ก.พ.เปิดสอบชิงทุนผู้มีศักยภาพสูง
สำนักงาน ก.พ. จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อรับทุนรัฐบาลเพื่อดึงดูดผู้มีศักยภาพสูง(UIS)ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในประเทศ ประจำปี 2554 จำนวน 49 หน่วยรวม 83 ทุน รับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2553
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ
1.ผู้มีสิทธิสมัครสอบจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.1 เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และเป็นผู้มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่ทุนระบุ
1.2 เป็นผู้ที่จะศึกษาในชั้นปี สุดท้ายของสถาบันการศึกษาในประเทศในปีการศึกษา 2554 ตามโครงสร้างของหลักสูตรระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาตามที่กำหนดในคุณสมบัติเฉพาะแต่ละหน่วยทุน และต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมรวมทุกภาคการศึกษาที่ผ่านมาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำากว่า 2.75 หรือ 3.00 และเมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือ 3.00 ตามที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยทุน (ในระบบการวัดผลที่คิดคะแนนให้ A=4, B=3, C=2, D=1, E หรือ F=0) หรือร้อยละ 70.00 หรือ 75.00 หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ และมีอายุไม่เกิน 25 ปี นับถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2553
ผู้สมัครสอบที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมทุกภาคหรือตลอดหลักสูตรการศึกษาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะต้องมีหนังสือรับรองผลการเรียนจากสถานศึกษามาแสดงว่าเป็นผู้มีผลการเรียนเทียบได้กับผลการเรียนที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยทุน หากผู้ใดไม่มีหนังสือรับรองผลการเรียนมาแสดง จะถือว่าไม่มีสิทธิในการสมัครสอบครั้งนี้ เป็นผู้ไม่อยู่ระหว่างการรับทุนที่มีข้อผูกพันในการชดใช้ทุน
3. เป็นผู้ที่มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี
4.สำหรับภิกษุสามเณร ทางราชการไม่รับสมัครสอบและไม่อาจให้เข้าสอบแข่งขันเพื่อรับทุนรัฐบาล ฯ ทั้งนี้ตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว 89/2501 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2501 และตามความในข้อ 6 ของคำสั่งมหาเถรสมาคม ลงวันที่ 17 มีนาคม 2538
การรับสมัครสอบ
– ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ ดูรายละเอียดได้ที่ ศูนย์สรรหาและเลือกสรร สำนักงาน ก.พ. 47/101 ถนนติวานนท์ ซอย 4 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ศูนย์แนะแนวการศึกษาและข้อมูลข่าวสาร สำนักงาน ก.พ. ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และทางอินเทอร์เน็ต ในเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ. ที่ http://www.ocsc.go.th
– ทางอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตามขั้นตอนดังนี้
(1) เปิดเว็บไซต์ http:// uis.ocsc.go.th
(2) กรอกข้อความในใบสมัครให้ถูกต้องและครบถ้วน ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด ระบบจะออกแบบฟอร์มการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ให้โดยอัตโนมัติ
(3) พิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินลงในกระดาษขนาด A4 จำนวน 1 แผ่น หรือ หากไม่มีเครื่องพิมพ์ในขณะนั้น ให้บันทึกข้อมูลเก็บไว้ในรูปแบบ File ลงในสื่อบันทึกข้อมูลเช่น Diskette เป็นต้น
ในกรณีที่ไม่สามารถพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินหรือบันทึกข้อมูลได้ผู้สมัครสามารถเข้าไปพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน หรือบันทึกข้อมูลลงในสื อบันทึกข้อมูลใหม่ได้อีกแต่จะแก้ไขข้อมูลในการกรอกใบสมัครในครั้งแรกที่สมบูรณ์แล้วไม่ได้
-นำแบบฟอร์มการชำระเงินไปชำระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบเฉพาะที่เ คาน์เตอร์ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ ภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2553 ภายในเวลาทำการของธนาคาร การสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์ เมื่อชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบแล้ว
-ค่าธรรมเนียมสอบ หน่วยละ 100 บาท
-ค่าธรรมเนียมธนาคารรวมค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต จำนวน 30 บาท
ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบจะไม่จ่ายคืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
เอกสาร หลักฐานที่ต้องยื่นในวันสอบข้อเขียน
1.ใบสมัคร ติดรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 x 1.5 นิ้ว ไม่สวมหมวกไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี ลงลายมือชื่อในใบสมัครให้ครบถ้วน
2.สำเนาหนังสือรับรองสถานภาพการศึกษาที่ระบุชั้นปีที่กำลังศึกษาหลักสูตร สาขาวิชา ระยะเวลาการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตร และปีการศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา พร้อมสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (Transcript of Records) ทุกภาคการศึกษาที่ผ่านมา จำนวน 1 ชุด
3.หนังสือรับรองความประพฤติ กิจกรรมจากอาจารย์ทีjปรึกษา ตามแบบฟอร์มที่ ก.พ. กำหนด จำนวน 1 ฉบับ
4.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
5.เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หนังสือรับรองผลการเรียน ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ เป็นต้น
สำเนาเอกสารทุกฉบับให้เขียนรับรอง “สำเนาถูกต้อง” ลงชื่อ วันที่ระบุเลขประจำตัวสอบกำกับไว้มุมด้านขวาของเอกสารทุกฉบับ ให้บรรจุเอกสารดังกล่าวในซองเอกสารขนาด A4 เขียนชื่อ-นามสกุล และเลขประจำตัวสอบไว้ที่หน้าซอง
การพิจารณาวิชาที่สอบ
วิชาภาษาอังกฤษ
– Vocabulary and Expressions
– Error Recognition
– Reading Comprehension
วิชาความสามารถทั่วไปเชิงวิชาการ ทดสอบความสามารถในการวิเคราะห์และการใช้เหตุผล โดยการให้แปลความ ตีความ สรุปความ อ่านจับประเด็นจากข้อความ หรือบทความ แก้ปัญหาข้อมูลเชิงปริมาณ และวิเคราะห์หาแนวโน้มหรือการเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปได้จากข้อมูล เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคม
การประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนจะประเมินจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาของผู้สมัครเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการรับราชการ และไปศึกษาต่อต่างประเทศ เช่น พื้นความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งที่สมัครสอบ ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ความตั้งใจจริง ทัศนคติต่อการรับราชการและการรับทุน ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ การปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เชาวน์ปัญญา และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น โดยวิธีการสัมภาษณ์และ/หรือ โดยการพิจารณาประเมินด้วยวิธีการต่าง ๆ หลายวิธีรวมกัน (Assessment Centers Method : ACM)
สนใจสมัครได้ผ่านทางเว็บไซต์ที่ http://uis.ocsc.go.th