั่วโมง
เยอรมนันมีประชากร ประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 รองจากรัสเซีย ในจำนวนนี้ 73 ล้านคนเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานอพยพมาจากตุรกี ยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มเข้ามาตั้งแต่ช่วงหลัง ค.ศ.1960 ซึ่งนับมาถึงปัจจุบันก็เป็นรุ่นที่ 2 และ 3 แล้ว
ชาวเยอรมันสืบเชื้อสายมาจากเผ่าพันธุ์เยอรมันดั้งเดิมหลายเผ่า เช่น เผ่าซัคเซน และบาวาเรียน ซึ่งปัจจุบันเราจะไม่เห็นความแตกต่างนี้แล้ว แต่ยังมีคนเยอรมันบางกลุ่มที่ยังรักษาขนบธรรมเนียม และพูดภาษาเผ่าดั้งเดิมของตน โดยใช้เป็นภาษาถิ่นต่าง ๆ กันไป การหลั่งไหลเข้ามาของชาวต่างชาติก่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมใน เยอรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเมืองใหญ่ ๆ
เยอรมันเป็นสังคมเปิด กล่าวคือ ยอมรับผู้คนซึ่งอพยพเข้ามาหาที่หลบภัยและผู้อพยพหนีสงคราม การให้มีการเปิดเสรีสำหรับผู้ใช้แรงงาน การเป็นกลุ่มผู้นำต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการประกอบอาชีพและเลือกถิ่นที่อยู่ ภายในสหภาพยุโรป
ชาวเยอรมันกว่า 55 ล้านคนนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่าง ๆ โดยนิกายโปรแตสแตนท์มีผู้นับถือประมาณ 27.6 ล้านคน นิกายโรมันคาทอลิก 27.5 ล้านคน เยอรมันไม่มีศาสนาประจำชาติ การมีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน ทำให้มีชุมชนที่นับถือศาสนาอื่นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาอิสลาม ซึ่งมีผู้นับถือศาสนาอิสลามในเยอรมัน ประมาณ 2.6 ล้านคน จาก 41 ชาติทั่วโลก นอกจากนั้นก็มีผู้นับถือศาสนายิว ฮินดู และพุทธ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อระบอบเผด็จการนาซีล่มสลาย มีการแบ่งเยอรมันออกเป็น 2 ประเทศในปี ค.ศ.1949 คือ เยอรมันตะวันตก และเยอรมันตะวันออก เยอรมันตะวันตกมีรัฐธรรมนูลที่เป็นเสรีประชาธิปไตย ประกอบด้วยประธานาธิบดีสหพันธ์(President) มีรัฐสภาซึ่งแบ่งเป็นสภาสูง(Bunderstag)
และสภาล่าง(Bundersrat) หัวหน้ารัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี(Chancellor) สิ่งที่น่าภาคภูมิใจในรัฐธรรมนูลเยอรมันก็คือ การระบุความสำคัญของสิทธิพื้นฐาน คนเยอรมันนับถือในเกียรติของความเป็นมนุษย์ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเยอรมันไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดก็สามารถเรียกร้องสิทธิพื้น ฐานตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในทรัพย์สิน และเสรีภาพทางหนังสือพิมพ์ การเผยแพร่ข่าวของสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ จะทำได้โดยไม่มีการเซ็นเซอร์จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เยอรมันเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรป และการออกเงินตราของสหภาพยุโรป และเป็นสมาชิกขององค์กรนาโต้(NATO) ในปี ค.ศ.1990 เยอรมันตะวันออกซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน และปกครองแบบสังคมนิยมได้รวมประเทศเข้ากับเยอรมันตะวันตก กลายเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันในปัจจุบัน
การปกครอง
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ประกอบด้วย 16 รัฐที่สำคัญก็เช่น บาเดน-เวอร์เทมแบร์ก บาวาเรีย เบอร์ลิน บรันเดนบวร์ก เบรเมน ฮัมบวร์ก เฮสเซน นีเดอร์ซัคเซน เมคเคลนบวร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น นอร์ตไรน์-เวสท์ฟาเลน ไรน์ลันฟัลส์ ซาร์ลันด์ ซัคเซน ซัคเซน-อันฮัลท์ เชเลสวิก โฮลชไตน์ และเธือริงเงน แต่ละรัฐมีรัฐธรรมนูณเป็นของตนเองโดยสภาผู้แทนแห่งรัฐมาจากการได้รับเลือก ตั้งของสมาชิกพรรคต่าง ๆ ในรัฐนั้น ๆ และสามารถออกกฎหมายใช้เองภายในรัฐได้ เช่น ระบบการศึกษารวมถึงระดับอุดมศึกษาอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของแต่ละรัฐ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
เยอรมันเป็นชาติอุตสาหกรรมและมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ โดยมีการผลิตรวมเป็นอันดับสามของ
โลก และมีการค้าขายกับชาติต่าง ๆ มากเป็นอันดับสอง เยอรมมันมีระบบเศรษฐกิจและการค้าแบบเสรีนิยม แต่ขณะเดียวกันรัฐจะเข้ามาดูแลสวัสดิการสังคมด้านต่าง ๆ เช่น การประกันสุขภาพ สวัสดิการการว่างงาน และบำนาญผู้สูงอายุ แม้ว่าเยอรมันจะมีความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านIT เพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาการว่างงานก็ยังมีอยู่
เยอรมันเป็นถิ่นกำเนิดของบริษัทมากมายที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก เช่น ไดมเลอร์ไครัสเลอร์,BMW,ซีเมนส์,ไบเออร์,BASF และทิสเซน อุตสาหกรรมที่สำคัญก็คือ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร เครื่องยนต์ และยานยนต์ รัฐจะถือนโยบายสำคัญเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยรวม การให้บริการสาธารณอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐ ระบบที่ดีเยี่ยมในด้านการขนส่งสาธารณะ ความก้าวหน้าด้านโทรคมนาคมสื่อสารและการไปรษณีย์ เป็นสิ่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีในเยอรมัน
เมืองที่น่ารู้จัก
คนเยอรมัน 26 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรอาศัยอยู่ใน 86 เมืองใหญ่ ๆ ซึ่งมีประชากรกว่า 100,000 คนขึ้นไป ศูนย์กลางในทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมจึงไม่ได้จำกัดอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงแสดงคอนเสิร์ต พิพิธภัณฑ์ สถาบันศิลปะ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ศูนย์การค้าจะมีหลากหลายกระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ และแต่ละเมืองจะมีลักษณะเฉพาะของตน
1.กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 เป็นเมืองใหญ่สุด มีประชากร 3.5 ล้านคน เป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรม มีโรงละคร โรงแสดงคอนเสิร์ต วงดนตรีขนาดใหญ่ที่เรียกว่าวงออเคสตร้า พิพิธภัณฑ์ และเวทีแสดงศิลปะและดนตรีที่มีชื่อเสียง มีสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 11 แห่ง วิทยาลัยศิลปะและดนตรีอีก 6 แห่ง นับเป็นเมืองที่มีสถาบันอุดมศึกษามากที่สุดในเยอรมัน
2.ฮัมบวร์ก เป็นเมืองท่าเรือสำคัญ มีประชากร 1.7 ล้านคน 15 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเป็นชาวต่างชาติ เมืองนี้จึงมีบรรยากาศของความเป็นสากล นอกจากนี้ยังเป็นเมืองศูนย์กลางการสื่อสารมวลชน ผลิตหนังสือพิมพ์และนิตยสาร 17 ใน 24 ฉบับของเยอรมันที่มียอดจำหน่ายกว่า 1 ล้านฉบับ มีมหาวิทยาลัย 3 แห่ง และสถาบันการศึกษาระดับสูงอีกหลายสถาบัน
3.มิวนิค เมืองมิวนิคเป็นเมืองหลวงของรัฐบาวาเรีย มีประชากร ประมาณ 1.3 ล้านคน เป็นเมืองที่มีหอศิลปะ สวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง งานมหกรรมใหญ่ประจำปีที่ทั่วโลกรู้จักคือ Oktoberfest เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทที่มีชื่อเสียง เช่น BMW และ ซีเมนส์ บริษัทที่ผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง และสถาบันวิจัยอีกหลายแห่ง มีมหาวิทยาลัย 3 แห่ง และสถาบันการศึกษาระดับสูงอีก 8 แห่ง
4.แฟรงค์เฟิร์ต ไมน์ ประตูสู่ยุโรป เป็นศูนย์กลางท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมัน มีประชากร 650,000 คน เป็นแหล่งการเงินนานาชาติและตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารกลางของยุโรป สำนักงานใหญ่ของธนาคารหลายแห่งอยู่ที่เมืองนี้ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของหอสมุดแห่งชาติ และงานแสดงหนังสือนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก
5.โคโลญจ์ เมืองนี้ประกอบด้วยโบสถ์สวยงามมากมาย มีประชากรประมาณ 1,000,000 คน เป็นเมืองเก่าแก่กว่า 2000 ปี และยังเป็นศูนย์กลางศิลปะ ดนตรี ร่วมสมัย มหาวิทยาลัยโคโลญจ์ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1388 ปัจจุบันมีนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาระดับสูงอื่น ๆ อยู่เกือบแสนคน
6.ไลป์ซิก(Leipsig) มีประชากรประมาณ 470,000 คน เคยเป็นเมืองสำคัญสำหรับจัดงานแสดงสินค้ามาหลายร้อยปีแล้ว เมื่อมีการรวมประเทศเมืองนี้จึงกลับมามีบทบาทสำคัญทางการค้ากับทั่วโลกมาก ขึ้น มหาวิทยาลัยของเมืองนี้ก่อตั้งมากว่า 600 ปี และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง
7.บอนน์(Bonn) มีประชากร ประมาณ 300,000 คน เคยเป็นเมืองหลวงของเยอรมันตะวันตก แม้ว่าหลังการรวมประเทศเมื่อปี 1990 เบอร์ลินจะกลายเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่สถานที่ราชการหลายแห่งยังอยู่ที่เมืองนี้ รวมทั้งองค์กรและสถาบันต่าง ๆ เช่น องค์กรแลกเปลี่ยนทางวิชาการ(German Academic Exchange Service) และสมาคมการวิจัยของเยอรมัน(DFG) มหาวิทยาลัยของเมืองนี้มีนักศึกษา ประมาณ 40,000 คน
เมืองที่น่าสนใจอื่น ๆ มีอีกหลายเมือง เช่น ฮันโนเวอร์(Hannover) ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการแสดงสินค้า อุตสาหกรรม สตุ๊ทการ์ท(Stuttgart) ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเมืองไวมาร์(Weimar) ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
ระบบการศึกษา
ในปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนนักศึกษาทั้งหมด ประมาณ 12.6 ล้านคน ที่ประเทศมีครูอาจารย์ทั้งหมด ประมาณ 789,000 คน ตามโรงเรียนสถานศึกษากว่า 52,000 แห่งในเยอรมัน
การศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 6-18 ปี รวมการศึกษาภาคบังคับทั้งหมด 12 ปี ซึ่งนักเรียนจำเป็นต้องเรียนหลักสูตรภาคบังคับแบบเต็มเวลานี้อย่างน้อย 9 ปี(ในบางรัฐ 10 ปี) หลังจากนั้น นักเรียนสามารถเลือกเรียนหลักสูตรสายอาชีพ หรือฝึกงานซึ่งเป็นการเรียนแบบไม่เต็มเวลาได้ โรงเรียนเอกชนในเยอรมันมีไม่กี่แห่งที่ดำเนินการโดยนักสอนศาสนา
โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนรัฐบาล เรียนฟรีไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน หนังสือและตำราเรียนมักมีให้นักเรียนยืมไม่ต้องซื้อ แต่ถ้าจำเป็นต้องให้เป็นของส่วนตัวก็จะให้ผู้ปกครองบริจาคเงินตามกำลัง ทรัพย์ที่มี เมื่อนักเรียนอายุ 6 ปี จะเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นเวลา 4 ปี หลังจากจบประถมศึกษาแล้วจึงศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภทด้วยกัน
Secondary General School ( Hauptschule)
เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ให้การศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป วิชาที่สอนได้แก่ ภาษาเยอรมัน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สังคมวิทยา ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และวิชาแนะนำวิชาชีพ เวลาเรียน 6 ปี หลังจบนักเรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตรเพื่อเป็นประตูสู่การศึกษาสายวิชาชีพ
Intermediate School (Realschule)
เป็นโรงเรียนที่อยู่ระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ให้การศึกษาวิชาพื้นฐาน ทั่วไป(Secondary General School) กับโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เน้นวิชาการ(Grammar School) หลักสูตรส่วนใหญ่จะเน้นวิชาพื้นฐานทั่วไป หลังจบหลักสูตร 6 ปีแล้ว จะได้ประกาศนียบัตรเพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น โรงเรียนอาชีวะที่ต้องเรียนเต็มเวลา ประมาณ 40% ของผู้จบโรงเรียนมัธยมจะได้ประกาศนียบัตรแบบนี้
Grammar School (Gymnasium)
เป็นการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 9 ปี เป็นการเรียนการสอนที่เน้นวิชาการ และเมื่อเรียนในระดับ เกรด 11-13 วิธีการเรียนจะแบ่งเป็นการเลือกกลุ่มวิชา (Course) ที่ถนัดเพื่อเน้นบางสาขาวิชาโดยเฉพาะเพื่อเตรียมตัวเข้าเรียนมหาวิทยาลัย หลังจบเกรด 13 แล้ว
Comprehensive School (Gesamtschule)
เป็นการผสมผสานการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมทั้ง 3 ประเภทเข้าด้วยกันภายใต้การบริหารหนึ่งเดียว นักเรียนเริ่มเรียนตั้งแต่เกรด 5 ถึงเกรด 10 แล้วจะเริ่มเรียนวิชาเฉพาะทางในระดับเกรด 7 บางกลุ่มวิชาจะมีการแบ่งการเรียนออกเป็นกว่า 11 ระดับแล้วแต่ความยากง่าย
ข้อมูลทั่วๆไปเกี่ยวกับการศึกษาระดับสูง
วิทยาศาสตร์ การวิจัยค้นคว้า และการศึกษาในเยอรมันมีการสืบทอดต่อเนื่องกันมายาวนาน สถานศึกษาหลายแห่งในเยอรมันมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่าหลายศตวรรษ มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในเยอรมันอยู่ที่เมืองไฮเดนแบร์ก (Heidelberg) ก่อตั้งขึ้นในปี คศ.1386 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยเยอรมันเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ หลังสงครามโลกครั้งที่สองเยอรมันหันมาพัฒนาการศึกษาและการวิจัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรวมประเทศ มีมหาวิทยาลัยเกือบ 120 แห่ง และสถาบันเทียบเท่ามหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเน้นภาคปฏิบัติ( Fachhochschule) มหาวิทยาลัยศิลปะการดนตรีและภาพยนต์ เป็นต้น
สถาบันการศึกษาระดับสูงส่วนใหญ่เป็นของรัฐบาล มีไม่กี่แห่งที่ดำเนินการโดยนักสอนศาสนาคริสต์และกอนทุนเอกชนซึ่งเป็นสถาบัน ที่สอนด้านเทคโนโลยี กฎหมาย และบริหารธุรกิจ สถาบันการศึกษาของรัฐบาลเปิดรับนักศึกษาทุกเชื้อชาติเรียนฟรี ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนแม้กระทั่งนักศึกษานานาชาติก็ได้รับการยกเว้นค่า เล่าเรียนโดยรัฐบาลเยอรมันจากจำนวนนักศึกษาทั้งหมดเกือบ 2 ล้านคนในสถาบันอุกมศึกษาในเยอรมัน มีนักศึกษาประมาณ 140,000 คน ที่มาจากประเทศต่างๆทั่วโลก นักศึกษาต่างชาติประมาณ 9,400 กว่าคนกำลังศึกษาในระดับปริญญาสาขาต่างๆประมาณ 1,600 คน ศึกษาในหลักสูตรพิเศษเฉพาะทาง และในระดับปริญญาเอกมีประมาณ 2,700 คน สำหรับหลักสูตรนานาชาติที่นักศึกษาสนใจเรียนเป็นพิเศษมีมากกว่า 200 หลักสูตรที่สอนเป็นภาษาอังกฤษบางส่วนหรือสอนเป็นภาษาอังกฤษตลอดทั้งหลักสูตร และมีโครงสร้างตามระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย อังกฤษ-อเมริกา
ประเภทของสถาบันการศึกษา
มหาวิทยาลัย
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยก็คือ Wilhelm von Humboldt (มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1767-1835) เขาได้เน้นความสำคัญของหลักการศึกษาที่สำคัญคือ.”การแยกกันไม่ออกระหว่างการ สอนและการวิจัย“ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของเยอรมันก็ได้ยึดถือหลักการนี้ไว้ตลอด ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงไม่ใช่สถาบันเพื่อการศึกษาและฝึกอบรมเท่านั้นแต่ยัง เป็นสถาบันที่ทำการวิจัยค้นคว้า ทั้งในลักษณะที่เป็นการวิจัยประยุกต์และงานด้านวิชาการล้วนๆ มหาวิทยาลัยมอบปริญญาบัตรทั้งปริญญาโท(Diplom หรือ Magister Artium) และระดับปริญญาเอก และยังมีการรับรองความสามารถในการสอน(Habilitation)ของผู้ขอตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ซึ่งต้องผ่านการเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมาแล้วและมีการเสนอผลงานทาง วิชาการก่อนจะมีการสอบทักษะต่างๆอย่างเข้มงวดเพื่อแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ระยะหลังนี้ได้มีหลายมหาวิทยาลัยมอบปริญญาบัตรซึ่งเทียบเท่ากับปริญญาตรีและ โทแบบสากลทั่วๆ ไปซึ่งเปิดโอกาสให้จบการศึกษาปริญญาตรีและโทง่ายขึ้น แขนงวิชาที่มีสอนในมหาวิทยาลัยที่สำคัญคือ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ กฎหมาย เทววิทยา เศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์ ในแต่ละสาขาวิชายังแบ่งสาขาย่อยออกไปหลากหลายเพื่อเน้นความชำนาญเฉพาะทาง
มหาวิทยาลัยเทคนิค(Technical Universities)
เดิมนั้นสถาบันการศึกษาที่เรียกว่า มหาวิทยาลัยเทคนิคนั้นให้การศึกษาเฉพาะทางด้านวิศวกรรม แต่ต่อมาได้วิวัฒนาการแขนงวิชาที่สอนไปยังด้านอื่นๆ เช่น มนุษยศาสตร์ อย่างไรก็ดีก็ยังเน้นหนักที่ด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเน้นภาคปฏิบัติ
(University of Applied Science/Fachhochschule)
มหาวิทยาลัยประเภทนี้เป็นที่นิยมของนักศึกษาต่างชาติ เป็นสถาบันที่เน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้วิธีการเรียนการสอนจัดทำเพื่อ ใให้โอกาสจบปริญญาเร็วกว่ามหาวิทยาลัยแบบธรรมดาแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะ ด้อยคุณภาพ เพราะว่ามหาวิทยาลัยจะเน้นทั้งการสอนและการวิจัย การวิจัยจะเน้นการนำผลไปปฏิบัติได้ โดยจะมีการติดต่อร่วมมือกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมของเอกชนหลักสูตรการศึกษามี แบบที่มอบปริญญาของเยอรมันที่เรียกว่า Deiplom หรือปริญญาตรี และปริญญาโทแบบสากล
มหาวิทยาลัยศิลปะและการดนตรี
มหาวิทยาลัยศิลปะและการดนตรีมีจุดประสงค์เพื่อผลิตผู้จะออกไปยึดอาชีพศิลปะ และการดนตรี รวมทั้งเพื่อเป็นอาจารย์ใน 2 แขนงนี้ ระเบียบการรับนักศึกษาวิธีการศึกษาและตารางการสอน จะแตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยทั่วไป
สถาบันอื่นๆ ที่มีฐานะเทียบเท่ามหาวิทยาลัย
นอกจากสถาบันการศึกษาแบบต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เยอรมันมีสถาบันฝึกหัดครูในโรงเรียนระดับต่างๆ สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่งคือมหาวิทยาลัยที่ เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า Gesamthochschuled ซึ่งอาจจะแปลว่ามหาวิทยาลัยแบบผสม(Comprehensive University) ซึ่งเป็นสถาบันซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของมหาวิทยาลัย สถาบันฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยเน้นภาคปฏิบัติ และมหาวิทยาลัยศิลปะและการดนตรีโดยรวมเข้าเป็นสถาบันเดียวกัน ซึ่งมหาวิทยาลัยรวมแบบนี้จะทำให้นักศึกษามีโอกาสเปลี่ยนสาขาที่ศึกษาหรือ เปลี่ยนปริญญาที่จะจบได้ในระหว่างที่ศึกษาอยู่
นอกจากที่กล่าวมาแล้วนี้ เยอรมันยังมีสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเน้นให้การศึกษาเพียงบางสาขาเท่านั้น เช่น สถาบันแพทย์ศาสตร์และสัตว์แพทย์ที่ฮันโนเวอร์หรือมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ที่ เมืองลูเบค มหาวิทยาลัยพลศึกษาที่เมืองโคโลญจ์ มหาวิทยาลัยศิลปะและการสื่อสารที่เมืองมิวนิค มหาวิทยาลัยการภาพยนต์ทั้งที่เมืองมิวนิคเมืองพอทสดัม-บาเบลเบิกและที่เมือง ลุดวิกส์บวร์ก สถาบันการอบรมการบริหารแก่ข้าราชการจากประเทศกำลังพัฒนาเข้าศึกษาด้วย และยังมีมหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยที่ฝ่ายศาสนาตั้งขึ้นซึ่งมักจะเป็น มหาวิทยาลัยไม่ใหญ่นัก
คุณภาพของมหาวิทยาลัยและสาขาวิชา
คุณภาพของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเยอรมันไม่แตกต่างกันมากเหมือนบางประเทศ นักศึกษาจะยืมหนังสือจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่ตนไม่ได้เรียนได้โดยระบบ การยืมข้ามสถาบัน ความแตกต่างในคุณภาพของแต่ละคณะแต่ละสาขาภายในมหาวิทยาลัยอาจจะเกิดจากความ เชี่ยวชาญของอาจารย์ในคณะเองซึ่งไม่ได้เป็นผลจากมหาวิทยาลัยโดยรวม เพราะฉะนั้นภายในมหาวิทยาลัยเดียวกันอาจจะมีคณะที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว โลก และบางคณะที่ไม่มีชื่อเสียงมากนัก การจัดอันดับคุณภาพของแต่ละสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยต่างๆ อาจจะดูได้จาก Website 2 แห่งคือ
(ภาษาเยอรมัน)
(ภาษาเยอรมัน)
ปริญญาบัตร
ปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยในเยอรมันในปัจจุบันมีดังนี้
(1) ปริญญาโท หรือ Master of Arts
สำหรับแขนงศิลปะและมนุษยศาสตร์
(2) ปริญญาโท หรือ Diplom
สำหรับสาขาวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ วิศวกรรมศาสตร์ และแขนงวิชาอื่นๆที่สอนใน มหาวิทยาลัยเน้นภคปฏิบัติ
(3) ปริญญาโทของรัฐ หรือ State Exam
สำหรับสาขาคุรุศาสตร์ แพทยศาสตร์ กฎหมาย และเภสัชกรรมศาสตร์
(4) ปริญญาเอก (Doctorate)
สำหรับ 3 แบบแรกคือ Master of Arts, Diplom และ State Exam นั้นถือได้ว่ามีระดับที่เท่ากัน เพราะฉะนั้นระบบปริญญาบัตรของเยอรมันจึงต่างจากระบบที่ใช้เรียกปริญญา ตรี โท และ เอก ทั่วไปเรียกว่าเป็นแบบเยอรมันแท้ๆ ส่วน State Examของเยอรมันที่ใช้หลักสูตรนานาชาติที่เรียกว่า lnternational Degree Program นั้นจะมอบปริญญาตรี และ โท เหมือนกับในประเทศอื่นๆ
คุณสมบัติของผู้สมัครและกระบวนการในการรับสมัคร
ประกาศนียบัตรการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของประเทศไทย( ม.6 หรือ ปวช.) ยังไม่เทียบเท่ากับของเยอรมันสำหรับการเข้าเรียนต่อในระดับ State Examผู้สมัครจึงต้องสอบประเมินความรู้(Assessmenttest) ซึ่งสอบเป็นภาษาเยอรมันก่อน ผู้จะเข้าสอบอาจจะสมัครเข้าเรียนเพื่อเตรียมตัวสอบประเมินความรู้ในสถาบัน ที่เรียกว่า Studienkolleg ได้แต่จำเป็นต้องมีพื้นความรู้ภาษาเยอรมันก่อนสมัครเข้าเรียนด้วย ส่วนผู้สมัครที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแบบอื่นๆ จะต้องมีการพิจารณาเป็นรายบุคคลและขึ้นกับ มหาวิทยาลัยที่ตนสมัคร
สำหรับผู้จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยของไทยไม่จำเป็นต้องสอบประเมินความรู้ ทางมหาวิทยาลัยหรือคณะที่จะเข้าศึกษาจะมีคณะกรรมการเพื่อเทียบวิชาต่างๆ ที่เรียนมาแล้วกับวิชาที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยเยอรมันวิชาใดที่เทียบกันได้ ก็จะได้รับการเทียบเครดิตให้ บางแห่งจะเทียบปปริญญาตรีของไทยเท่ากับ 2 ปีของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของเยอรมันหรือที่เรียกว่า Prs Diplom สำหรับนักศึกษาที่จะเข้าเรียนหลักสูตรนานาชาติ จะสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทได้เลย
โดยปกติแล้วนักเรียนไทยที่ต้องการสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในเยอรมันจะ สมัครได้ที่สำนักงานนักศึกษาต่างชาติ(Foreign Student Office) ของแต่ละมหาวิทยาลัย นักเรียนที่มีปัญหาต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการรับสมัครและการพิจารณา รับรองความรู้ สามารถสอบถามได้โดยตรง ในบางสาขาวิชาซึ่งจำนวนผู้สมัครมีมากเกินกว่าทางมหาวิทยาลัยจะรับได้ทั้งหมด จึงต้องผ่านกระบวนการคัดเลือก เช่น สาขาแพทยศาสตร์ การสมัครจะต้องสมัครผ่านศูนย์รับสมัครส่วนกลางของประเทศ(Central Admission Office)
คุณสมบัติทางภาษา
ภาษาที่ใช้สอนคือ ภาษาเยอรมัน ผู้จะเข้าศึกษาจะต้องผ่านการทดสอบความรู้ภาษาเยอรมันซึ่งเรียกว่า DSH ซึ่งทางมหาวิทยาลัยในเยอรมันเป็นผู้จัดสอบ หรือสามารถขอสอบ TestDaF (เทียบเท่ากับ TOEFL ของภาษาอังกฤษ) ในประเทศบ้านเกิดได้
ข้อยกเว้นของผู้ที่ไม่ต้องสอบ DSH มี 3 กลุ่ม คือ ผู้ที่จบโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศเยอรมัน ผู้ที่จบโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระบบเยอรมันหรือเทียบเท่าในต่างประเทศและ ผู้ที่มีประกาศนียบัตรระดับสูงแสดงความรู้ภาษาเยอรมัน(ZOP) จากสถาบันเกอเธ่(Goethe lnstitut)
มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะเปิดอบรมการเตรียมตัวสอบ DSH แต่ผู้จะเข้าโปรแกรมนี้ได้จะต้องมีพื้นฐานความรู้ภาษาเยอรมันมาก่อนแล้ว ซึ่งจะต้องมีพื้นฐานมากน้อยเพียงใดนั้นสอบถามได้ที่สำนักงานนักศึกษาต่าง ชาติของแต่ละมหาวิทยาลัย นักเรียนไทยที่สนใจจะไปเรียนเยอรมันควรจะเรียนภาษาเยอรมันจากสถาบันในประเทศ ไทยเสียก่อน เช่น สถาบันเกอเธ่ รายละเอียดดูได้จาก เว็บไซต์
www.goethe.de/bangkok นักเรียนจะสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประกาศนียบัตรที่เทียบเท่า DSH หรือเวลาและสถานที่สอบ TestDaF ในประเทศไทยจากสถาบันนี้
หลักสูตรนานาชาติ
(lnternational Degree Program)
เป็นหลักสูตรที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรนี้จะต้องรู้ภาษาอังกฤษอย่างดี โดยจะต้องผ่านการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ เช่น ผลคะแนน TOEFL 550 สำหรับการสอบข้อเขียนและ 213 สำหรับการสอบโดยการใช้คอมพิวเตอร์ หรืออาจจะสอบ IELTS ที่ Band 6 ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรนานาชาติส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน แต่ในบางสาขาวิชาอาจกำหนดให้มีด้วย สถาบันมี่เปิดหลักสูตรนานาชาติจะมีการสอนภาษาเยอรมันเสริมด้วย เพื่อนักศึกษาทุกคนจะได้เพิ่มพูนความรู้ภาษาเยอรมันและเรียนรู้วัฒนธรรมของ เยอรมันควบคู่ไปกับการศึกษา
การเปิดภาคเรียน
โดยทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยในเยอรมันแบ่งช่วงเวลาของการศึกษาออกเป็น 2 ภาคเรียน คือ
ภาคเรียนฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนมีนาคม
ภาคเรียนฤดูร้อน ระหว่างเดือนเมษายน-เดือนกันยายน
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าเล่าเรียน
เนื่องจากสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่สนับสนุนโดยรัฐ สถาบันการศึกษาจึงไม่เก็บค่าเล่าเรียนรวมทั้งจากนักศึกษาต่างชาติด้วย แต่อาจมีบางสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีการเรียกเก็บค่าเรียนซึ่งจะมี ตั้งแต่ภาคเรียนละ 10,000 บาท ไปจนถึง 180,000 บาท สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนค่าเล่าเรียนอาจจะสูงถึง 300,000 บาท ต่อภาคเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับค่าเล่าเรียนนั้น มหาวิทยาลัยเยอรมันเก็บค่าธรรมเนียม (Administrative Fee) ซึ่งเป็นจำนวนไม่มากนักและอาจจะรวมค่าตั๋วรถโดยสารประจำทางด้วย ค่าธรรมเนียมนี้จะประมาณ 1,000-4,000 บาท ต่อภาคเรียน ซึ่งอาจจะสอบถามได้จากมหาวิทยาลัยโดยตรง
2.ค่าครองชีพ
ค่าครองชีพของนักศึกษาต่างชาติในเยอรมันจะเป็นคนละประมาณ 22,000-25,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งจะรวมค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าประกันสุขภาพ ค่าหนังสือและค่าพักผ่อนหย่อนใจ นักศึกษาทุกคนต้องมีประกันสุขภาพซึ่งมีอัตราพิเศษสำหรับนักศึกษาต่างชาติ สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 30 ปี จะอยู่ในโครงการประกันแบบอื่น ส่วนผู้ที่มีอาการป่วยโรคเรื้อรังบางอย่างก็จะต้องอยู่ในโครงการประกัน สุขภาพที่พิเศษแตกต่างออกไป
ตัวอย่างค่าใช้จ่าย
ค่าเช่าหอพัก 175 ยูโรต่อเดือน
ค่าเช่าอพาร์ทเมนต์ห้องเดี่ยว 230-300 ยูโรต่อเดือน
ค่าประกันสุขภาพ 60 ยูโรต่อเดือน
(ผู้มีอายุต่ำกว่า 30 ปี)
ค่าอาหารกลางวัน 3.00 ยูโรต่อเมื้อ
เบียร์ 1.40 ยูโรต่อขวด
(ในร้านอาหาร- 0.20 ลิตร)
นม 0.60 ยูโรต่อลิตร
ค่าเข้าชมภาพยนต์ 7.00 ยูโร
เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อคน
เดือนละ 600-750 ยูโร
ปีละ 7,200-9,000 ยูโร
ทุนการศึกษา
นักศึกษาทุกคนที่เรียนในสถาบันของรัฐก็เหมือนกับว่าได้รับทุนการศึกษาส่วน หนึ่งนั้นคือได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียน ส่วนสถานศึกษาที่เก็บค่าเล่าเรียนนั้นก็มักจะมีทุนการศึกษาให้จำนวนหนึ่ง นอกจากการไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนแล้ว นักศึกษาต่างชาติเฉพาะที่ศึกษาระดับปริญญาเอก จะมีโอกาสได้รับทุนการศึกษา ซึ่งสำนักงานที่จัดการเรื่องทุนนี้คือ องค์กรแลกเปลี่ยนทางวิชาการ(German Academic Exchange Service หรือ DAAD ) ผู้สนใจทุนการศึกษาอาจจะดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์
www.daad..de
การทำงานพิเศษ
นักศึกษาอาจจะเจียดเวลาทำงานหาเงินเพิ่ม แต่ต้องระวังที่จะไม่ใช้เวลาทำงานมากไปเพราะจะเสียการเรียน สำหรับนักศึกษาจากกลุ่มประเทศนอกสหภาพยุโรปรวมทั้งนักศึกษาไทยจะได้รับ อนุญาตให้ทำงานเพียงปีละ 3 เดือนระหว่างปิดภาคเรียน แต่การหางานดีๆ ทำได้มักเป็นเรื่องยาก ฉะนั้นนักศึกษาควรเตรียมเงินมาให้พอกับค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องทำงาน
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลเพิ่มเติมจะดูได้ทางอินเตอร์เนต ผ่านเว็บไซต์ 3 แห่งคือ
1.http://www.higher-education.compass.de
ซึ่งจะมีฐานข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษของสถาบันระดับอุดมศึกษาของรัฐหรือที่ รัฐรับรอง มีรายชื่อของสำนักงานนักศึกษาต่างชาติ (Foreign Student Office)ที่จะติดต่อได้อยู่ด้วย
2.http;//www.daad.de
เป็นเว็บไซต์ของ German Academic Exchange Service ( DAAD )มีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่และการศึกษาในประเทศเยอรมัน ฐานะข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษา และรายละเอียดทั้งหมดของหลักสูตรนานาชาติเป็นต้น
3.http;//www.campus-germany..de
มีข้อมูลพื้นฐานสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่สนใใจจะไปเรียนเยอรมันนักศึกษาจะพบว่าการไปศึกษาต่อใในเยอรมันมีข้อดีอย่างไรบ้าง
สำหรับในกรุงเทพฯ ท่านสามารถติดต่อศูนย์บริการข้อมูลการศึกษา (Study lnformation Centre หรือ SIC ) ซึ่งเป็นหน่วยงานของ German Academic Exchange Service ( DAAD ) ได้ที่
สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ
18/1 ซอยเกอเธ่
สาทร 1 กรุงเทพฯ 10120
โทร:+66 2 2 86 48 45
E-mail:info@daad.of.th
Wedsite:http://www..daad.of.th
DAAD Study lnformation Centre Bangkok
DAAD Study lnformation Centre
C/o Goethe lnstitut Bangkok
18/1 Soi Goethe ,Sathorn 1
Bangkok 10120 ,Thailand