มูลนิธิโทเรฯให้ทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หมดเขต 15/10/2011)
ทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 18 ประจำปีพ.ศ. 2554
1. วัตถุประสงค์
เพื่อสนับสนุนอาจารย์ และ/หรือนักวิจัยที่กำลังค้นคว้าหรือมีโครงการในการค้นคว้างานที่เป็นรากฐานอันจะ อำนวยประโยชน์ให้แก่การพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยเฉพาะใน สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา* ฟิสิกส์ เคมี และวิศวกรรมศาสตร์ ยกเว้นคณิตศาสตร์และแพทยศาสตร์ คลินิก ทั้งนี้ ผู้ขอรับทุนจะต้องเป็นอาจารย์/นักวิจัยที่มีประวัติความสำเร็จในผลงานเป็นที่ยอมรับ ของบุคคลในวงการนั้นๆ เป็นอย่างดี หรือมีศักยภาพที่จะพัฒนาความรู้ความสามารถให้เป็นที่ ยอมรับในสาขานั้นๆ ในอนาคต * โดยจะให้ความสำคัญกับชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
2. ขอบเขตการสนับสนุน
เงินทุนที่ให้ จะให้การสนับสนุนเรื่องค่าตอบแทนแก่ผู้ทำการวิจัยและผู้ช่วยวิจัยในโครงการเป็นหลัก และส่วนหนึ่งจะให้การสนับสนุนการเดินทางไปเสนอผลงานวิจัยในต่างประเทศ รวมทั้งการเผยแพร่ผลงาน บางส่วนอาจให้เป็นค่าใช้จ่าย เช่น ค่าวัสดุในการดำเนินการวิจัย ทั้งนี้โครงการที่เสนอเพื่อขอรับการ สนับสนุนจากมูลนิธิฯ ควรเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากแหล่งเงินทุนอื่นอยู่แล้วโดยการ สนับสนุนจากมูลนิธิฯ ถือเป็นการสนับสนุนโครงการวิจัยนั้นๆ เพิ่มเติมในบางส่วนเท่านั้น
3. ผู้มีสิทธิสมัคร
อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนหรือนักวิจัยในสถาบันวิจัยชั้นนำในประเทศไทยที่กำลังมีโครงการค้นคว้าวิจัยหรือต้องการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขา ที่กล่าวข้างต้นโดยบุคคลที่สมัครต้องมีสัญชาติไทยและปฏิบัติงานค้นคว้าวิจัยในประเทศไทย
4. เกณฑ์การพิจารณา
- หัวข้องานวิจัยจะต้องเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ โดยเฉพาะในสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี และวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ในปีนี้ สำหรับสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ กับโครงการวิจัยที่ก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร โครงการวิจัยด้านชีววิทยาที่มีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาประเทศหรือโครงการวิจัยเกี่ยวกับพืช/สัตว์ที่เป็น เอกลักษณ์ของชาติ ส่วนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์เงินทุนส่วนหนึ่งจะจัดสรรให้โครงการที่นำไปสู่ Green and Clean Environment (เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน การอนุรักษ์พลังงาน การจัดการสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ) และโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำนาย เตือนภัย เฝ้าระวัง และจัดการภัยพิบัติ (ทั้งภัยจากธรรมชาติและภัยจากมนุษย์)
- วิธีการและแผนงานวิจัยถูกต้องและเหมาะสมตามแบบแผน เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ
- ผู้วิจัยจะต้องเป็นผู้มีประวัติความสำเร็จในผลงาน เป็นที่ยอมรับของบุคคลในวงการนั้นๆ เป็นอย่างดี และ/หรือมีศักยภาพที่จะพัฒนาความรู้ความสามารถในสาขาของงานให้เป็นที่ยอมรับในวงการต่อไป อีกทั้งมีศักยภาพที่จะผลิตนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพในสาขานั้นๆ ได้
- ข้อเสนอโครงการต้องระบุชัดเจนถึงประเด็นปัญหาหรือที่มาที่นำมาสู่การวิจัยในเรื่อง/หัวข้อที่เสนอ โดยมีการอ้างอิงถึงงานวิจัยที่ได้มีการทำมาแล้วหรือที่มีผู้อื่นกำลังทำอยู่ในเรื่องนั้นๆ ด้วย รวมทั้ง ระบุชัดเจนถึงสิ่งที่จะได้รับจากงานวิจัยนี้ว่าจะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวหรือมีส่วนที่ทำให้เข้าใจถึงสิ่งที่เป็นปัญหา หรือเป็นที่สงสัยนั้นได้ถ่องแท้ขึ้นอย่างไร
5. ผลงานที่คาดหวัง
- การตีพิมพ์ผลงานในวารสารสากลที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ
- การเสนอผลงานในการประชุมระดับสากล
- สิทธิบัตร
- การผลิตนักวิจัยรุ่นใหม่ ในรูปของบัณฑิตระดับปริญญาโท/เอก
6. การประเมินผลสำเร็จ
จะพิจารณาจากผลงานของนักวิจัยผู้ได้รับทุนในรูปแบบต่างๆ ตามที่ระบุในข้อ 5.
7. จำนวนเงินอุดหนุน
ทุนนี้จะให้การสนับสนุนรายละประมาณ 200,000 บาท ถึง 500,000 บาท ต่อปี ทั้งนี้ขึ้นกับขอบเขตงาน ของโครงการโดยจะมีจำนวนทุนทั้งสิ้นประมาณ 15-20 ทุนต่อปี ในกรณีที่เป็นโครงการที่ใช้ระยะเวลา มากกว่า 1 ปี จะได้รับการพิจารณาปีต่อปีโดยปีต่อไปนักวิจัยจะต้องทำข้อเสนอเพื่อขอรับทุน ใหม่ทุกครั้งไป
8. กำหนดการรับสมัคร
ผู้สนใจยื่นใบสมัครได้ที่ : ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานคณะกรรมการเงินทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ฝ่ายเลขานุการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
เลขที่ 73/1 ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Tel : 02 564-7000 ต่อ 71593 (คุณอารณีย์) Fax : 02 564 7084
(วงเล็บมุมซอง “ข้อเสนอโครงการเพื่อรับเงินทุนวิจัย มูลนิธิโทเรฯ”)
หมดเขตรับสมัคร วันที่ 15 ตุลาคม 2554