เปิดรับทุนจุฬาฯ-ชนบท ปี 51

มกราคม 6, 2010 by: 0
Visit 2,559 views

070827030244_prakiewจุฬาฯ-ชนบท ปี 2551 เปิดรับสมัครถึงสิ้นเดือนกันยายน 2550 ปรับแนวข้อสอบให้ผู้สมัครจะต้องสมัครสอบ Basic-National Educational Test (B-NET) ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จัดสอบ

เปิดรับทุนจุฬาฯ-ชนบท ปี 51

ปรับแนวการสอบใช้ B-Net, GAT

จุฬาฯ-ชนบท ปี 2551 เปิดรับสมัครถึงสิ้นเดือนกันยายน 2550 ปรับแนวข้อสอบให้ผู้สมัครจะต้องสมัครสอบ Basic-National Educational Test (B-NET) ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จัดสอบ และสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จะต้องสมัครสอบวิชาความถนัดทางวิศวกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดสอบ ซึ่งจะมีการสอบในเดือนตุลาคม 2550

โครงการจุฬาฯ-ชนบท ประจำปีการศึกษา 2551 ประกาศ รับนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยวิธีพิเศษ ตามโครงการรับนักเรียนจากชนบทเพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะต่าง ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับทุนอุดหนุนจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรปกติ (โครงการจุฬาฯ-ชนบท) ประจำปีการศึกษา 2551 ดังต่อไปนี้

1. คุณสมบัติผู้สมัคร

1.1 ผู้สมัครจะต้องมีสัญชาติไทย

1.2 ผู้สมัครจะต้องมีภูมิลำเนาและศึกษาอยู่ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของรัฐ หรือโรงเรียนที่คณะ

กรรมการบริหารหน่วยจุฬาฯ-ชนบทเห็นควร ในเขตจังหวัดตามที่กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีติดต่อกัน นับจนถึงวันสมัคร โดยกำหนดเขตพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการจุฬาฯ-ชนบทเป็นจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้

เขตภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง อุทัยธานี และพระนครศรีอยุธยา

เขตภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย

ตาก และอุตรดิตถ์

เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น สกลนคร หนองคาย เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์

หนองบัวลำภู นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครราชสีมา

ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ

เขตภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

และสระแก้ว

จังหวัดตรัง และจังหวัดน่าน (ซึ่งเป็นจังหวัดที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีชั้นสูง)

1.3 ผู้สมัครจะต้องกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2550

1.4 ผู้สมัครจะต้องมีผลการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และปีที่ 5 ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยจะต้อง

ได้คะแนนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มวิชา / กลุ่มสาระการเรียนรู้ สำหรับการเลือกสมัครเข้าศึกษาแต่ละคณะดังนี้

1.4.1 ผู้สมัครคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์

และสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 2.00 กลุ่มวิชาอื่น ๆ แต่ละกลุ่มวิชาไม่ต่ำกว่า 2.00

1.4.2 ผู้สมัครคณะวิศวกรรมศาสตร์ จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 3.00

วิชาฟิสิกส์ไม่ต่ำกว่า 3.00 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 2.00

และกลุ่มวิชาอื่น ๆ แต่ละกลุ่มวิชาไม่ต่ำกว่า 2.00

1.4.3 ผู้สมัครคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาอื่น ๆ แต่ละกลุ่มวิชาไม่ต่ำกว่า 2.00

1.4.4 ผู้สมัครคณะรัฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาภาษาไทยไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาสังคมศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75 ถ้าศึกษาเน้นหนัก

ด้านคำนวณจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือถ้าศึกษาเน้นหนักด้านภาษาจะ ต้องได้คะแนนกลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 2.75 และกลุ่มวิชาอื่น ๆ แต่ละกลุ่มวิชาไม่ต่ำกว่า 2.00 โดยให้นายทะเบียนโรงเรียนคำนวณผลคะแนนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มวิชาลงในใบสมัคร และใบแสดงผลการศึกษา / ปพ.1 ที่ ใช้เพื่อการสมัครและลงนามรับรอง เพื่อเป็นการยืนยันประกอบการสมัครด้วย กรณีที่โรงเรียนมีนักเรียนที่ฐานะครอบครัวยากจน แต่ขาดคุณสมบัติข้อนี้เพียงเล็กน้อยให้ติดต่อหน่วยจุฬาฯ-ชนบท

1.5 ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้ที่มีฐานะครอบครัวยากจน บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่สามารถสนับสนุน

ให้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ และขาดผู้อุปการะ

1.6 ผู้สมัครจะต้องมีความประพฤติดี และมีอุดมการณ์ที่จะทำงานในชนบทด้วยความเสียสละ

1.7 ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามประกาศของ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดย ผู้สมัครจะต้องไม่มีความผิดปกติที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและไม่อยู่ในเพศ บรรพชิต นักบวช นักพรต หรือมีข้อผูกมัดอยู่กับการรับทุนการศึกษาอื่น

2. คณะที่เปิดรับเข้าศึกษา จำนวน 12 คณะ โดยกำหนดให้เลือกสมัครได้เพียงหนึ่งคณะ ดังนี้

2.1 คณะสัตวแพทยศาสตร์ รับประมาณ 10 คน

2.2 คณะทันตแพทยศาสตร์ รับประมาณ 10 คน

2.3 คณะเภสัชศาสตร์ รับประมาณ 10 คน

2.4 คณะสหเวชศาสตร์ เปิดรับ 3 สาขาวิชาดังนี้ (ระบุสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาลงในใบสมัคร)

2.4.1 สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ รับประมาณ 15 คน

2.4.2 สาขาวิชากายภาพบำบัด รับประมาณ 6 คน

2.4.3 สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร รับประมาณ 3 คน

2.5 สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา รับประมาณ 10 คน (ระบุรูปแบบที่เลือกสอบ)

2.6 คณะวิศวกรรมศาสตร์ รับประมาณ 5 คน

2.7 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เปิดรับ 3 สาขาวิชาดังนี้ (ระบุสาขาที่จะเข้าศึกษาลงในใบสมัคร)

2.7.1 สาขาวิชาสถิติ รับประมาณ 2 คน

2.7.2 สาขาวิชาการบัญชี รับประมาณ 2 คน

2.7.3 สาขาวิชาบริหารธุรกิจ รับประมาณ 3 คน

2.8 คณะเศรษฐศาสตร์ รับประมาณ 10 คน

2.9 คณะรัฐศาสตร์ เปิดรับ 4 สาขาวิชาดังนี้ (ระบุสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาลงในใบสมัคร)

2.9.1 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ รับประมาณ 2 คน

2.9.2 สาขาวิชาการปกครอง รับประมาณ 2 คน

2.9.3 สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รับประมาณ 2 คน

2.9.4 สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รับประมาณ 2 คน

2.10 คณะนิติศาสตร์ รับประมาณ 4 คน

2.11 คณะนิเทศศาสตร์ รับประมาณ 4 คน

2.12 คณะอักษรศาสตร์ เปิดรับ 2 สาขาวิชาดังนี้ (ระบุสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาลงในใบสมัคร) 2.12.1 สาขาวิชาภูมิศาสตร์ รับประมาณ 3 คน

2.12.2 สาขาวิชาสารนิเทศศึกษา รับประมาณ 2 คน

จำนวนทุนการศึกษา 107 ทุน ทั้งนี้ อาจรับได้ไม่ครบตามจำนวน หากผู้สมัครมีคุณสมบัติ

ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามประกาศฯ

3. การรับสมัครและหลักฐานประกอบการสมัคร

3.1 ผู้สมัครสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์หน่วยจุฬาฯ-ชนบท www.rural.chula.ac.th หรือที่เว็บไซต์ www.admissions.chula.ac.th

ผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลใบสมัครให้ถูกต้องครบถ้วน และติดรูปถ่ายผู้สมัครตามที่กำหนดในใบสมัคร 1 ที่ บัตรประจำตัวผู้สมัคร 1 ที่ (รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 2 ใบ เป็นรูปหน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือน) และให้ศึกษารายละเอียดในคำแนะนำการสมัครโครงการจุฬาฯ-ชนบท

โดยหลักฐานประกอบการสมัคร ได้แก่ ใบแสดงผลการศึกษา / ปพ.1 ที่ โรงเรียนออกให้ผู้สมัครใช้เพื่อการสมัคร สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวนักเรียน หนังสือรับรองเงินเดือนบิดา/มารดา (กรณีที่มีรายได้ประจำ) และเอกสารอื่น ๆ พร้อมกับลงนามรับรอง

3.2 ผู้สมัครจะต้องส่งมอบใบสมัครพร้อมหลักฐานฯ ให้คณะกรรมการของโรงเรียนตรวจสอบ โดย

ใบสมัครที่ไม่ผ่านการตรวจสอบลงนามรับรองจากคณะกรรมการของโรงเรียนจะไม่ได้รับการพิจารณา

3.3 ขอให้โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกนักเรียนผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศข้อ 1 โดยให้แต่ละโรงเรียนส่งนักเรียนสมัครได้ไม่เกิน 10 คน ทั้งนี้

หน่วยจุฬาฯ-ชนบทสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับพิจารณาใบสมัครทั้งหมดหากโรงเรียนส่งมาเกินกว่าที่กำหนด

3.4 ขอให้โรงเรียนตรวจสอบใบสมัครและเอกสารให้ครบถ้วน และกรอกแบบสรุปการสมัคร

โครงการจุฬาฯ-ชนบท จัดส่งให้หน่วยจุฬาฯ-ชนบทให้เสร็จในครั้งเดียว ภายในวันที่ 30 กันยายน 2550

(โดยจะถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์วันดังกล่าวเป็นวันสุดท้ายของการสมัคร)

3.5 ผู้สมัครจะต้องสมัครสอบ Basic-National Educational Test (B-NET) ที่สถาบันทดสอบ

ทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จัดสอบ และสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จะต้องสมัครสอบวิชาความถนัดทางวิศวกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดสอบ ซึ่งจะมีการสอบในเดือนตุลาคม 2550 โดยผู้สมัครจะต้องสอบรายวิชาให้ถูกต้องครบถ้วนตรงกับคณะ/สาขาวิชาที่สมัครโครงการจุฬาฯ-ชนบทตามที่กำหนดและให้ระบุรายวิชาสอบลงในใบสมัครด้วย

การสมัครโครงการจุฬาฯ-ชนบทไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

โดยผู้สมัครโครงการฯนี้แล้วจะไม่สามารถสมัครแอดมิชชันส์ตรงอื่นของจุฬาฯได้อีก

กำหนดรายวิชาสอบที่ สทศ. / สกอ. จัดสอบสำหรับผู้สมัครโครงการจุฬาฯ-ชนบท

———————————————————————————————————————————

คณะ/สำนักวิชา รายวิชาสอบและเงื่อนไขที่แต่ละคณะกำหนด

———————————————————————————————————————————

สัตวแพทยศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

ทันตแพทยศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ความถนัดทั่วไป (GAT)

(โดยจะต้องได้คะแนนสอบแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ยกเว้นวิชาความถนัด GAT)

เภสัชศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ความถนัดทั่วไป (GAT)

สหเวชศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

(โดยจะต้องได้คะแนนสอบแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25)

วิทยาศาสตร์การกีฬา

- รูปแบบที่ 1 (วิทย์) ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

- รูปแบบที่ 2 (ศิลป์) ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์

วิศวกรรมศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ความถนัดทางวิศวฯ

พาณิชยศาสตร์ฯ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

(โดยจะต้องได้คะแนนสอบรวมทุกวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60)

เศรษฐศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์

(โดยจะต้องได้คะแนนสอบภาษาไทย สังคมศึกษา วิชาละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20

และคะแนนสอบภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิชาละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30)

รัฐศาสตร์

- รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ความถนัดทั่วไป (GAT)

- การปกครอง ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ความถนัดทั่วไป (GAT)

- สังคมวิทยาฯ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ความถนัดทั่วไป (GAT)

- ความสัมพันธ์ฯ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ความถนัดทั่วไป (GAT)

(โดยจะต้องได้คะแนนสอบแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25)

นิติศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ความถนัดทั่วไป (GAT)

(โดยจะต้องได้คะแนนสอบภาษาไทย สังคมศึกษา วิชาละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

และคะแนนสอบภาษาอังกฤษ ความถนัดทั่วไป (GAT) วิชาละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50)

นิเทศศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ความถนัดทั่วไป (GAT)

อักษรศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์

หมายเหตุ ผู้สมัครสามารถศึกษารายละเอียดการสมัครสอบ B-NET ได้ที่เว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th

และรายละเอียดการสมัครสอบวิชาความถนัดทางวิศวกรรม ได้ที่เว็บไซต์ สกอ. www. cuas.or.th

(GAT ย่อมาจากคำว่า General Aptitude Test คือ แบบสอบวัดความถนัดทั่วไป โดย สทศ.จะ

เริ่มนำแบบทดสอบ GAT นำร่องใช้ที่มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นแห่งแรก โดยใช้ในการสอบคัดเลือกนักศึกษาระบบรับตรง ซึ่งจะเริ่มในเดือนตุลาคม)

4. การคัดเลือกเข้าศึกษา

4.1 คณะกรรมการบริหารหน่วยจุฬาฯ-ชนบทมีสิทธิ์ขาดในการพิจารณาการรับสมัครและคัดเลือก

ผู้สมัครเข้าศึกษาโครงการจุฬาฯ-ชนบท

4.2 คณะกรรมการบริหารหน่วยจุฬาฯ-ชนบทจะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามประกาศ

ซึ่งผู้มีสิทธิ์สมัครจะได้รับบัตรประจำตัวผู้สมัคร ส่วนผู้ไม่มีสิทธิ์สมัครจะแจ้งให้ทราบว่าขาดคุณสมบัติข้อใด โดยหน่วยจุฬาฯ-ชนบทจะจัดส่งบัตรประจำตัวผู้สมัครและเอกสารต่าง ๆ โดยผ่านโรงเรียนผู้สมัคร

4.3 คณะกรรมการบริหารหน่วยจุฬาฯ-ชนบทจะถือผลคะแนนสอบที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดสอบ เป็นส่วนหนึ่งของการ

คัดเลือกเข้าศึกษา โดยหน่วยจุฬาฯ-ชนบทจะประสานงานขอผลคะแนนสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4.4 คณะกรรมการบริหารหน่วยจุฬาฯ-ชนบทจะพิจารณาผลคะแนนสอบ ข้อมูลใบสมัคร หลักฐาน

เอกสารประกอบการสมัคร จำนวนที่จะรับ และจำนวนทุนการศึกษา สำหรับการคัดเลือกผู้ที่เห็นควรให้

มีการตรวจสภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้สมัคร

4.5 การตรวจสภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้สมัคร คณะกรรมการ

บริหารหน่วยจุฬาฯ-ชนบท จะดำเนินการตรวจสภาพข้อเท็จจริงฯ โดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สามารถกระทำได้ตลอดเวลา ทั้งก่อนและหลังการรับเข้าศึกษาแล้ว หากพบว่ามีการปกปิดข้อมูลใด ๆ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสิทธิ์ยกเลิกการให้ทุน หรือให้พ้นสภาพการเป็นนิสิตได้

4.6 การสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะประกาศเรียกตัวผู้ที่เห็นควร

ให้มารายงานตัวเพื่อเข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย ในระหว่างวันที่ 16 – 18 มกราคม 2551 โดยผู้ที่

ไม่มารายงานตัวจะถือว่าสละสิทธิ์ ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ฯได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยจุฬาฯ-ชนบท www.rural.chula.ac.th

5. การสละสิทธิ์เข้าศึกษา

ผู้ที่ได้รับการเรียกตัวให้เข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายโครงการจุฬาฯ-ชนบท หากประสงค์จะ

สละสิทธิ์เข้าศึกษาโครงการจุฬาฯ-ชนบทจะต้องแจ้งสละสิทธิ์ก่อนการสอบสัมภาษณ์ฯให้แสดงเจตจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีจดหมายแจ้งสละสิทธิ์ให้หน่วยจุฬาฯ-ชนบททราบ และถ้าหากสละสิทธิ์หลังจากการสอบสัมภาษณ์ฯ คณะกรรมการบริหารหน่วยจุฬาฯ-ชนบท จะพิจารณาตัดสิทธิ์โรงเรียนที่ผู้สมัครศึกษาอยู่ มิให้ส่งรายชื่อนักเรียนสมัครโครงการจุฬาฯ-ชนบทปีการศึกษาต่อไปเป็นเวลา 1 ปี

6. ประกาศผลการคัดเลือกเข้าศึกษา

ประกาศผลการคัดเลือกโครงการจุฬาฯ-ชนบท ในวันที่ 25 มกราคม 2551 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก

โครงการจุฬาฯ-ชนบทจะต้องสละสิทธิ์เข้าศึกษาสถาบันอื่นและสละสิทธิ์การรับทุนการศึกษาอื่นด้วย

7. ทุนการศึกษาและเงื่อนไข

ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับให้ทุนการศึกษาประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

ทุนประเภท ก จะได้รับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้

1. ได้รับค่าอาหารและใช้จ่ายส่วนตัวประจำเดือน ๆ ละ 4,000 บาท ปีละ 10 เดือน

2. ได้รับค่าอุปกรณ์การศึกษา ภาคการศึกษาละ 1,500 บาท ปีละ 3,000 บาท

3. ได้รับค่าเครื่องแต่งกาย ภาคการศึกษาละ 1,000 บาท ปีละ 2,000 บาท

4. ได้รับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าหอพัก ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น

ทุนประเภท ข จะได้รับเช่นเดียวกับทุนประเภท ก ยกเว้นค่าอาหารและใช้จ่ายส่วนตัวฯ

การพิจารณาประเภทการรับทุนอุดหนุนการศึกษาให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหน่วยจุฬาฯ-ชนบท ตามเกณฑ์การพิจารณาของมหาวิทยาลัย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสิทธิ์ปรับสภาพการให้ทุน ยกเลิกการให้ทุน หรือให้พ้นสภาพการเป็นนิสิตได้ ถ้าผู้รับทุนไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ไม่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หรือมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นผู้รับทุนของมหาวิทยาลัย

8. การอบรมพิเศษ

ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าศึกษาจะต้องเข้ารับการอบรมพิเศษที่หน่วยจุฬาฯ-ชนบทจัดขึ้น ระหว่าง

วันที่ 17 – 28 มีนาคม 2551 ผู้ ไม่มาจะถือว่าสละสิทธิ์ โดยระหว่างการอบรมหากผู้รับทุนไม่ตั้งใจศึกษาอบรม ประพฤติตนที่ไม่เหมาะสม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถเพิกถอนสิทธิ์การเป็นผู้รับทุนได้

ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยได้รับทุนโครงการจุฬาฯ-ชนบทนี้ จะต้องทำสัญญาการรับทุนอุดหนุนการศึกษาโครงการจุฬาฯ-ชนบทกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องไปปฏิบัติงานในชนบท หรือที่อื่น ๆ หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำหนด

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ หน่วยจุฬาฯ-ชนบท โทร.0-2218-3245 โทรสาร 0-2218-3244 หรือ http://www.rural.chula.ac.th/Main/ 070827030244_prakiew


About Auther : bowing  (420 Posts)


Share this Story

Comments are closed.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น