มหาวิทยาลัยราชภัฏ กับ อาเซียน ปี 58

กันยายน 22, 2011 by: 0
Visit 6,567 views

ตอนนี้ใครๆต่างก็พูดถึง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน และ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ต้องก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2558

สำหรับในด้านการศึกษามีการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนและผลการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 6 ASEAN Education Ministers Meeting (ASED) ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 46ได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ 9 ประการ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ดังนี้คือ

  1. การสร้างความตระหนักรู้ของประชากรในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
  2. การแลกเปลี่ยนครูและนักเรียน
  3. ความร่วมมือในการพัฒนาภาษาที่ให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง
  4. การส่งเสริมเทคโนโลยีทางการศึกษาของกลุ่มประเทศอาเซียน
  5. การส่งเสริมความเป็นเลิศของบุคลากรประเทศภาคีในกลุ่มอาเซียน เพื่อการแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันในการพัฒนาศักยภาพของประชาคมอาเซียนให้สามารถแข่งขันกับประชาคมโลกต่อไปได้
  6. การธำรงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชากรในแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะการดูแลภาษาแม่ของแต่ละประเทศให้มีความเข้มแข็ง ถึงแม้ว่าจะใช้ภาษาอังกฤษก็ตาม
  7. การเชื่อมโยงด้านวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน
  8. การร่วมมือแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาในแต่ละระดับ
  9. และการเชื่อมโยงการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนและรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทุก 2 ปี

การขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการศึกษาในกรอบอาเซียน ซึ่งระบุไว้ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมวัฒนธรรมและสังคมอาเซียน ประกอบด้วย การจัดการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ส่งเสริมทุนอาเซียนและเครือข่ายการศึกษา ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกัน และการพัฒนาเยาวชนอาเซียน

มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 40 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้การเตรียมตัวดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความพร้อมมากที่สุดในปี พ.ศ.2558 ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจึงได้ศึกษาเรื่องสภาพปัจจุบันของการเตรียมความพร้อม ปัญหาอุปสรรค การแก้ไข ที่ผ่านมา และหาแนวทางแก้ไขในช่วงต่อไป เป็นการเร่งด่วน

รศ.ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร ประธานที่ประชุมอธิการบดีราชภัฏ กล่าวถึงข้อเสนอแนะจากผลการศึกษามีดังต่อไปนี้

  1. ต้องประสานความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรระดับต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาต่างประเทศเข้ามาศึกษา ควรเพิ่มการเรียนการสอนที่ใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น
  2. ต้องเผยแพร่วีดิทัศน์ความรู้ การเข้าสมาคมอาเซียนให้รวดเร็วกว้างขวาง รวมทั้งการเรียนรู้สังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนพัฒนาทักษะภาษาของประเทศเพื่อนบ้านให้อาจารย์และนักศึกษามากขึ้น
  3. ควรมีการแลกเปลี่ยนและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาในประเทศอาเซียนได้มีโอกาสศึกษาในประเทศไทยมากขึ้น โดยเน้นการใช้ภาษา อังกฤษในการเรียนให้มากขึ้น ปรับปรุงเรื่อง ระเบียบ และทุนการศึกษา
  4. ในช่วงนับแต่นี้ถึงปี พ.ศ.2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏควรเร่งพัฒนาโครงการความร่วมมือต่างๆกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้มากขึ้นตามแผนยุทธศาสตร์ 9 ประการ
  5. ควรร่วมมือทำวิจัยกับมหาวิทยาลัยของประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และในแต่ละประเทศก็ควรมีงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับความเป็นอาเซียนมากขึ้น
  6. ควรเริ่มต้นศึกษาการเตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยในประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏก่อน เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมร่วมกันสำหรับก้าวไปสูประชาคมอาเซียน ปี พ.ศ.2558
  7. ควรติดตามประเมินผลการเตรียมความพร้อมของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในรูปแบบของการวิจัยเป็นระยะ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของโครงการและกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏร่วมกันทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
  8. เร่งพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ผลิตครูสองภาษา อาจารย์ จุดเด่นโดยเน้นหลักสูตรการท่องเที่ยวและการโรงแรม เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 40 แห่ง กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ มีแหล่งข้อมูลวัฒนธรรมหลากหลายในท่องถิ่น มีโรงแรมอยู่ในทุกมหาวิทยาลัยราชภัฏอยู่แล้ว

ขอบคุณ ข้อมูลจาก บ้านเมือง ภาพประกอบจาก learners.in.th/blog/tasana


About Auther : Webmaster  (439 Posts)

Thai Education Portal


Share this Story
Categories
ไม่มีหมวดหมู่  
Tags

Comments are closed.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น