ทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทย

มกราคม 14, 2010 by: 0
Visit 979 views

070709044458_1814ทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทย ประจำปีนี้ มีแนวทางการสมัครเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศ มีดังนี้
โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาตามประกาศนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแลกเปลี่ยน นักศึกษาและบุคลากรในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (University Mobility in Asia and the Pacific – UMAP) ซึ่ง Australian Vice-Chancellors’ Committee (AVCC) ได้ริเริ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาค
ภาย ใต้ข้อตกลงความร่วมมือระดับรัฐบาล หรือระดับสถาบันระหว่างมหาวิทยาลัยเจ้าบ้าน (home institutions) และมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ (host institutions) โดยอาศัยการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรระหว่างสถาบันเป็นกลไกในการพัฒนา คุณภาพและความเป็นสากลของอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีนโยบายสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและ บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศ เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเป็นสากลในระบบอุดม ศึกษาไทยและจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงได้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรในภูมิภาคเอเชียและ แปซิฟิก (UMAP) และดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่าง ประเทศ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.  สนับสนุนการดำเนินงานตามข้อตกลงทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับ สถาบันอุดม-ศึกษาต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร
2.  ส่งเสริมให้การแลกเปลี่ยนดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาในรูปแบบ ของการพัฒนาการเรียน การสอน และการวิจัยร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
3.  ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรไทยมีสมรรถนะสากล และเกิดการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาไทยในระดับสากล
4.  ส่งเสริมให้เกิดการยอมรับการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดม-ศึกษาต่างประเทศ
ในปีงบประมาณ 2538 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำเนินโครงการแลกเปลี่ยน
นัก ศึกษาและบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมความเป็นสากลของอุดมศึกษาไทย ทำให้นักศึกษาและบุคลากรของไทยมีสมรรถนะสากล และพัฒนาสถาบันในรูปแบบของการพัฒนาการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาไทย และการวิจัยร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของไทยกับต่างประเทศ โดยจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2541 มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 343 ราย ซึ่งจากการประเมินผลโครงการพบว่ามีปัญหาอุปสรรคด้านการไม่ยอมรับการถ่ายโอน หน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
ในปีงบประมาณ 2542 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เข้าร่วมโครงการนำร่องด้านการถ่ายโอน หน่วยกิตของ UMAP (UMAP Credit Transfer Scheme: UCTS) ซึ่งจะประกันการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดม ศึกษาต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การรับรองคุณวุฒิการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยในระดับสากลใน ระยะยาว และได้กำหนดให้การรับโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันเป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการ เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2542 เป้นต้นมา

เพื่อให้การดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่าง ประเทศเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการด้านอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้กำหนดเกณฑ์ในการรับสมัครและคัดเลือกผู้ เข้าร่วมโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2550/1 ดังนี้

1.   คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ

1.1   เป็นนิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรี หรือ ปริญญาโท ของสถาบันอุดมศึกษารัฐหรือเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
1.2   มีสัญชาติไทย
1.3   ระดับปริญญาตรี มีคะแนนเฉลี่ยสะสมจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนวันสมัคร ไม่ต่ำกว่า  2.70
1.4   ระดับปริญญาโท มีคะแนนเฉลี่ยสะสมจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนวันสมัคร ไม่ต่ำกว่า 3.20
1.5   ไม่อยู่ในระหว่างรับทุนหรือสมัครรับทุนศึกษา/วิจัย/ฝึกอบรม ณ ต่างประเทศจากแหล่งอื่น
1.6   มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศในเกณฑ์ดี
1.6.1   ผู้สมัครที่ใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ ต้องมีผลสอบ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 213  ตามระบบ computer-based หรือ ผลสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0 หรือผลสอบจากสถาบันภาษาของมหาวิทยาลัยต้นสังกัดที่มีระดับคะแนนเทียบเท่าผล สอบ TOEFL หรือ IELTS
1.6.2   ผู้สมัครที่ใช้ภาษาอื่นๆ ในการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ ต้องมีหนังสือรับรองความสามารถในการใช้ภาษานั้น ๆ จากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด
1.7   สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตลอดภาคการศึกษา
1.8   สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่นในการเข้าร่วมโครงการ เช่น ค่าเดินทางภายในประเทศ และภายในต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมวีซ่า และค่าประกันสุขภาพ เป็นต้น นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดม ศึกษา
1.9   สามารถจัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภายใน 30 วัน หลังเสร็จสิ้นการเข้าร่วมโครงการ
·        รายงานสรุปผลการเข้าร่วมโครงการ
·    สำเนา Record of UMAP Study Program หน้า 2 ซึ่งบันทึกผลการเรียนของนักศึกษา ณ สถาบันต่างประเทศ โดยระบุรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนเรียน จำนวนหน่วยกิต (credits) และค่าระดับคะแนน (grade) ที่ออกโดยมหาวิทยาลัยต่างประเทศ และจำนวนหน่วยกิต (credits) และค่าระดับคะแนน (grade) ที่เทียบโอนโดยสถาบันต้นสังกัด
·    สำเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียนของมหาวิทยาลัยต้นสังกัดที่แสดงรายวิชา จำนวนหน่วยกิต (credits) และค่าระดับคะแนน (grade) ที่รับโอนมาจากสถาบันต่างประเทศ
อนึ่ง การกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมจากที่ กำหนดไว้นี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของมหาวิทยาลัยแต่ต้องไม่ขัดแย้งกับคุณสมบัติ ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้นี้


2.   ประเภทของกิจกรรม
นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศในรายวิชาที่สัมพันธ์กับวิชาเอกหรือ
วิชาโท จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และสามารถโอนหน่วยกิตกลับไปยังมหาวิทยาลัยต้นสังกัดได้

3.   ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ
การเข้าร่วมโครงการมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ภาคการศึกษา และไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงระยะเวลา
เข้าร่วมโครงการ

4.   ค่าใช้จ่ายที่จะได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

4.1   ค่าบัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับชั้นประหยัดของสายการบินไทย ออกโดยบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทยไปยังสนามบินปลายทางต่างประเทศ (ไม่รวมค่าบัตรโดยสารเครื่องบินภายในประเทศไทย และค่าธรรมเนียมสนามบิน)
4.2   ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักในต่างประเทศ จำนวน 1 ภาคการศึกษาแต่ไม่เกิน 4 เดือน
ในอัตราเหมาจ่ายรายเดือนตามเอกสารแนบ
4.3   ค่าใช้จ่ายอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 4.1.1 และ 4.1.2 ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องรับผิดชอบเอง
4.4   ในกรณีที่ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการไม่ครบตามระยะเวลาที่ได้รับ อนุมัติ  ผู้เข้าร่วมโครงการจะไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ และต้องคืนงบประมาณสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการทั้งหมดที่ได้รับจากสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา

5.   การสมัครเข้าร่วมโครงการ
ผู้สมัครจะต้องยื่นเอกสารประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านมหาวิทยาลัยต้นสังกัด จำนวน
8 ชุด
ในแต่ละชุดประกอบด้วย
5.1   ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ
5.2   สำเนา Record of UMAP Study Program ที่มีข้อมูลหน้าแรกครบถ้วน
5.2.1   ระบุข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา
5.2.2   ระบุชื่อรายวิชาที่จะลงทะเบียนเรียน ณ มหาวิทยาลัยต่างประเทศไม่น้อยกว่า 6
หน่วยกิต โดยที่รายวิชานั้นๆ จะต้องสัมพันธ์กับวิชาเอกหรือโทของหลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่
5.2.3   ระบุชื่อรายวิชาของมหาวิทยาลัยต้นสังกัดที่เทียบเคียงกับรายวิชาที่จะลง ทะเบียนเรียน ณ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ
5.2.4   ในตอนท้ายของสำเนา Record of UMAP Study Program จะต้องมีลายมือชื่อของนักศึกษา, ลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยต้นสังกัด พร้อมตราประทับของมหาวิทยาลัย และลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ พร้อมตราประทับของมหาวิทยาลัย
5.3   หนังสือตอบรับให้เข้าศึกษา ณ มหาวิทยาลัยต่างประเทศเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา โดยระบุระยะเวลาที่จะเข้าเรียนอย่างชัดเจนว่าเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด
5.4   สำเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียนจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนวันสมัคร
5.5   สำเนาผลการทดสอบภาษา
5.5.1   ผู้สมัครที่ใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ – สำเนาผลสอบ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 213 ตามระบบ Computer-based หรือ ผลสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0 หรือผลสอบจากสถาบันภาษาของมหาวิทยาลัยต้นสังกัดที่มีระดับคะแนนเทียบเท่าผล สอบ TOEFL หรือ IELTS
5.5.22  ผู้สมัครที่ใช้ภาษาอื่นๆ ในการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ ต้องมีหนังสือรับรองความสามารถในการใช้ภาษานั้น ๆ ในเกณฑ์ดีจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด

6.   การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ
6.1   สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาโดยคณะกรรมการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนนัก ศึกษาและบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนรวม 15 คน โดยพิจารณาจากแผนงานและรายละเอียดกิจกรรมของผู้สมัคร
6.2   ผู้สมัครที่ส่งเอกสารประกอบการสมัครไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด จะไม่ได้รับสิทธิ์ให้เข้ารับการพิจารณาคัดเลือกให้ร่วมโครงการ
6.3   สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะพิจารณาผู้สมัครที่มีชื่อเรียงตามลำดับ 2 คนแรกที่ปรากฏในหนังสือเสนอชื่อจากมหาวิทยาลัยเท่านั้น

7.   การเสนอชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ
7.1   มหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้สมัครได้ไม่เกินแห่งละ 2 คน
ในกรณีที่มหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการมากกว่าจำนวนที่กำหนด ไว้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะพิจารณาผู้สมัครที่มีชื่อเรียงตามลำดับ 2 คนแรกที่ปรากฏในหนังสือเสนอชื่อจากมหาวิทยาลัยเท่านั้น
7.2   มหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้สมัครพร้อมเอกสารประกอบการสมัครไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยประทับตราไปรษณีย์ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 (ไม่รับเอกสารการสมัครทางโทรสาร)
ในกรณีที่มหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการหลังจากวันที่กำหนดไว้ นี้ จะไม่ได้รับสิทธิ์ให้เข้ารับการพิจารณาคัดเลือกให้ร่วมโครงการ


About Auther : bowing  (420 Posts)


Share this Story

Comments are closed.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น