สัญญานเตือนคนญี่ปุ่นเรียนนอกลดลง

ตุลาคม 2, 2012 by: 0
Visit 1,501 views

เมื่อ Keiko Ozawa นักเรียนวัย 18 บอกว่าเธออยากไปเรียนต่างประเทศ เธอก็แทบหมดแรงบันดาลใจไปทันที เมื่อถูกครอบครัวและเพื่อน ตอกย้ำกับคำว่า เป็นเรื่องที่ไร้เหตุผล หรือไม่มีสาระอะไรที่ต้องไปเรียนเมืองนอก  เพราะทุกคนมักมองว่าหลักสูตรต่างประเทศแพงเกินไปและเป็นเรื่องของการแสวงหากำไร

และจะทำให้เธอเจอกับปัญหา และเสียเงินไปเปล่า ๆ นี่คือสิ่งที่โอซาวา บอกกับ University World News

ตัวอย่างจาก Case โอซาวา กำลังเป็นตัวบอกเหตุถึงแนวโน้มการลดลงของนักเรียนชาวอาทิตย์อุทัยที่เดินทางไปเรียนต่อยังต่างประเทศ

ในปี 2009 มีนักเรียนญี่ปุ่นเพียง 59,000 คนที่ไปศึกษาในต่างประเทศ ซึ่งลดลงมากเมื่อเทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อนหน้านี้ ที่ทำสถิติไว้ที่ 82,000 คน โดยจากสถิติการศึกษาในต่างประเทศระบุว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเป้าหมายอันดับ 1 ของนักเรียนญี่ปุ่น ที่ 41% โดยมีจีนเป็นอันดับรองลงมาที่ 26% และสหราชอาณาจักร 6%

หากเทียบกับเกาหลีใต้ถือว่าห่างกันมาก เพราะนักเรียนจากแดนโสมขาว ไปเรียนอินเตอร์ที่สหรัฐเกือบ 90,000 คน อย่างไรก็ตามในบรรดาชาติเอเชีย อินเดียและจีนยังครองความเป็นเจ้าในเรื่องสถิติ เพราะมียอดนักเรียนไปเรียนที่สหรัฐมากกว่าเกาหลีใต้ถึงประมาณสองเท่าตัวในห้วง 2 ปีที่ผ่านมา

ด้วยแนวโน้มที่ลดลงในเรื่องจำนวนนักเรียนญี่ปุ่นที่ไปศึกษาต่อกับสถาบันต่างประเทศ ทำให้กระทรวงการศึกษาญี่ปุ่น เตรียมแผนขยายการอุดหนุนทางการเงินระหว่าง 1-2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยังมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่มีโปรแกรมการศึกษาในต่างประเทศ

Naozo Fujita โฆษกของกระทรวงศึกษาฯ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสนับสนุนเรื่องเงินทุน หรือ Grant Scheme ก็เพื่อมุ่งสร้างบัณฑิตญี่ปุ่นที่สามารถอยู่รอดในศตวรรษที่ 21 ที่มีการแข่งขันระดับนานาชาติมากขึ้น เพราะคนหนุ่มสาวชาวอาทิตย์อุทัยเหล่านี้ จะเป็นผู้ที่เข้าใจถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมของโลกได้ดี ขณะที่ก็ยังรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นเอาไว้

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญบางคนวิเคราะห์ว่า กรณีของโอซาวา เป็นตัวอย่างที่มีน้ำหนัก ที่สะท้อนให้เห็นถึงอุปสรรคสำคัญที่จะเป็นตัวฉุดญี่ปุ่นจากการผลิตบัณฑิตที่สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติ โดย Professor Mikio Haruna ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประจำ Waseda University เผยว่าเด็กญี่ปุ่นยุคใหม่ มีความสามารถภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างแย่ และทำให้ต้องพบกับอุปสรรคมากขึ้น  เมื่อต้องใช้ชีวิตในสถาบันการศึกษาต่างแดน

อีกปัญหาหนึ่งก็คือ โอกาสในการรักษาตำแหน่งงานที่ดี เมื่อเดินทางกลับจากต่างประเทศ เพราะมีบางคนที่หวังความก้าวหน้าในการทำงาน ด้วยการไปทำปริญญาโทยังต่างแดน แต่กลับต้องพบว่า ตนเองมีสถานะทางการงานที่แย่ลงหลังจบกลับมา…

แหล่งข่าว : University World News by Suvendrini Kakuchi

 

 


About Auther : กูรู สมเกียรติ เทียนทอง  (855 Posts)


Share this Story

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น