สกว.ให้ทุนวิจัยเชิงวิชาการปิดรับ30ธ.ค.52

ธันวาคม 2, 2009 by: 0
Visit 2,731 views
ทุนวิจัย สกว

ทุนวิจัย สกว

 

กว.ให้ทุนวิจัยเชิงวิชาการปิดรับ30ธ.ค.52

1.1 ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.)

1. ทุนวิจัยพื้นฐานจากความคิดริเริ่มของนักวิจัย แบ่งเป็น

            เป็นทุนสร้างทีมวิจัย   ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสที่มีความสามารถ   มีจริยธรรม มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติให้สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางวิชาการสูงให้แก่ประเทศ โดยเน้นหนักในการพัฒนาทีมงาน พัฒนาผลงาน และพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อสร้างศักยภาพเชิงปัญญาระยะยาวของชาติ ผู้รับทุนต้องไม่เป็นผู้บริหารระดับคณบดีขึ้นไป โดยผู้ได้รับทุนจะได้รับชื่อ เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” (TRF Senior Research Scholar)

            ผู้ได้รับทุนจะได้เงินงบประมาณรวมไม่เกิน 7.5 ล้านบาท (2.5 ล้านบาท/ปี) สำหรับสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 6 ล้านบาท (2 ล้านบาท/ปี) สำหรับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี

            ทุนประเภทนี้ไม่ได้เปิดให้สมัคร แต่ใช้วิธีการสรรหาและเสนอชื่อ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาจากรายชื่อในกลุ่มต่างๆ เช่น รายนามศาสตราจารย์ในประเทศไทย รายนามนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น รายนามนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รายนามผู้ได้รางวัลวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยต่างๆ รายนามนักวิจัยอาวุโสที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้เสนอรายชื่อ และ รายนามคณาจารย์ที่มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ หลังจากนั้นจะเรียนเชิญนักวิจัยผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับเต็ม เพื่อ สกว. จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินและใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนต่อไป

     1.2 ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนา (วุฒิเมธีวิจัย สกว.)

            เป็นทุนวิจัยระดับกลางสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในการวิจัยพอสมควร ผู้อยู่ในข่ายได้รับทุนต้องเคยมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่ทำในประเทศไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เรื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาและเป็นเจ้าของบทความชื่อแรกหรือเป็น corresponding author และมีผลรวมของ impact factor อยู่ในเกณฑ์ดีทั้งนี้ขึ้นกับสาขาวิชา เช่น มีค่าไม่น้อยกว่า 5.0 สำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ ไม่น้อยกว่า 2.0 สำหรับวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ ส่วนสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จะไม่นำเกณฑ์ของ impact factor มาพิจารณา ผู้ได้รับทุนจะได้รับชื่อ วุฒิเมธีวิจัย สกว.” (TRF Advanced Research Scholar)

            ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่มีวงเงินไม่เกิน 2,000,000 บาท ระยะเวลาของทุนไม่เกิน 3 ปี โดยเป็นค่าตอบแทนของหัวหน้าโครงการเดือนละ 15,000-25,000 บาท ตามคุณภาพและประสบการณ์ของผู้ขอรับทุน

     1.3 ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย สกว.)

            เป็นทุนที่สนับสนุนการวิจัยแก่อาจารย์และนักวิจัยให้ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก เป็นผู้ที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นเจ้าของบทความชื่อแรกหรือเป็น corresponding author (ผู้วิจัยสำหรับการติดต่อ) ไม่น้อยกว่า 1 เรื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา  โดยต้องเป็นงานวิจัยที่ทำในประเทศไทยและไม่ใช่ผลงานจากการทำวิทยานิพนธ์ และไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป ผู้ได้รับทุนได้ชื่อว่าเป็น เมธีวิจัย สกว. (TRF Research Scholar)”

            งบประมาณปีละ 400,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยแบ่งเป็นเงินค่าใช้จ่ายในการวิจัยปีละ 220,000 บาท และเป็นเงินสนับสนุนค่าครองชีพเดือนละ 15,000 บาท

     1.4 ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ (สกว. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)

            เป็นทุนที่ สกว. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนอาจารย์รุ่นใหม่ให้ทำวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง ผู้อยู่ในข่ายรับทุนคืออาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของ สกอ. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า มาแล้วไม่เกิน 5 ปี ไม่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป

            ทุนนี้มีวงเงินปีละไม่เกิน 240,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี เป็นเงินสนับสนุนค่าครองชีพเดือนละ 10,000 บาท

     1.5 ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่

            เป็นทุนที่มีเป้าหมาย หลักเกณฑ์การให้ทุน วงเงินทุนวิจัยและระยะเวลาดำเนินการเช่นเดียวกับทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ แต่เปิดรับสมัครเฉพาะผู้สมัครที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของ สกอ. ซึ่งผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่เกิน 5 ปี อายุไม่เกิน 45 ปี และไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป และผู้สมัครต้องมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สำหรับสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จะพิจารณาจากคุณภาพผลงานที่มีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

2. ชุดโครงการวิจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Basic Research)
     
     เพื่อสนับสนุนการสร้างผลงานวิจัยพื้นฐานที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศและสามารถต่อยอดผลงานวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ เชิงสาธารณะหรือเชิงนโยบายโดยมีชุดโครงการดังนี้

     - สมุนไพร ยารักษาโรคและสารเสริมสุขภาพ  เพื่อพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพไปใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรค สารเสริมสุขภาพ เช่น สารต้านมะเร็ง  สารต้านการติดเชื้อ  สารต้านการอักเสบ  สารต้านไวรัส  และสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น

     - การพัฒนาเกษตรยั่งยืน เพื่อพัฒนาระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและลดการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนของการผลิตพืช โดยใช้สารอินทรีย์และ/หรือจุลินทรีย์ที่ปลอดภัยทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนการใช้ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยพื้นฐานมาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อช่วยพัฒนาเกษตรยั่งยืน

     - การผลิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและนำองค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐานด้าน พันธุศาสตร์ประชากร ชีววิทยาการสืบพันธุ์ จุลชีววิทยา  พยาธิชีววิทยา ระบาดวิทยาของโรคที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

     - การผลิตสัตว์บกศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและนำองค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐานด้านต่างๆ เช่นด้านพันธุศาสตร์ ชีววิทยาสืบพันธุ์ จุลชีววิทยา พยาธิชีววิทยา ระบาดวิทยาของโรคที่เกี่ยวกับสัตว์บก ตลอดจนเทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ มาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงและเพิ่มผลผลิตสัตว์บกเศรษฐกิจ

     - ชีววิทยาเซลล์ต้นกำเนิดและเวชศาสตร์การฟื้นฟูสภาวะเสื่อม  เพื่อสนับสนุนการวิจัยพื้นฐานที่เกี่ยวกับกลไกการพัฒนา embryonic และ  adult stem cell ไปเป็นเซลล์เป้าหมายและการประยุกต์ใช้

     - นาโนศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการวิจัยพื้นฐานทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ในศาสตร์กลยุทธ์ที่กำลังเป็นที่ต้องการของประเทศ โดยเน้นศาสตร์ที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบ ควรทำ หรือ มีความจำเป็นต้องทำเพื่อสร้างฐานของนาโนเทคโนโลยีให้มั่นคง หรือเพื่อให้ทันกระแสเทคโนโลยีของโลก

     - ชุดโครงการการผลิต การเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปอาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศ และเพื่อเป็นสินค้าส่งออกมูลค่าสูง เพื่อสนับสนุนการวิจัยพื้นฐานที่สร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาการผลิตวัตถุดิบ การเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปอาหารที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ได้ปริมาณและคุณภาพของผลิตภัณฑ์สูงโดยเน้นความปลอดภัยต่อสุขภาพผู้บริโภค เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  และเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งภายในและนอกประเทศ
    
3. โครงการการสร้างกำลังคนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของฝ่ายวิชาการ

     เพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยที่ทำวิจัยพื้นฐานและมีผลงานที่มีคุณภาพ  ได้ทำวิจัยต่อยอดตามความต้องการและเงื่อนไขของภาคอุตสาหกรรม  สามารถพัฒนาผลงานวิจัยในรูปผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  ตลอดจนสร้างผลงานวิจัยที่สามารถจดสิทธิบัตรและค้นคิดสิ่งประดิษฐ์ที่มีนวตกรรมสูง

    
  ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ http://academic.trf.or.th   หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายวิชาการ สกว. โทรศัพท์ : 0-2278-8251-9trfbasic@trf.or.th


About Auther : Webmaster  (439 Posts)

Thai Education Portal


Share this Story

Comments are closed.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น