ทุนจุฬาฯ-พัฒนาเกษตรไทย ระดับป.ตรี (รับสมัคร 10 – 16/12/2012)
ทุนจุฬาฯ-พัฒนาเกษตรไทย 21 คน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะทำการเปิดรับสมัครเพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะทำการเปิดรับสมัครเพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร โดยวิธีรับตรง(แบบพิเศษ)ปีการศึกษา 2555 รอบ 2 กำหนดรับสมัครระหว่างวันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ 2555 จำนวน 21 ทุน รับทั้งหมด 67 คน ที่เวบไซต์ http://www.atc.chula.ac.th
คุณสมบัติ
สำหรับนักเรียนจากพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดคือแพร่ น่าน พะเยา อุตรดิตถ์ และเชียงราย ถ้าได้รับการคัดเลือก จะได้รับสิทธิ์ทุนการศึกษา “ทุนจุฬาฯ-พัฒนาเกษตรไทย” จำนวน 21 ทุน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2554
- เป็นผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม(GPAX)ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รวม 4 ภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.50 โดยในแต่ละกลุ่มวิชา ได้แก่กลุ่มวิชาภาษาไทย กลุ่มวิชาสังคมศึกษา กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.75 และในกลุ่มวิชาอื่น ๆ ไม่ต่ำกว่า 2.00
- เป็นผู้ที่พร้อมจะเข้ารับการศึกษา และฝึกปฎิบัติในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะที่จังหวัดน่านได้
- ควรเป็นผู้ที่มาจากครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร
- เป็นผู้มีอุดมการณ์ที่จะทำงานในชนบทด้วยความเสียสละ
- เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่สำคัญ หรือความผิดปกติของร่างกายที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี และรับรองต่อมหาวิทยาลัยได้ว่า จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เต็มความสามารถและยินยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้ว หรือที่จะมีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
- เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)และต้องไม่อยู่ในเพศบรรพชิต นักบวช นักพรต หรือมีข้อผูกมัดอยู่กับการรับทุนจากสถาบันอื่น หากปรากฎในภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง หรือพบในภายหลังว่าข้อความที่ได้แจ้งไว้เป็นเท็จ หรือหลักฐานประกอบการสมัครเป็นเท็จหรือปลอม จะถูกเพิกถอนสิทธิ์ทันที
หลักฐานการสมัคร
- ใบสมัครคัดเลือกเข้าศึกษระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวิธีรับตรง(แบบพิเศษ)ปีการศึกษา 2555(รอบที่ 2)ซึ่งกรอกข้อมูลผ่านทางเวบไซต์ของศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรียบร้อยแล้ว พร้อมติดรูปถ่ายขนาด 3×4 ซม.เป็นรูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ใบ
- เอกสารประกอบการสมัคร ซึ่งกรอกรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งดาวน์โหลดมาจาก http://www.atc.chula.ac.th และ http://www.admissions.chula.ac.th
- สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รวม 4 ภาคการศึกษา ที่สถานศึกษาออกให้ พร้อมประทับตราโรงเรียน
- สำเนาบัตประจำตัวประชาชน(ถ่ายเอกสารหน้า-หลังให้อยู่ในหน้าเดียวกันพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล(ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการเป็นนักเรียนและความประพฤติที่สถานศึกษาออกให้พร้อมประทับตราโรงเรียน
- ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งออกให้ไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันที่สมัคร
- หนังสือรับรองเงินเดือนของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง(กรณีที่มีรายได้ประจำ)
ผู้สมัครต้องส่งใบสมัคร เอกสารประกอบการสมัคร และหลักฐานประกอบการสมัคร ทั้งหมดทางไปรษณีย์ลงทะเบียนส่งถึง ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรี 8 ชั้น 3 ถ.พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ระบุมุมซองด้านล่างซ้ายมือว่า โครงการรับตรง ปีการศึกษา 2555 (รอบที่ 2)(หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร) ภายในวันที่ 16 กุมภาพันธ๋์ 2555
ทุนการศึกษา คณะกรรมการดำเนินการรับนักเรียนของคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตรจะพิจารณาผลคะแนนสอบ ข้อมูลจากใบสมัคร หลักฐานประกอบการสมัคร และหากเห็นสมควรให้มีการตรวจสภาพเกี่ยวกับฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้สมัคร
ทุนประเภท ก จะได้รับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
- ค่าใช้จ่ายและค่าอาหารประจำเดือน ๆ ละ 4,000 บาทปีละ 10 เดือน
- ค่าอุปกรณ์การศึกษา ภาคการศึกษาละ 1,500 บาท ปีละ 3,000 บาท
- ค่าเครื่องแต่งกาย ภาคการศึกษาละ 1,000 บาท รวมปีละ 2,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าหอพัก ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
ทุนประเภท ข ได้รับเช่นเดียวกันทุนประเภท ก ยกเว้นค่าอาหารและค่าใช้จ่ายส่วนตัว
ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับทุนจุฬาฯ-พัฒนาเกษตรไทย จะต้องทำสัญญาการรับทุนจุฬา-พัฒนาเกษตรไทย กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องไปปฏิบัติงานในเขตพื้นที่พิเศษจังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พะเยา หรือเชียงราย ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องรอบพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรการเกษตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเวลา 3 ปี
สนใจส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานการสมัครไปได้ที่ ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรี 8 ชั้น 3 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ระบุมุมซองด้านล่างซ้ายมือว่า โครงการรับตรง ปีการศึกษา 2555 (รอบที่ 2)(หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร) เวบไซต์ http://www.atc.chula.ac.th