มองการศึกษาอินเตอร์ของซาอุฯ

กรกฎาคม 4, 2012 by: 0
Visit 2,646 views

ซาอุดีอาระเบียเปรียบได้กับการเป็นชาติที่ผสมยุคกลางและยุคใหม่เข้าด้วยกัน ที่หาไม่ได้ในชาติใดในโลกนี้ ซาอุฯมีระบบเศรษฐกิจที่ถูกจัดอยู่อันดับที่ 17 ของโลก ที่จัดโดยWorld Economic Forum และเป็นชาติที่ได้ชื่อว่ามีความก้าวหน้าทางโครงสร้างพื้นฐาน มีตึกสูงระฟ้ามากมาย ขณะเดียวกันก็ยังมีระบบปกครองแบบกษัตริย์อันเก่าแก่ รวมทั้งระบบศาสนาอนุรักษ์นิยมฝังรากลึก

สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความทันสมัย​​ของซาอุฯ คือโครงการทุนการศึกษากษัตริย์อับดุลลาห์ หรือ King Abdullah Scholarship Program ที่มีการส่งนักเรียนไปศึกษาต่อต่างประเทศแล้ว ประมาณ 140,000 คน โดยโครงการนี้เริ่มในปีค.ศ.2005 รัฐบาลได้ลงทุนไปแล้วกว่า 20 พันล้านริยาล(5.3 พันล้านดอลลาร์) เป็นทุนที่ครอบคลุมค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพทั้งหมด

สำหรับผู้หญิงที่ได้ทุนมีเพียงร้อยละกว่า 20 เล็กน้อย (1 ใน 3 ของผู้รับทุนศึกษาอยู่ในสหรัฐฯ)โดยรัฐบาลยังมีทุนพิเศษให้สำหรับผู้พิทักษ์ของพวกเธอระหว่างเดินทางไปศึกษาต่างประเทศ(โดยปกติเป็นสามี แต่บางครั้งเป็นพี่ชาย) ที่จะต้องเดินทางไปกับเธอ

นักศึกษาทุนซาอุฯประมาณครึ่ง ไปศึกษาต่อที่สหรัฐ และได้ชื่อว่า เป็นกลุ่มนักเรียนต่างชาติที่มีมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของสหรัฐ เป็นรองแค่ จีน กับอินเดีย เท่านั้น ทั้งที่หากมองในแง่จำนวนประชากรแล้ว มหาอำนาจอาหรับชาตินี้ มีคนน้อยกว่าชาติยักษ์ใหญ่ในเอเซียถึงประมาณ 1 ต่อ 50 ทีเดียว

กษัตริย์อับดุลลาห์เปิดตัวโครงการทุนการศึกษาขึ้นมา เพื่อส่งเสริมในการสร้างทักษะและความสามารถของเยาวชนรุ่นใหม่ของชาติที่เป็นประชากรขนาดใหญ่ของประเทศ และจากการใช้เวลาหลายปีในการติดตามความคืบหน้าของโครงการที่มุ่งสร้างความทันสมัยให้กับชาติ และสร้างบุคลากรทดแทนแรงงานต่างด้าวด้วยแรงงานที่มีคุณภาพของซาอุฯเอง แต่กลับปรากฎว่าโครงการกลับไม่ประสบความสำเร็จ เพราะในหลายภาคส่วนนั้น คนซาอุฯไม่ต้องการทำงานที่คนต่างชาติส่วนใหญ่ทำ ซึ่งพวกเขาเห็นว่า เป็นพวกใช้แรงงานชั้นต่ำ ขณะที่งานที่ต้องใช้ทักษะสูงคนซาอุฯก็ยังไม่สามารถแข่งขันกับคนจากชาติอื่นได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจุบันแรงงานในภาคเอกชนก็ลดลงไปมาก จนเหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้โครงการให้ทุนจึงถูกออกแบบเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยเน้นเบนเข็มไปให้ความสำคัญกับการศึกษาทางด้านเทคนิคมากขึ้น โดยโฟกัสไปที่ สาขาเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และ การแพทย์

รัฐบาลซาอุดิอาระเบียยังคงเดินหน้าพยายามปฏิรูปการศึกษาในประเทศตน มีการเปิดมหาวิทยาลัยใหม่ขึ้นหลายแห่ง และแก้ไขความล้มเหลวที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษาของรัฐ มีการทุ่มงบประมาณเป็นสถิติเกือบ 1 ใน 4 ของประเทศ หรือ 168 พันล้านริยาลเพื่อการศึกษา และฝึกอบรมกำลังคน

แต่การปฏิรูปการศึกษาก็ต้องเผชิญกับแรงต้านทาน ในเชิงอนุรักษ์นิยม และระบบศาสนาที่เคร่งครัด คล้ายกับหลาย ๆ  ประเทศอาหรับอื่น ๆ

        แหล่งข่าว : By Isobel Coleman,www.cfr.org,June26,2012

 

 


About Auther : กูรู สมเกียรติ เทียนทอง  (855 Posts)


Share this Story

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น