เด็กไทยไอคิวต่ำกว่าพม่าและห้าล้านคนหายจากโรงเรียน

กันยายน 15, 2012 by: 0
Visit 2,517 views
บทความโดย : ลม เปลี่ยนทิศ (ไทยรัฐ)

ข้อมูลนี้เป็น ผลสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทยปี 2554 และ การกระจายระดับสติปัญญารายภาคปี 2555 ของ กรมสุขภาพจิต ซึ่งสำรวจจากเด็กนักเรียนระดับ ป.1-ม.3 ในโรงเรียนทุกสังกัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 72,780 คน เมื่อเดือนธันวาคม 2553-มกราคม 2554

 
มีผลออกมาว่า เด็กนักเรียนไทยมีไอคิวหรือสติปัญญาเฉลี่ยอยู่ที่ 98.59 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ต่ำกว่าค่ากลางตามมาตรฐานสากล  ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 100 และเมื่อเทียบสติปัญญาเด็กไทย กับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน แล้วพบว่า เด็กไทยมีสติปัญญาเฉลี่ยต่ำกว่าเด็กพม่า แต่ถือว่าดีขึ้น เพราะการสำรวจปี 2549 เด็กไทยมีสติปัญญาเท่ากับเด็กเขมร เท่านั้น
ยิ่งเศร้าใจหนักขึ้นไปอีก เมื่อ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาทางการวิชาการ สำนักงานส่งเสริมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) ออกมาเปิดเผยว่า ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีเด็กไทย 5,752,500 คนหายไปจากโรงเรียน  ทั้งๆที่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ บังคับให้รัฐต้องจัดการศึกษาภาคบังคับ ให้เด็กไทยอย่างทั่วถึงเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ชั้นอนุบาล
เด็กไทยกว่า 5.7 ล้านคนที่หายไปจากโรงเรียน  คิดตามจำนวนประชากรไทย 65 ล้านคน เป็นสถิติสูงเกือบ 10% ของคนไทยทั้งประเทศ ถ้าคิดเทียบกับจำนวนเด็กไทยในระบบการศึกษาด้วยกัน เปอร์เซ็นต์จะต้องเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า
เด็กไทยกว่า 5.7 ล้านคนที่หายไปจากโรงเรียน กลายเป็นผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา พวกเขาหายไปไหน ผลสำรวจแบ่งออกเป็น 13 กลุ่ม เช่น
1,700,000 คน ป่วยเป็น โรคออทิสติก
300,000 คน เป็น เด็กไร้สัญชาติ
250,000 คน เป็น ลูกของแรงงานต่างด้าว
160,000 คน เป็น เด็กที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร
100,000 คน เป็น แม่วัยใสที่ท้องมีลูกตั้งแต่เด็ก
88,730 คน เป็น เด็กกำพร้าที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง
50,000 คน เป็น เด็กที่ติดเชื้อเอดส์ไปจากพ่อแม่
50,000 คน เป็น เด็กที่ก่ออาชญากรรมถูกดำเนินคดี
30,000 คน เป็น เด็กเร่ร่อนไร้ที่อยู่อาศัย
25,000 คน เป็น เด็กที่ถูกบังคับให้ค้าประเวณี
10,000 คน ถูกบังคับใช้แรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี
10,000 คน เป็นเด็กติดยา
จากข้อมูลเก่าของ สภาการศึกษา ที่สำรวจเมื่อปี 2540–2551 พบว่า เด็กไทยหลุดจากระบบการศึกษาก่อนจบ ม.3 มี 20% หลุดก่อนจบ ม.6 อีก 30% เหลือสอบเข้ามหาวิทยาลัย 35% และมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย
—————————————————————————
ข้อมูล : ไทยรัฐ

About Auther : ต้นซุง Eduzones  (609 Posts)

International Education Columnist, Webmaster, Correspondent


Share this Story

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น