ประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีกริดระดับชาติ
เวทีสำหรับเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ ในการเข้าร่วมแข่งขันแสดงผลงานการพัฒนาโปรแกรมบนเทคโนโลยีกริด เพื่อเผยแพร่การใช้เทคโนโลยีกริดในกลุ่มเยาวชนไทยและเพิ่มพูนบุคลากรที่มี ความรู้ความสามารถในด้านการประมวลผลประสิทธิภาพสูงโดยเทคโนโลยีกริด จัดโดย เอชพี ศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดยการแข่งขันเป็นการแข่งขันจากทีมนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก ทั่วทั้งประเทศ จำนวนประมาณ 200 คน เข้าร่วมอบรม จากนั้นจะมีการอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าสมัคร หลังจากนั้นจะให้มีการสมัครเป็นทีม เพื่อเข้าแข่งขันเป็นทีม ๆ ละ 3 คน โดยพัฒนาโปรแกรม ตามโจทย์ที่กำหนด ให้ทีมที่ชนะเลิศต้องพัฒนาโปรแกรมแบบขนานให้ทำงานถูกต้องและรวดเร็วที่สุด (ตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
รางวัลชนะเลิศ 50,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง 30,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง 15,000 บาท
สำหรับโรงเรียนที่ได้รางวัลชนะเลิศ จะได้รับเซอร์ฟเวอร์ 1 เครื่อง
พร้อมการติดตั้งโปรแกรม Open Source สำหรับการศึกษา
เปิดรับสมัคร 12 พ.ค.-21 มิ.ย.2551 ติดต่อได้ที่
ฝ่ายบริการและฝึกอบรม อาคารศูนย์บริการมัลติมีเดีย สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
โทรศัพท์ : 025620951-6 ต่อ 2551 2507 2508 และ 2902
โทรสาร : 02-5620957
email : gridcontest@ku.ac.th
หรือ http://www.ku.ac.th/scc2008/
กริดคอมพิวติ้ง เป็นเทคโนโลยีที่จะมีบทบาทสำคัญในการประยุกต์ใช้งานต่างๆ และจะมีผลต่อการเรียนรู้และการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต ใน 50 ปีที่ผ่านมาระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารได้มีการพัฒนาอย่างก้าว กระโดด กริดคอมพิวติ้ง เป็นการพัฒนาที่สำคัญของการใช้งานการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลแบบขนาน ของมนุษยชาติ แนวคิดของกริดคอมพิวติ้งนั้นมีมานาน ตั้งแต่เริ่มมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันหรือการใช้งานคอมพิวเตอร์ จากระยะไกลผ่านเทอร์มินอล ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ได้มีความพยายามจำนวนมหาศาลที่ทุ่มลงไปในงานวิจัยด้านการคำนวณแบบกระจาย ทั้งวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานร่วมกันแบบขนาน การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายให้มีความน่าเชื่อถือและสามารถส่งข้อมูลได้ ปริมาณมาก ๆ การเข้าถึงเชื่อมโยงข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ เป็นต้น
ในปัจจุบันเกิดความถึงพร้อมของเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่สามารถ ประกอบกันอย่างลงตัวและใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้ในเทคโนโลยีกริดนั้นรวม ถึง ความสามารถในการประมวลผล พื้นที่การเก็บข้อมูล ความสามารถในการสื่อสาร เครื่องมืออุปกรณ์ตรวจจับต่าง ๆ ซึ่งเทคโนโลยีกริดจะสามารถนำมาซึ่งการใช้ทรัพยากรดังกล่าวข้างต้นให้มีความ ง่ายเท่ากับระบบ WWW ให้บริการข้อมูลผ่านทาง อินเตอร์เน็ต ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่สำคัญประกอบด้วย ทรัพยากรที่สามารถบริการการประมวลผล การเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และเครื่องมืออุปกรณ์ทางวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เหล่านี้ให้ สามารถเป็นประโยชน์กับผู้ใช้จำนวนมากได้ จากโครงการจัดตั้งศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีกริดแห่งชาติ ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทางด้านการคำนวณประสิทธิภาพสูง กระจายศักยภาพของภาครัฐและเอกชนในการใช้งานคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ในการวิจัยและพัฒนาในทุกระดับ อีกทั้งสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งในด้านซอฟต์แวร์และผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจกรรมที่สำคัญอันหนึ่งคือการส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ สำหรับระบบกริดและการใช้งานระบบกริด จึงได้จัดโครงการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีกริดขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่แนวคิดการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเทคโนโลยีกริดให้กับเยาวชนและนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ
2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมสำหรับการคำนวณประสิทธิภาพสูงโดยเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่
3. เพื่อยกระดับการพัฒนาโปรแกรมของการศึกษาระดับมัธยมปลาย
4. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีกริดในวงกว้าง และให้เกิดการตื่นตัวของเทคโนโลยีกริด ในกลุ่มเยาวชน
5. เพื่อสร้างเครือข่ายการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีกริดในระดับนักเรียนผ่านกิจกรรม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ก่อให้เกิดความสนใจเรื่องเทคโนโลยีกริดในวงกว้าง
2. ได้ข้อมูลในการประเมินศักยภาพของเทคโนโลยีระบบกริดในประเทศไทย
3. มีบุคลากรและและกำลังคนที่มีความรู้ด้านการคำนวณประสิทธิภาพสูงและเทคโนโลยีกริดในอนาคตเพิ่มขึ้น
4. เห็นถึงผลกระทบของเทคโนโลยีกริดในประเทศ ผ่านการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์