สุภศักดิ์ จุลละศร นักเรียนทุนธนาคารปริญญาโทในต่างประเทศ
สุภศักดิ์ จุลละศร
นักเรียนทุนธนาคารกรุงเทพ
MSc Mathematics & Finance
Imperial College London
หากพูดถึงทุนธนาคารสำหรับเรียนต่อปริญญาโทในต่างประเทศ เชื่อว่าหลายคนก็กำลังสนใจอยู่ แต่ทราบหรือไม่ว่าธนาคารมีทุนครอบคลุมหลายสาขาวิชา ไม่ใช่เฉพาะสาขาการเงินเท่านั้นเรียนอะไรดี
เนื่องจากธนาคารเป็นองค์กรขนาดใหญ่จึงมีความต้องการบุคลากรในด้านต่างๆ อย่างเช่น ด้านการเงิน การบริหารจัดการ การตลาด กฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ (อันนี้แปลกหน่อย) ทรัพยากรบุคคล เป็นต้น ทุนธนาคารจึงค่อนข้างหลากหลายและมีจำนวนมาก
แม้ว่าสาขาวิชาหลักๆ ที่ธนาคารสนใจอาจหนีไม่พ้นด้านการบริหารจัดการหรือที่รู้จักกันดีในนาม MBA โดยเฉพาะด้านการเงิน แต่สำหรับบางคนที่ชอบด้านการเงินอย่างจริงจังก็อาจไปเรียนสาขาการเงินตรงๆ เลยก็ได้ ก็ถือว่าเป็นสาขาวิชายอดนิยมเช่นกัน
สาขาวิชาอื่นๆ ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT เพราะธนาคารต่างพึ่งพาเทคโนโลยีกันมากขึ้นเรื่อยๆ และอีกสาขาหนึ่งที่ยังใหม่มากสำหรับประเทศไทย ได้แก่ วิศวกรรมการเงิน หรือ Financial Engineering
จากประสบการณ์ตรงที่ไปเรียนสาขาวิศวกรรมการเงินในหลักสูตร MSc Mathematics & Finance ที่ Imperial College London สาขาวิชานี้เป็นการนำคณิตศาสตร์ขั้นสูงมาประยุกต์ใช้กับด้านการเงิน ซึ่งบุคลากรในเมืองไทยที่จบด้านนี้โดยตรงยังมีน้อยมาก หากน้องขอทุนไปเรียนสาขานี้รับรองว่าธนาคารไหนๆ ก็สนใจ (แต่จะได้ทุนหรือเปล่าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) ค่าใช้จ่ายของหลักสูตรนี้ค่อนข้างแพงครับ แม้หลักสูตรจะจัดอยู่ในสายวิทยาศาสตร์ แต่ค่าเล่าเรียนกลับแพงอยู่ในระดับเดียวกับ MBA เลยทีเดียว
สำหรับสาขาวิชาอื่นๆ เช่น กฎหมาย ทรัพยากรบุคคล เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ผู้สมัครหลายรายไม่ทราบว่าธนาคารได้มอบทุนเรียนในสาขาวิชาดังกล่าวอยู่เสมอๆ ผู้ที่ยื่นขอรับทุนจึงมักมีโอกาสที่ดีที่จะได้รับทุนเช่นกัน
เรื่องของทุน
แม้ว่าธนาคารจะให้ทั้งทุนในประเทศและทุนต่างประเทศ แต่โดยทั่วไปทุนต่างประเทศจะได้รับความสนใจมากกว่า ซึ่งน่าจะเป็นเพราะเรื่องของค่าใช้จ่าย ประสบการณ์ที่จะได้รับ รวมทั้งค่านิยมของคนในสังคม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในชีวิตของตัวผู้สมัครเองเป็นสำคัญ
ทุนธนาคารโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ ทุนสำหรับพนักงานภายในและทุนสำหรับบุคคลภายนอก ส่วนมากจะมีภาระผูกพันต้องกลับมาทำงานหรือพูดง่ายๆ ก็คือ ต้องกลับมาใช้ทุนนั่นเอง ผู้ที่สนใจสมัครสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
สมัครขอทุนการศึกษาในฐานะบุคคลทั่วไป หรือ
สมัครเข้าทำงานกับธนาคารก่อน จากนั้นจึงขอทุนในฐานะพนักงาน
ทั้งสองวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป
สมัครในฐานะบุคคลทั่วไป
ข้อดี
-
สมัครขอทุนได้หลายแห่งพร้อมกัน
-
ไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุงานขั้นต่ำ
- คู่แข่งมีมาก ขณะที่จำนวนทุนมีจำกัด
- อาจพบว่าไม่ชอบทำงานธนาคารในภายหลัง แต่ก็ต้องชดใช้ทุน
ข้อเสีย
- คู่แข่งมีมาก ขณะที่จำนวนทุนมีจำกัด
- อาจพบว่าไม่ชอบทำงานธนาคารในภายหลัง แต่ก็ต้องชดใช้ทุน
สมัครในฐานะพนักงาน
ข้อดี
- พนักงานรู้จักและคุ้นเคยกับองค์กรแล้ว
- มีโอกาสได้รับทุนมากขึ้นหากหัวหน้างานช่วยผลักดัน
- ระหว่างเรียนยังคงได้รับเงินเดือนอยู่
- มักมีข้อจำกัดเรื่องอายุงานขั้นต่ำ
- หากขอศึกษาต่อในลักษณะข้ามสายงาน อาจต้องตอบคำถามมากหน่อย
ข้อเสีย
- มักมีข้อจำกัดเรื่องอายุงานขั้นต่ำ
- หากขอศึกษาต่อในลักษณะข้ามสายงาน อาจต้องตอบคำถามมากหน่อย
ธนาคารแต่ละแห่งมีการกำหนดคุณสมบัติผู้รับทุนไว้แตกต่างกัน ธนาคารกรุงเทพระบุว่าผู้รับทุนต้องมีอายุไม่เกิน 30 ปี และเกรดเฉลี่ยปริญญาตรี 3.00 ขึ้นไป ขณะที่ธนาคารกสิกรไทยระบุอายุไม่เกิน 28 ปี และต้องเป็นโสด (ใครแต่งงานเร็วหมดสิทธิ์) และเกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไปเหมือนกัน
ทำอย่างไรจึงจะได้รับทุน
ประการแรกที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีแรงบันดาลใจ หากมีแรงบันดาลใจจิตใจก็จะสู้ ถ้าจิตใจไม่สู้ไปเรียนเมืองนอกไม่ได้ เพราะเวลาที่เราอยู่ต่างบ้านต่างเมืองและต้องพบเจอความกดดันต่างๆ นานา ทั้งจากสภาพแวดล้อม วิชาเรียน ความคาดหวังทั้งของเราและของคนอื่น ไม่ใช่ว่าได้ทุนแล้วจบ
ประการต่อมา คือ ควรรู้จักวางแผน หากคนสองคนมีความสามารถเท่ากัน คนที่รู้จักวางแผนจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จมากกว่า เร็วกว่า และง่ายกว่า สำหรับเรื่องการขอทุนการศึกษาขอแนะนำดังนี้
- เริ่มจากภาษาอังกฤษก่อน ให้ตรวจสอบคร่าวๆ ว่ามหาวิทยาลัยที่เราสนใจมีข้อกำหนดเกี่ยวกับคะแนนสอบ TOEFL และ IELTS ไว้อย่างไร แต่โดยทั่วไปแล้วคะแนนยิ่งสูงก็ยิ่งดี ถ้าจำเป็นอาจเรียนพิเศษเพื่อช่วยเพิ่มคะแนนสอบได้ สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
- หลังจากได้ผลคะแนน TOEFL หรือ IELTS ตามที่ต้องการแล้ว แนะนำให้ค้นหาข้อมูลและทำตารางรายชื่อหลักสูตรที่สนใจ โดยระบุรายละเอียด เช่น ประเทศ เมือง คะแนน TOEFL/IELTS ขั้นต่ำ วันปิดรับสมัคร เป็นต้น อาจคัดให้เหลือประมาณ 4-8 แห่ง จากนั้นยื่นใบสมัครไปที่มหาวิทยาลัยโดยตรงได้เลย
- หลังจากผ่าน 2 ขั้นตอนข้างต้นและมหาวิทยาลัยตอบรับให้เข้าเรียนแล้ว จึงจะยื่นสมัครขอทุนธนาคาร ผู้สมัครควรเตรียมตัวสัมภาษณ์และตอบข้อซักถามเกี่ยวกับตนเองและหลักสูตรที่จะไปเรียน
ประการสุดท้าย คือ มีระเบียบวินัยในตัวเอง จะเห็นได้ว่าขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงแต่ต้องตั้งสมาธิและพยายามควบคุมตนเองให้ทำให้สำเร็จไปทีละขั้น แล้วทุกอย่างจะดีเอง
1 Comments on "สุภศักดิ์ จุลละศร นักเรียนทุนธนาคารปริญญาโทในต่างประเทศ"
แนะนำได้ตรงประเด็นดี ใช้คำพูดง่ายแต่เข้าใจ ชอบตอนสุดท้านที่บอว่า ประการแรก…. และประการต่อมา…..และประการสุดท้าย นี่แหละที่เด็กไทยไม่ค่อยรู้ เพราะไม่รุ้จะเริ่มยังไง
เคล็ดลับขอทุนธนาคาร น่าสนใจ
ขอสมัครรับข้อมูลเพิ่มเติม หากมีประกาสเกี่ยวกับการรับสมัคร
ขอสมัครรับข้อมูลเพิ่มเติม หากมีประกาศเกี่ยวกับการรับสมัคร
ขอบคุณค่ะ