อุดมศึกษาอินโดนีเซียคอรัปชั่นกันแหลกลาญ
หน่วยงานเฝ้าระวังการรับสินบนในประเทศอินโดนีเซียแฉวงการการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาคอรัปชั่นระดับรุนแรง หากใช้สัณญานเตือนภัยก็อยู่ระดับสีแดงหรืออันตรายสูงสุด โดยในปี 2012 ที่ผ่านมา ทำสถิติมีคดีโกงกินเงินรัฐถึง 40 คดี ก่อให้เกิดการสูญเสียเงินงบประมาณของชาติ 139 พันล้านรูเปีย(US$14.4 million)
Indonesia Corruption Watch หรือ ICW ซึ่งเป็นกลุ่มไม่หวังผลกำไร ที่ทำหน้าที่ติดตามเรื่องคอรัปชั่นของชาติ เผยว่า การคอรัปชั่นเดี๋ยวนี้พบได้ในทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปถึงมหาวิทยาลัย และจากหน่วยงานการศึกษาท้องถิ่นขึ้นไปยังสภาผู้แทนราษฎร
ตามรายงานล่าสุดของICW ระบุว่า มีการคอรัปชั่นเกิดขึ้นถึง 3 ส่วนของงบประมาณทางการศึกษาของประเทศทั้งหมด ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างมีการจัดจ้างสินค้าและบริการ
Febri Hendrik นักวิจัยของ ICW บอกกับสำนักข่าว University World News ว่า การคอรัปชั่นนั้นหมายถึง การดำเนินการในการนำงบประมาณทางการศึกษาไปใช้โดยมีมูลค่าน้อยกว่าตัวเลขงบประมาณที่กำหนดไว้ นั่นหมายถึงมีการขาดหายไปของงบประมาณจำนวนหนึ่ง และย่อมทำให้มีผลกระทบต่อคุณภาพของการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของชาติย่อมไม่ได้พัฒนาสู่มาตรฐานที่ควรจะเป็น ในที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อไปถึงบัณฑิตที่จบออกมา กลายเป็นบัณฑิตที่ไม่มีคุณภาพ
ตัวอย่างคดีที่เกี่ยวข้องกับบุคคลระดับสูงเมื่อไม่นานที่ผ่านมา คือกรณีของ Angelina Sondakh(ในภาพ) อดีตนางงามและนักร้องดังที่หันเหมาเล่นการเมือง โดยเธอมีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎร รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้าง ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย 16 แห่ง ที่อยู่ในเมืองต่าง ๆ คือ Sumatra, Java, Bali, Sulawesi, East Nusa Tenggara, Maluku และPapua ภายใต้งบประมาณ Rp20 และRp75 billion
Sondakh ถูกตัดสินว่า เป็นผู้ชี้นำสู่การคอรัปชั่นโครงการงบประมาณของมหาวิทยาลัย โดยรับสินบนจากบริษัทก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน US$3.6 ล้าน เธอถูกตัดสินจำคุกเมื่อ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา เป็นเวลา 4 ปีครึ่ง นอกจากนี้ ในคดีเดียวกัน ยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อีกอย่างน้อย 8 คนที่ติดร่างแหไปด้วย เพราะถูกระบุว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอรัปชั่น โดยเป็นเจ้าหน้าที่จาก 4 มหาวิทยาลัย คือ Universitas Negeri Jakarta ที่อยู่ในกรุงจาการ์ตา, Universitas Sriwijaya อยู่ในสุมาตราตอนใต้, Universitas Sultan Ageng Tirtayasa ในเมืองบันเตน และ Universitas Negeri Malang ในจาวาตะวันออก
ในรายงานของ ICW ระบุว่า รูปแบบของการคอรัปชั่นในภาพรวม สามารถถูกแบ่งเป็น 5 แบบ คือ รายงานเท็จเกี่ยวกับโครงการหรือการเดินทาง,กำหนดราคาที่ไม่ตรงความเป็นจริง,การใช้อำนาจขู่เอาทรัพย์,การฉ้อฉล และ ใช้งบการเงินในทางที่ไม่ถูกต้อง โดยสรุปแล้ว การกำหนดราคาที่ไม่ตรงความเป็นจริง คือสาเหตุหลักที่ทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณมากที่สุด…
แปล/เรียบเรียงโดย Somkiat Tiantong,Source :Ria Nurdiani,University World News/Pic :Jakarta Post