มองการศึกษาและทุนเรียน AEC (ตอน2) Focus 2 Malaysia…

กรกฎาคม 30, 2012 by: 0
Visit 1,649 views

หากพูดภาษากีฬาโดยเฉพาะเรื่องของฟุตบอล มาเลเซียได้รับการขนานนามว่า เป็น“เสือเหลือง”ในภูมิภาคนี้และระยะหลังก็มักทำให้ทีมชาติไทยต้องชอกช้ำอยู่บ่อย ๆ ในการแข่งขันชิงความเป็นเลิศในระดับภูมิภาคอาเซี่ยน แต่หากมองเรื่องความเจริญและการพัฒนาทางด้านการศึกษาโดยรวมแล้วก็ดูว่ายังได้เปรียบบ้านเราอยู่เล็กน้อยเช่นกัน

ถ้าไม่นับสิงคโปร์ ที่เรากล่าวถึงในตอนที่แล้วว่า เป็นชาติที่ยกระดับขึ้นไปโดดเด่นกว่าเพื่อนบ้านอาเซี่ยน แถมเลยไปอยู่กลุ่มหัวแถวเอเชียซะอีก โดยเฉพาะความเป็น 1 ในเรื่องอันดับการศึกษา

          มาเลเซียน่าจะเป็นชาติที่น่าจับตามองเป็นอันดับรอง ๆ ลงมาในเวที AEC ที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2015  โดยชาติที่อยู่ติดด้ามขวานทองของไทยนี้มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน(รองจากสิงคโปร์ กับบรูไน) อีกทั้งมีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก ถือว่ามีแบ็คอับเรื่องทรัพยากรค่อนข้างมั่นคง

ผู้เขียนเคยมีโอกาสได้รับเชิญในฐานะ 1 ในคณะสื่อมวลชนไทยไปเยี่ยมชมสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ของชาตินี้ เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นมาเลเซียวางนโยบายด้านการศึกษาไว้สูงทีเดียว โดยหวังจะเป็น“Hubทางการศึกษาของเอเซีย”โดยวางเป้าหมายไว้ว่าจะทำสำเร็จในปี 2015 ตรงกับ AEC พอดี โดยตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่วางไว้ก็คือ จะมีนักศึกษาอินเตอร์เข้ามาเรียนในประเทศมากกว่าปีละ 1 แสนคน แม้เรื่องนี้จะยังห่างไกลจากความเป็นจริง หากมองที่จำนวนนักเรียนต่างชาติที่ถึงปัจจุบันก็ยังน้อยกว่าที่ตั้งเป้าไว้มากพอสมควร แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นถึงความจริงจังของรัฐบาลมาเลเซียที่มีความชัดเจนในแนวทางพัฒนาทางด้านนี้ ส่วนเรื่องเศรษฐกิจ มาเลเซียซึ่งมีฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทยยังตั้งเป้าหมายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ในปี 1920 ถือได้ว่าไม่ธรรมดาทีเดียว


มาโฟกัสกันเรื่องการศึกษาล้วน ๆ  มาเลเซียถือเป็นชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็น A Medium of Instruction and Communication หรือภาษาสื่อกลางในการเรียนการสอนและการสื่อสารทั่วไป ทำให้เป็นจุดขายอย่างหนึ่งที่ทำให้นักเรียนต่างชาติจำนวนไม่น้อยมุ่งมาเรียนที่นี่ โดยเฉพาะหากเทียบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ถูกกว่าสิงคโปร์ไม่น้อย แต่ได้ภาษาที่ไม่แตกต่างกันมาก ลูกค้าที่เป็นนักเรียนจากทางภาคใต้ของเมืองไทย จึงนิยมเลือกมาเรียนที่นี่จำนวนมาก โดยเฉพาะความสะดวกในการเดินทางทางรถยนต์ ผ่านด่านสะเดาของไทย เข้ามาเลเซียโดยมีการตรวจพาสปอร์ตอย่างเดียว ไม่ต้องทำVisa ก็สามารถอยู่ได้ถึง 30 วัน หากไปเรียนทำวีซ่านักเรียนก็ไม่ยุ่งยากเท่าไหร่

ที่นี่มีมหาวิทยาลัยของรัฐ 20 แห่ง อาจดูน้อยกว่าบ้านเรามาก แต่ก็เป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพดีทีเดียวส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนก็มีมากมาย โดยค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย Tuition Fee ของม.เอกชน จะตกประมาณ 5,000 เหรียญสหรัฐต่อปี หรือประมาณ 1.6 แสน(คิดRate เหรียญละ 31บาท) ส่วน Living cost ค่าครองชีพ ซึ่งรวมค่าที่พัก ค่ากินอยู่ และใช้จ่ายต่าง ๆ ปีละประมาณ 4,000 เหรียญ หรือ 1.3 แสน รวมแล้วก็จะเสียปีละประมาณ 3 แสน ซึ่งเทียบกับสิงคโปร์แล้ว จะถูกกว่าประมาณ 30-40%

ที่มาเลเซีย ยังมีมหาวิทยาลัยต่างชาติที่มาตั้งสาขาอยู่หลายแห่ง คือ Monash University(ออสเตรเลีย),Curtin University of Technology Sarawak Campus(ออสเตรเลีย),The University of Nottingham Malasia Campus(อังกฤษ) และ Swinburne University of Technology(อังกฤษ) มีค่าใช้จ่ายโดยรวมถูกกว่าไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแม่ประมาณเท่าตัว ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเรื่องค่าครองชีพที่ต่างกันมาก

 

ค่าเงินริงกิตของมาเลเซียแพงกว่าบ้านเราประมาณแค่สิบเท่า คือ 10 ริงกิตมีค่า= 100 บาท ค่าข้าวของ อาหารบางอย่างก็แพงกว่าบ้านเราไม่ถึงเท่าตัว เช่น เข้า 7Eleven หรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป นมถั่วเหลือง 1 กล่อง ราคาประมาณ 1.3 ริงกิต หรือ 13 บาท เฉลี่ยแล้วแพงกว่าบ้านเรานิดเดียว นี่แหละครับ Living Expenses ที่ Affordable คือข้อได้เปรียบที่มาเลย์เขาชูเป็นข้อสำคัญข้อหนึ่ง ในการก้าวขึ้นมาเป็น Hub การศึกษาของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

         เอาครับ เดี๋ยวตอนถัดไป เชิญติดตาม เรื่องความน่าสนใจของมาเลเซีย รวมทั้งทุนการศึกษาที่ชาตินี้มีให้กับเพื่อนร่วมภูมิภาค อาเซียน กันบ้างครับ

 

สมเกียรติ เทียนทอง

.

 


About Auther : กูรู สมเกียรติ เทียนทอง  (855 Posts)


Share this Story

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น