ทุนม.กรุงเทพเรียนป.โท-ดอกเตอร์

มกราคม 8, 2010 by: 0
Visit 2,386 views

04067_002มหาวิทยาลัยกรุงเทพให้ทุนไปศึกษาขั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาแก่บุคคลทั่วไป ประจำปีการศึกษา 2549

จุด มุ่งหมายของการให้ทุนการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนากำลังคนเสมอมา จึงได้จัดทำโครงการให้ทุนการศึกษาขั้นปริญญาโทและปริญญาเอกแก่บุคคลทั่วไป ควบคู่กับโครงการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัย(Faculty Development Program) โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสรรหาบุคคลที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาคุณวุฒิ ความรู้

ความสามารถ คุณภาพ และกลับมาเป็นอาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัย โดยมีรายละเอียดของการให้ทุนดังนี้
1. ประเภทของทุน
1.1 ปริญญาเอก
(1) สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) จำนวน 1 ทุน
(2) สาขาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต จำนวน 1 ทุน
(Multimedia and Internet System Engineering)
1.2 ปริญญาโท
(1) สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) จำนวน 1 ทุน
(2) สาขาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต จำนวน 1 ทุน
(Multimedia and Internet System Engineering)
2. คุณสมบัติของผู้สมัครขอรับทุน
2.1 ทุนระดับปริญญาเอก
2.1.1 เป็นผู้สนใจจะเป็นอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
2.1.2 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษา ดังต่อไปนี้
(1) ทุนสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับ
ปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือกำลังจะ
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
หรือสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
(2) ทุนสาขาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต (Multimedia and Internet System
Engineering) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขา
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และสำเร็จการศึกษาระดับ
ปริญญาโทหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้าน
มัลติมีเดีย
2.1.3 ต้องมีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 ส่วนผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทให้ถือเอาคะแนนเฉลี่ยสะสมจน ถึงเทอมสุดท้ายที่สมัครขอรับทุน
2.1.4 เป็นโสด สัญชาติไทย มีอายุนับถึงวันที่ 29 มีนาคม 2550 ไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ และมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงที่ขัดขวางต่อการศึกษา (สำหรับผู้สมัครชายต้องพ้นพันธะทางทหารแล้ว)
2.1.5 ต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติจากอาจารย์ (ในกรณีที่เป็นนักศึกษา) หรือผู้บังคับบัญชาที่ผู้สมัครสังกัดอยู่ตามแบบฟอร์มของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยรับแบบฟอร์มในวันยื่นเรื่องขอทุนสำหรับผู้ที่มีคะแนน TOEFL 600 คะแนน (Paper-based Test) หรือ 250 คะแนน (Computer-based Test)หรือ 100 คะแนน (Internet-based Test) จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
2.2 ทุนระดับปริญญาโท
2.2.1 เป็นผู้สนใจจะเป็นอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
2.2.2 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษา ดังต่อไปนี้
(1) ทุนสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
(2) ทุนสาขาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต (Multimedia and Internet System Engineering) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา
วิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์สาขาอื่นที่
เกี่ยวข้องกับงานด้านมัลติมีเดีย
2.2.3 ต้องมีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.75 ส่วนผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาให้ถือเอาคะแนนเฉลี่ยสะสมรวมถึงภาคแรกของปี การศึกษาสุดท้าย
2.2.4 เป็นโสด สัญชาติไทย มีอายุนับถึงวันที่ 29 มีนาคม 2550 ไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ และมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงที่ขัดขวางต่อการศึกษา (สำหรับผู้สมัครชายต้องพ้นพันธะทางทหารแล้ว)
2.2.5 ต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติจากอาจารย์ (ในกรณีเป็นนักศึกษา) หรือผู้บังคับบัญชาที่ผู้สมัครสังกัดอยู่ตามแบบฟอร์มของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยรับแบบฟอร์มในวันยื่นเรื่องขอทุนสำหรับผู้ที่มีคะแนน TOEFL 550 คะแนน (Paper-based Test) หรือ 213 คะแนน (Computer-based Test)
หรือ 79 คะแนน (Internet-based Test) จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
3. วิธีการขอรับทุน
ผู้ สมัครขอรับทุนจะต้องกรอกใบสมัครขอรับทุนพร้อมแนบหลักฐาน ณ ฝ่ายบุคลากร มหาวิทยาลัยกรุงเทพวิทยาเขตกล้วยน้ำไท อาคาร 9 ชั้น 10 ระหว่างวันศุกร์ที่ 16 มีนาคม ถึงวันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2550 ระหว่าง
เวลา 9.00 น. – 16.00 น. (เว้นวันอาทิตย์และวันจันทร์)
หลักฐานและเอกสารที่ต้องยื่นพร้อมใบสมัคร มีดังนี้
3.1 รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป
3.2 ใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) ฉบับจริง จำนวน 1 ฉบับ
3.3 ปริญญาบัตรหรือหนังสือรับรองคุณวุฒิฉบับจริง พร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
3.4 ทะเบียนบ้านฉบับจริง พร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
3.5 บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
3.6 หลักฐานทางทหาร พร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ (สำหรับผู้สมัครชาย)
4. กำหนดการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์
4.1 ผู้สมัครขอรับทุนทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทุกคนต้องสอบข้อเขียนในวันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2550
เวลา 9.00 น. – 12.30 น. ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
4.2 ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนจะต้องสอบสัมภาษณ์ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในวันเสาร์ที่ 21 เมษายน 2550
5. การสอบข้อเขียน
5.1 ผู้สมัครขอรับทุนต้องสอบข้อเขียนวิชาภาษาอังกฤษแนว TOEFL และ GRE (3 ชั่วโมง)
5.2 ผู้สมัครขอรับทุนทุกคนต้องเขียนเรียงความภาษาไทยอีก 1 เรื่อง (30 นาที)
6. การประกาศผลการสอบแข่งขัน
6.1 ประกาศผลการสอบข้อเขียนในวันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน 2550 ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท เวลา 9.00 น. ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนต้องมาติดต่อกับฝ่ายบุคลากรเพื่อลงชื่อรับทราบด้วย
ตนเองในวันประกาศผลภายในเวลา 16.00 น. เพื่อนัดวันและเวลาสอบสัมภาษณ์ มิฉะนั้นจะถือว่าผู้ขอรับทุนสละสิทธิ์
6.2 ประกาศผลการสอบสัมภาษณ์ในวันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2550 ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท เวลา 9.00 น. ผู้ที่สอบผ่านการคัดเลือกให้รับทุนต้องรายงานตัวที่ฝ่ายบุคลากรด้วยตนเอง ทันทีในวันประกาศผลสอบสัมภาษณ์ภายในเวลา 16.00 น. มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์การได้รับทุน
ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้รับทุน จะต้องเซ็นสัญญาการยินยอมรับทุน พร้อมกับนำผู้ปกครองมาเซ็นยินยอมให้รับทุนในวันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2550การตัดสินของคณะกรรมการให้ถือเป็นเด็ดขาด และคณะกรรมการมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้หากปรากฏภายหลังว่าบุคคลผู้มีสิทธิ์ ได้รับทุนระบุรายละเอียดในใบสมัครไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือใช้หลักฐานปลอม ในการสมัครหรือไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลที่มหาวิทยาลัยกำหนดหรือไม่ผ่านทดลองงาน
ภายใน 120 วันตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
7. ค่าใช้จ่ายที่ผู้รับทุนจะได้รับ
7.1 ค่าส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ และค่าสมัครในการติดต่อเข้ามหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา จำนวน 3 แห่ง
7.2 ค่าธรรมเนียมในการทำหนังสือเดินทาง วีซ่า ค่าภาษีเดินทางออกนอกประเทศ ปลูกฝี-ฉีดยา (ถ้ามี)
ตามหลักฐานของทางราชการ
7.3 ค่าเครื่องแต่งกาย US$ 1,100
7.4 ค่าตั๋วเครื่องบินทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ
7.5 ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมจนจบหลักสูตรตามความเป็นจริงของสถาบันที่เข้าศึกษา
7.6 ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ (ไม่เกิน US$ 600)
7.7 ค่าตรวจสุขภาพและตรวจรักษาฟัน (ก่อนเดินทาง)
7.8 ค่าใช้จ่ายประจำเดือน เดือนละ US$ 1,200
7.9 ค่าหนังสือและอุปกรณ์การศึกษา ปีละ US$ 850 (ภาคฤดูร้อน US$ 130)
7.10 ค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตตามที่จ่ายจริงทั้งที่มหาวิทยาลัยที่เข้าศึกษาและที่พัก (กรณีแยกเก็บจากค่าเช่าที่พัก)
7.11 ค่าทำวิทยานิพนธ์ US$ 1,200 (เฉพาะผู้รับทุนที่ทำวิทยานิพนธ์)
7.12 ค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิตตามที่จ่ายจริง
7.13 ค่าเสื้อครุย (GOWN) และปกเสื้อครุย (HOOD)ไม่เกิน US$ 300
7.14 ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ (ไม่เกิน US$ 1,500)
7.15 ค่าพาหนะระหว่างสนามบินกับที่พักในต่างประเทศทั้งขาไปและขากลับ
7.16 ค่าขนย้ายสิ่งของกลับประเทศไทยตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน US$ 300
7.17 ค่าสมัครเรียนภาษาอังกฤษ (Intensive Course) และค่าสมัครสอบ TOEFL GMAT หรือ GRE
(ไม่เกิน 10,000 บาท)
8. การติดต่อมหาวิทยาลัยที่ไปศึกษาต่อ
8.1 ผู้รับทุนจะต้องติดต่อขอเข้าศึกษากับมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยตน เอง ทั้งนี้ ผู้รับทุนต้องติดต่อสอบ TOEFL ด้วยตนเอง ผู้รับทุนระดับปริญญาเอกต้องสอบได้คะแนน 600 คะแนน (Paper-based
Test) หรือ 250 คะแนน (Computer-based Test) หรือ 100 คะแนน (Internet-based Test) และผู้รับทุน
ปริญญา โทต้องสอบได้คะแนน 550 คะแนน (Paper-based Test) หรือ 213 คะแนน (Computer-based Test)หรือ 79 คะแนน (Internet-based Test) จึงจะมีสิทธิ์ติดต่อมหาวิทยาลัยที่จะเข้าศึกษาได้
8.2 มหาวิทยาลัยที่เข้าศึกษาต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการ รับรองจากสมาคมวิชาชีพของสหรัฐอเมริกา (Accreditation) และมหาวิทยาลัยกรุงเทพให้ความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษร
8.3 การติดต่อขอเข้าศึกษาจะต้องกระทำให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันเซ็นสัญญาการยินยอมรับทุน มิฉะนั้นจะถือว่าหมดสิทธิ์การขอรับทุนดังกล่าว
9. ระยะเวลาการศึกษา
9.1 ผู้รับทุนปริญญาเอกจะต้องศึกษาจนสำเร็จขั้นปริญญาเอกภายในระยะเวลา 36 เดือน และผู้รับทุนปริญญาโทจะต้องศึกษาจนสำเร็จขั้นปริญญาโทภายในระยะเวลา 17 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกเดินทาง ทั้งนี้ในระหว่างที่
กำลังศึกษาต่อห้ามผู้รับทุนเข้าปฏิบัติงานที่หนึ่งที่ใดโดยเด็ดขาด
9.2 กรณีผู้รับทุนไม่สามารถศึกษาให้สำเร็จได้ภายในระยะเวลาตามข้อ 9.1 และมีความประสงค์จะขอต่อสัญญาการรับทุนออกไปอีกจะต้องได้รับอนุมัติจาก มหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน
10. เงื่อนไขการตอบแทนการรับทุน
10.1 ผู้รับทุนจะต้องเข้าทำงานกับมหาวิทยาลัยกรุงเทพในระหว่างที่รอไปศึกษาต่อ ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม2550 เป็นต้นไป โดยมหาวิทยาลัยจะจ่ายเงินเดือนให้ตามคุณวุฒิก่อนที่จะไปศึกษาต่อตามอัตราที่ มหาวิทยาลัยกำหนด กรณีที่ไม่สามารถเข้าประจำทำงานกับมหาวิทยาลัยได้ในวันดังกล่าวมหาวิทยาลัย จะพิจารณาเป็นรายบุคคล
10.2 ผู้รับทุนจะต้องเข้าศึกษาตรงกับสาขาที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้ทุน ทั้งนี้ ระยะเวลาในการติดต่อมหาวิทยาลัยที่จะเข้าศึกษาต้องไม่เกินระยะเวลาตามข้อ 8.3 มิฉะนั้นจะถือว่าหมดสิทธิ์การได้รับทุน
10.3 เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วผู้รับทุนจะต้องกลับมาประจำทำงานกับมหาวิทยาลัย กรุงเทพเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4เท่าของระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา สำหรับอัตราการบรรจุแต่งตั้งให้เป็นไปตามคุณวุฒิระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอกตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
10.4 ถ้ามีเหตุที่ทำให้ผู้รับทุนไม่สามารถเข้าประจำทำงานกับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้หรือประจำทำงานไม่ครบระยะเวลาตามข้อ 10.3 จะด้วยประการใด ๆ ก็ตาม (ยกเว้นกรณีถึงแก่กรรม) ผู้รับทุนจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นจำนวน 4 เท่าของเงินที่มหาวิทยาลัยได้จ่ายหรือถือว่าได้จ่ายไปเพื่อการศึกษาของผู้ รับทุน
11. ผู้ค้ำประกัน
เมื่อติดต่อมหาวิทยาลัยที่จะเข้าศึกษาได้ แล้วผู้รับทุนจะต้องนำผู้ค้ำประกันมาทำสัญญาค้ำประกันในวันเซ็นสัญญาการรับ ทุนที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทั้งนี้ ผู้ค้ำประกันต้องเป็นบิดา มารดา หรือข้าราชการตั้งแต่ระดับ 6 ขึ้นไป


About Auther : bowing  (420 Posts)


Share this Story

Comments are closed.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น