ทุนแลกเปลี่ยนบุคลากรไทย-ต่างประเทศ
โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการ แลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (University Mobility in Asia and the Pacific-UMAP) ซึ่ง Australian Vice-Chancellors’ Committee (AVCC) ได้ริเริ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาค ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระดับรัฐบาล หรือระดับสถาบันระหว่างมหาวิทยาลัยเจ้าบ้าน (home institutions) และมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ (host institutions) โดยอาศัยการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรระหว่างสถาบันเป็นกลไกในการพัฒนา คุณภาพและความเป็นสากลของอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีนโยบายสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและ บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศ เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเป็นสากลในระบบอุดม ศึกษาไทยและจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงได้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรในภูมิภาคเอเชียและ แปซิฟิก (UMAP) และดำเนินโครงการแลกเปลี่ยน
นักศึกษาและบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 โดยมี
วัตถุประสงค์ ดังนี้
1. สนับสนุนการดำเนินงานตามข้อตกลงทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับ สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร
2. ส่งเสริมให้การแลกเปลี่ยนดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาในรูปแบบ ของการพัฒนาการเรียน การสอน และการวิจัยร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
3. ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรไทยมีสมรรถนะสากล และเกิดการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาไทยในระดับสากล
4. ส่งเสริมให้เกิดการยอมรับการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
เพื่อให้การดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศ
ประจำปี งบประมาณ 2550 เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการด้านอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้กำหนดแนวทางในการรับสมัครและคัดเลือกผู้ เข้าร่วมโครงการประจำปี
งบประมาณ 2550 เพิ่มเติม ดังนี้
1. คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ
1.2 มีสัญชาติไทยและอายุไม่เกิน 55 ปี
1.3 ไม่อยู่ในระหว่างรับทุน หรือสมัครรับทุนศึกษา/ฝึกอบรม/วิจัย/ดูงาน จากแหล่งทุนอื่น
1.4 เป็นผู้มีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ในเกณฑ์ดีเยี่ยม
1.5 มีแผนงาน และรายละเอียดกิจกรรมที่ชัดเจน
1.6 สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่นในการเข้าร่วมโครงการ เช่น ค่าเดินทางภายในประเทศ และภายในต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมวีซ่า และค่าประกันสุขภาพ เป็นต้น นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดม ศึกษา
1.7 สามารถจัดทำรายงานการเข้าร่วมโครงการส่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาภายใน
30 วัน หลังเสร็จสิ้นการเข้าร่วมโครงการ
อนึ่ง การกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมจากที่ กำหนดไว้นี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของมหาวิทยาลัยแต่ต้องไม่ขัดแย้งกับคุณสมบัติ ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้นี้
2. ประเภทของกิจกรรม
2.1 การแลกเปลี่ยนอาจารย์ – การสอน บรรยาย หรือวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอน (ไม่รวมการดูงานและฝึกอบรม)
2.2 การแลกเปลี่ยนนักวิจัย – การวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.3 การแลกเปลี่ยนบุคลากร – การทำวิจัยหรือปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศในหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
3. ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ
การเข้าร่วมโครงการมีระยะเวลา 1 – 2 เดือน และไม่ให้มีการขยายเวลาหรือเปลี่ยนแปลงระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ
4. ค่าใช้จ่ายที่จะได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
4.1 ผู้เข้าร่วมโครงการในกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียและแอฟริกา
4.1.1 ค่าบัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับชั้นประหยัดของสายการบินไทย ออกโดยบริษัท
การ บินไทย จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทยไปยังสนามบินปลายทางต่างประเทศ (ไม่รวมค่าบัตรโดยสารเครื่องบินภายในประเทศไทย และค่าธรรมเนียมสนามบิน)
4.1.2 ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักในต่างประเทศ ในอัตราเหมาจ่ายรายเดือนตามเอกสารแนบ
4.1.3 ค่าใช้จ่ายอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 4.1.1 และ 4.1.2 ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องรับผิดชอบเอง
4.1.4 ในกรณีที่ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการไม่ครบตามระยะเวลาที่ได้รับ อนุมัติ ผู้เข้าร่วมโครงการจะไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ และต้องคืนงบประมาณสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการทั้งหมดที่ได้รับจากสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา
4.2 ผู้เข้าร่วมโครงการในกลุ่มประเทศในทวีปออสเตรเลีย อเมริกา และยุโรป
4.2.1 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสนับสนุนเฉพาะค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักใน ต่างประเทศให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการในอัตราเหมาจ่ายรายเดือนตามเอกสารแนบ
4.2.1 ค่าใช้จ่ายอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 4.2.1 และ 4.2.2 ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องรับผิดชอบเอง
4.2.2 ในกรณีที่ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการไม่ครบตามระยะเวลาที่ได้รับ อนุมัติ ผู้เข้าร่วมโครงการจะไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ และต้องคืนงบประมาณสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการทั้งหมดที่ได้รับจากสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา
5. การสมัครเข้าร่วมโครงการ
|
ผู้สมัครจะต้องยื่นเอกสารประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านมหาวิทยาลัยต้นสังกัด จำนวน
8 ชุด ในแต่ละชุดประกอบด้วย
5.1 ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ
5.2 ประวัติย่อ
5.3 แผนงานและรายละเอียดกิจกรรมอย่างชัดเจนในการเข้าร่วมโครงการ
5.3.1 การร่วมสอน – แผนการสอน รายวิชาที่จะร่วมสอน และจำนวนชั่วโมงที่เข้าสอนในแต่ละสัปดาห์
5.3.2 การวิจัย – ร่างโครงการวิจัย
5.3.3 การร่วมปฏิบัติงาน – ตารางการปฏิบัติงาน และแผนการปฏิบัติงานในแต่ละสัปดาห์
5.4 หนังสือตอบรับให้เข้าร่วมโครงการ ณ สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ โดยระบุวันที่และเดือนที่เริ่มต้นและสิ้นสุดการเข้าร่วมโครงการ
5.5 หนังสือจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัดลงนามโดยอธิการบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้ปฏิบัติราชการแทนอนุญาตให้เข้าร่วมโครงการตามระยะเวลาที่แจ้งไว้ใน หนังสือตอบรับจากสถาบันต่างประเทศ
6. การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ
6.2 ผู้สมัครที่ส่งเอกสารประกอบการสมัครไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด จะไม่ได้รับสิทธิ์ให้เข้ารับการพิจารณาคัดเลือกให้ร่วมโครงการ
6.3 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะพิจารณาผู้สมัครที่มีชื่อเรียงตามลำดับ 2 คนแรกที่ปรากฏในหนังสือเสนอชื่อจากมหาวิทยาลัยเท่านั้น
7. การเสนอชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ
7.1 มหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้สมัครได้ไม่เกินแห่งละ 2 คน
ในกรณีที่มหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการมากกว่าจำนวนที่กำหนด ไว้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะพิจารณาผู้สมัครที่มีชื่อเรียงตามลำดับ 2 คนแรกที่ปรากฏในหนังสือเสนอชื่อจากมหาวิทยาลัยเท่านั้น
7.2 มหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้สมัครพร้อมเอกสารประกอบการสมัครไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยประทับตราไปรษณีย์ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 (ไม่รับเอกสารการสมัครทางโทรสาร)
ในกรณีที่มหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการหลังจากวันที่กำหนดไว้ นี้ จะไม่ได้รับสิทธิ์ให้เข้ารับการพิจารณาคัดเลือกให้ร่วมโครงการ