ศธ.เดินหน้าโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ ก็ออกมาเปิดเผยชัดเจนว่า ที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการต่อไป แต่จะมีการเปลี่ยนชื่อโครงการใหม่ เป็น โครงการทุนการศึกษาพัฒนาท้องถิ่น เนื่องจากชื่อเก่าไม่สะท้อนการกระจายตัวของโรงเรียนมัธยมศึกษา และทำให้ทุนที่จะจัดให้ กระจายอย่างไม่เป็นธรรม เพราะหากให้ 1 อำเภอ 1 ทุน อำเภอที่มีโรงเรียนจำนวนมากก็จะเสียเปรียบ.
ทั้งนี้ ในการพิจารณาการให้ทุนครั้งใหม่ จะยึดเขตพื้นที่การศึกษาแทนอำเภอ ซึ่งมี 175 เขตพื้นที่การศึกษา เพราะแต่ละเขตพื้นที่ฯ จะมีโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ใกล้เคียงกัน โดยในการจัดสรรทุนนั้น ให้แต่ละเขตพื้นที่ฯจะต้องไม่น้อยกว่า 2 ทุน อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มอบให้คณะทำงานซึ่งมี ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ไปพิจารณาถึงจำนวนทุนที่เหมาะสม รวมทั้งสัดส่วนของนักเรียนที่จะเรียนในประเทศและนอกประเทศแล้ว และจะมีการนำรายละเอียดการดำเนินโครงการรุ่นที่ 3 มาเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้งในปลายเดือน ม.ค.นี้
พร้อมกันนั้น รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จะมีการเปลี่ยนเกณฑ์ ผู้ที่จะได้รับทุนในรุ่นที่ 3 โดยยึดเกณฑ์เดียวกันกับกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยผู้ที่จะได้รับทุนครอบครัวจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาท จากเดิมที่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนการจัดสอบเพื่อให้มีความโปร่งใส ก็จะมอบให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เป็นผู้ดำเนินการ เพราะถือเป็นหน่วยงานกลางและเป็นผู้ทำข้อสอบได้หลายลักษณะ
สำหรับการกำหนดสาขาให้เรีบนนั้น จะยึดตามสาขาที่เป็นความ ต้องการของประเทศ และเลือกให้ไปเรียนในประเทศที่เก่งในสาขาเหล่านั้นด้วย นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นว่า ควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะส่งเด็กไปศึกษาต่อต่างประเทศอย่างน้อย 3-6 เดือน และใช้เวลาในช่วงนี้เป็นการทดสอบไปด้วย ซึ่งถ้าเห็นว่าเด็กไปไม่ไหวก็จะไม่ส่งไปเรียน เพราะไม่อยากให้ปัญหาเกิดขึ้นเหมือนรุ่นก่อนๆ เช่น ฆ่าตัวตาย และเมื่อส่งเด็กไปเรียนแล้วก็จะต้องมีการติดตามผลโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และกระทรวงการต่างประเทศอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง หากพบว่าเรียนไม่ไหวก็ให้ส่งกลับทันที หรือพบว่ามีปัญหาก็ให้รีบเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ปล่อยให้เป็นปัญหาอย่างที่เกิดขึ้นเหมือนในอดีต.
พร้อมกันนั้น รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จะมีการเปลี่ยนเกณฑ์ ผู้ที่จะได้รับทุนในรุ่นที่ 3 โดยยึดเกณฑ์เดียวกันกับกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยผู้ที่จะได้รับทุนครอบครัวจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาท จากเดิมที่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนการจัดสอบเพื่อให้มีความโปร่งใส ก็จะมอบให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เป็นผู้ดำเนินการ เพราะถือเป็นหน่วยงานกลางและเป็นผู้ทำข้อสอบได้หลายลักษณะ
สำหรับการกำหนดสาขาให้เรีบนนั้น จะยึดตามสาขาที่เป็นความ ต้องการของประเทศ และเลือกให้ไปเรียนในประเทศที่เก่งในสาขาเหล่านั้นด้วย นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นว่า ควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะส่งเด็กไปศึกษาต่อต่างประเทศอย่างน้อย 3-6 เดือน และใช้เวลาในช่วงนี้เป็นการทดสอบไปด้วย ซึ่งถ้าเห็นว่าเด็กไปไม่ไหวก็จะไม่ส่งไปเรียน เพราะไม่อยากให้ปัญหาเกิดขึ้นเหมือนรุ่นก่อนๆ เช่น ฆ่าตัวตาย และเมื่อส่งเด็กไปเรียนแล้วก็จะต้องมีการติดตามผลโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และกระทรวงการต่างประเทศอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง หากพบว่าเรียนไม่ไหวก็ให้ส่งกลับทันที หรือพบว่ามีปัญหาก็ให้รีบเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ปล่อยให้เป็นปัญหาอย่างที่เกิดขึ้นเหมือนในอดีต.