ปี 2020 ยอดบัณฑิตจีนพุ่ง 1ใน 3 โลก
เรื่องของการศึกษา ที่จะหาว่า ยอดคนจบปริญญามากที่สุด ในปี 2020 คือชาติใด ภาพที่วิจัยออกมาค่อนข้างมีความแตกต่างกันมาก เพราะจีนที่เป็นชาติที่ยังไม่ได้พัฒนาโดยรวมเท่าใดนัก กลับมียอดคนจบอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นมาก กำลังจะเป็น 1 ใน 3 ของโลก
Pedro Garcia de León, Corinne Heckmann, and Gara Rojas González จาก OECD(องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ Organisation for Economic Co-operation and Development) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพ และพยากรณ์ โดยยึดข้อมูลจากกลุ่มประเทศ OECD และ G20(A group of finance ministers and central bank governors from 20 major economies: 19 countries plus the European Union) โดยชี้ให้เห็นว่าเกือบหนึ่งในสามของคนที่มีการศึกษาสูง ในปี 2020 จะมาจากประเทศจีน
อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม OECD หรือประเทศ G20 ค่อนข้างทำสถิติไว้ได้อย่างโดดเด่นคือ อาร์เจนตินา, บราซิล, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, รัสเซีย, ซาอุดีอาระเบีย และแอฟริกาใต้ โดยในชาติเหล่านี้ ระหว่างปี 2000 ถึง 2010 มีผู้ลงทะเบียนเรียนเพิ่มขึ้นเกือบ 65% ในขณะที่ประเทศ OECD กลับแสดงให้เห็นถึงความเติบโตเพียง 30%
สาระสำคัญคือ หากในอนาคตจีนกับอินเดีย มีประชากรผู้จบการศึกษาระดับสูง ในอัตราส่วนรวมกันที่ 40% แล้ว จะส่งผลให้เกิดคำถามว่า แล้วตลาดแรงงานที่จะรองรับจำนวนคนเหล่านี้จะเพียงพอหรือไม่ และจากการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า สาขาการศึกษาที่น่าจะยังไม่ถึงจุดอิ่มตัวคือ Science และ Technology
แต่สิ่งหนึ่งที่ควรทราบ คือผู้จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่อาจเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดของพวกที่จบการศึกษาระดับสูงได้ ขณะที่ก็มีรายงานปัญหาการว่างงานของผู้จบการศึกษาในสาขานี้ของประเทศจีน ที่ระบุว่าอัตราการได้งานทำของบัณฑิตตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 70% อย่างไรก็ตามก็ยังมีคำถามว่า ในสาขาอื่น ๆ จะมีการขยายตัวในเรื่องการได้งานทำในอัตราส่วนที่เหมือนกันหรือไม่
ในขณะที่เศรษฐกิจบริการของจีนกำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง รายงานกลับระบุว่าจีนยังคงด้อยพัฒนา เมื่อพิจารณาภาพรวมของเศรษฐกิจเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตก โดยผู้ที่จบการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดูเหมือนจะไม่ได้มีปัญหาในการหางานในประเทศจีน (หรือต่างประเทศ)
คำถามคือ การพัฒนาเศรษฐกิจบริการในจีน กำลังจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความเจริญเติบโตและรองรับผู้จบการศึกษาจำนวนมหาศาลในอนาคตได้หรือไม่ ? หรือว่า จีนจะสามารถพัฒนาด้านอื่น ๆ ที่ที่แตกต่างออกไปเพื่อเผชิญกับปัญหาที่จะมาถึง ?
แหล่งข่าว : Posted on 6th June 2012 by marielk in Higher Education News(University of Oslo)